เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
445
ชื่อ
การบำบัดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ชม 2,603 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง
เมล์
usa@tsu.ac.th
รายละเอียด

น้ำเสียจากการผลิตยางแผ่น มีความสกปรก และส่งกลิ่นเหม็นมาก การบำบัดน้ำเสียด้วยบ่อหมักก๊าซชีวภาพ สามารถลดปัญหาดังกล่าว และยังได้ก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวเรือนอีกด้วย
ประโยชน์ 2 ต่อ ดีจริงๆ

แล้วทำได้อย่างไร
1.จัดทำถังหมักแบบปิด
2.เติมมูลสุกรประมาณ ¼ ของถัง และพักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์
3.เติมน้ำเสียที่ผ่านการปรับสภาพให้เป็นกลางลงถังหมักทุกวันที่ทำการผลิตในช่วง 15 วันแรกของการเดินระบบ หลังจากนั้นสามารถปล่อยน้ำเสียเข้าระบบได้โดยไม่ต้องปรับสภาพ
4.ผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ จะเริ่มเกิดก๊าซชีวภาพ
5.ปล่อยก๊าซชีวภาพจากถังหมักเข้าสู่ถังเก็บก๊าซ เพื่อต่อเข้ากับเตาแก๊ซในครัวเรือน

การบำบัดน้ำเสียจากยางแผ่น เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชาวส่วนยางเพื่อลดกลิ่นที่เกิดจากการผลิตยางแผ่น และสามารถนำของเสียที่เกิดขึ้นมาใช้ในการผลิตแก๊ส ช่วยให้ชาวสวนยางลดค่าใช้จ่ายในการซื้อแก๊สได้มาก

สำหรับต้นทุนในการลงทุนประมาณ 15000-17000 บาท ซึ่งต้นทุนอาจจะลดลงได้หากใช้วัสดุในท้องถิ่น

นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2554 ทางคลินิกเทคโนโลยีได้สนับสนุนงบประมาณในการวิจัยพัฒนาต่อยอดในส่วนของการ ปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียในการผลิตยางแผ่นโดยซีโอไลต์

สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง usa@tsu.ac.th
น.ส.ชัศณียา จุลพูล chat.ubi2011@hotmail.co.th
โทรศัพท์ 074-693995
http://www.ubi.tsu.ac.th/clinic/

วีดีโอแนะนำ



คำสำคัญ
ยาง  ก๊าซ  แก๊ส  ชีวภาพ  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th