เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
3498
ชื่อ
การขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ NST – 009 ในระดับห้องปฏิบัติการ ชม 1,070 ครั้ง
เจ้าของ
รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา
เมล์
iwarin@wu.ac.th
รายละเอียด
เชื้อราไตรโคเดอร์มา Trichoderma asperellum สายพันธุ์ NST-009 เป็นเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ใหม่สามารถควบคุมโรคพืชได้หลายชนิด เช่น โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนและส้ม โรครากขาวรากแดงยางพารา โรคที่เกิดจากเชื้อราของข้าวและพืชอื่นๆ ฯลฯ  มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งและทำลายโรคพืชด้วยวิธีชีวภาพ ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการบริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ NST–009 ในระดับห้องปฏิบัติการสู่ชุมชน 1.กลุ่มเกษตรกรบ้านแสงวิมานผู้ผลิตส้มโอพัธุ์ทับทิมสยาม ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนนอกฤดูตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเกษตรกรลดต้นทุนในการจัดการสวนไม้ผล
กระบวนการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์  NST-009 ในระดับห้องปฏิบัติการ
อุปกรณ์
1.ตู้ปลอดเชื้อ 2.แอลกอฮอล์ 95% 3.แอลกอฮอล์ 70% 4.ตะเกียงแอลกอฮอล์ 5.ช้อนตักสาร 6.ข้าวหุงวางให้เย็น (ข้าว 3 ส่วน ต่อ น้ำ 2 ส่วน) 7.หนังยาง 8.เข็ม 9.เชื้อสด (ขยายต่อ)
041042
การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกึ่งสำเร็จรูปไปใช้
1.กรณีฉีดพ่น นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกึ่งสำเร็จรูปบนข้าว (300 กรัม) ผสมน้ำ 1ลิตร เขย่าให้สปอร์เชื้อราหลุดออกจากเมล็ดข้าว จากนั้นกรองแยกเมล็ดข้าวออกแล้วนำน้ำสปอร์เชื้อราผสมน้ำเพิ่ม อัตราส่วน 1:20 (น้ำสปอร์เชื้อรา : น้ำเปล่า) แล้วนำไปฉีดพ่น (สามารถใช้ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ) ควรผสมสารจับใบก่อนฉีดพ่น
2.กรณีผสมปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก ผสมอัตราส่วน 1:7 (เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกึ่งสำเร็จรูปบนข้าว : ปุ๋ยอินทรีย์) รองก้นหลุมหรือหว่าน
คำสำคัญ
เชื้อราปฏิปักษ์    ไตรโคเดอร์มา    NST-009  
บันทึกโดย
น.ส.กนตวรรณ  อึ้งสกุล  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th