เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
3187
ชื่อ
การแปรูปผลิตภัณพ์จากส้มสายน้ำผึ้ง ชม 400 ครั้ง
เจ้าของ
อาจารย์อรทัย บุญทะวงศ์
เมล์
orathai_bun@hotmail.com
รายละเอียด
สาเหตุการทำให้ส้มอบแห้งมีลักษณะแข็งเกินไป
1. การเกิดลักษณะแข็งของอาหารอบแห้ง เกิดขึ้นระหว่างการทำแห้งที่ใช้อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้อาหารสุกเกิดเป็นเปลือกแข็งหุ้ม ในขณะที่ความชื้นในภายชั้นอาหารจะระเหยออกยากขึ้น และอาจทำให้การทำแห้งไม่สมบูรณ์
2. การเกิดลักษณะแห้งแข็งของส้มอบแห้ง อาจเกิดจากการใช้เวลาอบนานมากเกินไป หรือใช้อุณหภูมมิสูงเกินไป ส่งผลให้ส้มอบแห้งมีความชื้นต่ำเกินไป
วิธีแก้ไขส้มอบแห้งมีลักษณะแข็งเกินไป
1. ต้องใช้อุณหภูมิการอบแห้งไม่สูงมากเกินไป และใช้เวลาในการอบที่เหมาะสมไม่นานมากเกินนไป
การใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อเก็บรักษาส้มอบแห้งให้มีอายุการเก็บรักษาได้นานมากที่สุด ควรเป็นุงอะลูมิเนียนฟอยล์ ซึ่งคุณสมบัติในการป้องการความชื้น แสงแดด มีผลให้สามารถรักาคุณภาพของอบแห้งดี ทำให้มีความกรอบนาน รสชาติ และสีเปลี่ยนแปลงช้ากว่าถุงชนิดอื่น อาจมีการใช้สารดูดความชื้นหรือดูดออกซิเจนเสริมในบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาให้ได้นานมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงสีของส้มอบแห้งเกิดจากปฎิกิริยาของการเกอดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ งพบในผักและผลไม้ โดยเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าของอาหารเพื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ อาจใช้วิธีการผลิตเพื่อป้องกันการเกิดสีน้ำตาล คือ
1. การใช้ความร้อนในการทำลายเอนไซม์
2. การปรับให้เป็นกรดเนื่องจากค่าความเป็นกรดที่เหมาะสมคือ 5-7 เหมาะกับเอนไซม์ฟีนอเลส ซึ่งทำให้เกิดสีน้ำตาล จึงควรให้มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นเพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
3. การใช้สารเคมี เช่น EDTA เพื่อจับกับโลหะที่เป็นองศ์ประกอบในโมเลกุลของอนไซม์เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
4. ป้องกันการสัมผัสกับออกซิเจน เช่น จุ่มน้ำเกลือ หรือบรรจุแบบสุญญากาศ

คำสำคัญ
บันทึกโดย
น.ส.กัญญารัตน์  โพธิตา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th