เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
5076
ชื่อ
เทคโนโลยีการผลิตจุลินทรีย์สังเคราะ์แสง ชม 850 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ.นิรันดร หนักแดง
เมล์
ืncattle@hotmail.com
รายละเอียด

วัสดุอุปกรณ์

  • ขวดน้ำพลาสติก (สามารถเตรียมได้ทั้ง 3 ขนาด คือ 600 cc  / 1500 cc / 6000 cc)
  • น้ำเปล่า (สามารถใช้น้ำฝน น้ำบ่อ หรือน้ำประปาที่พักค้างคืนไว้)
  • ไข่ (ไข่ไก่ หรือไข่เป็ดก็ได้ ไข่เน่าแล้วก็ยังได้ จุลินทรีย์ยิ่งชอบ)
  • น้ำปลา หรือกะปิ 
  • ผงชูรส
  • ถ้วย ช้อน ส้อม
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ถ้ามี) 

ขั้นตอนการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  • ลอกพลาสติกที่ปิดขวดออกก่อน และกรอกน้ำลงไปในขวดให้ได้ 70% ของขวด
  • ตอกไข่ใส่ถ้วย ตีไข่ขาวและไข่แดงให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใส่น้ำปลา และผงชูรสตามไป ตีจนเข้ากันเหมือนกำลังท
  • ไข่เจียว  อัตราส่วน ไข่ 1 ฟอง : น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ : ผงชูรส 1 ช้อนโต๊ะ จำง่ายๆ คือ 1:1:1)
  • จะใส่หรือไม่ใส่เปลือกไข่ก็ได้ ถ้าใส่ก็ช่วยเสริมแคลเซียม ให้ตำหรือบดให้ละเอียดแล้วใส่ลงในไข่ที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน 
  • ตักใข่ที่ผสมแล้วใส่ลงในขวดน้ำที่เตรียมไว้ ดังนี้

สำหรับขวด 600 cc   ใส่ครึ่งช้อนโต๊ะ

สำหรับขวด 1500 cc  ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ

สำหรับขวด 6000 cc  ใส่ 4 ช้อนโต๊ะ

  • เขย่าส่วนผสมให้เข้ากับน้ำ แล้วเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะแสงลงไปให้เหลือพื้นที่วางในขวดเล็กน้อย ปิดฝาขวดให้แน่น
  • นำขวดไปวางเรียงกันในที่ที่มีแสงแดดส่องตลอดวัน
  • เขย่าขวดบ้าง หากมีแก๊สในขวดมากก็เปิดฝาระบายออกได้ รอจนกว่าจะเป็นสีแดงเข้มทั้งขวดจึงจะนำไปใช้ได้ (ถ้าใส่หัวเชื้อใช้เวลา 2 อาทิตย์จึงแดงดี ถ้าไม่มีหัวเชื้อใช้เวลาประมาณ 1 เดือน)
คำสำคัญ
จุริินทรีย์สังเคราะเเสง  
บันทึกโดย
นายวิรัตน์  หน่อแดง  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th