เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด
สบู่ หรือเกลือของกรดไขมัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชำระล้างหรือทำความสะอาดร่างกาย เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง ไขมันหรือน้ำมัน กับสารละลายด่าง เกิดเป็นเกลือของกรดไขมัน หรือสบู่ เป็นผลิตภัณฑ์หลัก และกลีเซอรอล เป็นผลพลอยได้ ปัจจุบันมีการผลิตสบู่สมุนไพรของกลุ่มชุมชนต่างๆ อย่างมากมาย โดยอาศัยเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาที่สืบถอดมา โดยไม่ได้นำเอาวิทยาศาสตร์และระบบคุณภาพ เข้าไปใช้ใน
กระบวนการผลิต อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพ สบู่สมุนไพรถึงแม้จะมีส่วนประกอบของสมุนไพรที่มีจากธรรมชาติ แต่ส่วนประกอบหลักคือน้ำมัน และสารละลายด่าง ซึ่งสารละลายด่างนี้เป็นสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตจะต้องมีการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ ควบคุมกระบวนการผลิต และมีการตรวจวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์สบู่ที่ผลิตได้ เพื่อให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ในการควบคุมคุณภาพของสบู่สมุนไพรนั้นมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ
คุณลักษณะทางเคมีของสบู่คือ
ส่วนใหญ่สบู่สมุนไพรที่ส่งเข้ามาตรวจวิเคราะห์จะพบว่ามีร้อยละของปริมาณไขมันทั้งหมดต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด และมีร้อยละของปริมาณไฮดรอกไซด์สูงกว่าเกณฑ์กำหนด ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผู้บริโภค
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยสำนักเทคโนโลยีชุมชน ได้ศึกษาหาวิธีการที่จะทำให้ได้สบู่ที่มีสมบัติเป็นไปตามที่ มผช. กำหนด โดยได้กำหนดสูตรเพื่อให้สบู่มีร้อยละของปริมาณไขมันเพิ่มขึ้น และปรับให้ร้อยละของปริมาณไฮดรอกไซด์อิสระลดลง โดยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและปรับปรุงการผลิตสบู่สมุนไพร ให้กับชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ เช่น ลำปาง แพร่ เลย นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
นอกจากนี้ยังให้บริการวิเคราะห์ทดสอบสบู่สมุนไพรตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) อันได้แก่ ปริมาณไขมันทั้งหมด ปริมาณไฮดรอกไซด์อิสระ และปริมาณคลอไรด์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่บ่งชี้ถึงคุณภาพของสบู่
ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
นางสุบงกช ทรัพย์แตง
สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
โทรศัพท์ : 02-201-7301 โทรสาร 02-201-7102
E-mail subongkoch@dss.go.th