เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
291
ชื่อ
กระบวนการผลิตสมุนไพรด้วยเครื่องหั่นสมุนไพร ชม 4,690 ครั้ง
เจ้าของ
อาจารย์พงษ์ศักดิ์ นาใจคง และคณะ
เมล์
rd_rmuti@hotmail.com
รายละเอียด
เครื่องหั่นสมุนไพรประเภทหัว ที่พร้อมจะถ่ายทอดเทคโนโลยี การหั่นสมุนไพรแก่ชุมชน โดยแก้ไขปัญหาจากเครื่องที่มีขายตามท้องตลาดคือ โครงสร้างเครื่อง
ผลิตจากวัสดุไม่เป็นสนิม ต้นทุนเครื่องต่ำกว่า ทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่เสี่ยงต่อการทำงาน ใช้ผู้ปฏิบัติงานเพียง 1 คน สามารถเพิ่มกำลังการผลิตหรือเพิ่มรายได้มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ส่งผลให้กลุ่มชุมชนแปรรูปสมุนไพร หรือลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานลงได้มากกว่า 30 %

ลักษณะเครื่องหั่นหัวสมุนไพรต้นแบบ โครงสร้างทำจากวัสดุสแตนเลส ไม่เกิดสนิม ที่มีช่องป้อนสมุนไพรอยู่ด้านหน้าของเครื่อง ภายในมีใบพาหัวสมุนไพรให้หมุนตัดผ่านใบมีด หัวสมุนไพรจะถูกหั่นออกมาเป็นแผ่นบางๆ ออกด้านข้าง ตกลงสู่ที่รองรับ เครื่องสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง เครื่องสามารถหั่นหัวสมุนไพรหรือผลไม้ประเภทผลได้ โดยต้องมีการนำส่วนที่แข็งออกก่อน เช่น แกนของผลไม้ เป็นต้น เครื่องมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ใช้ต้นกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า 220 v ต้นทุนเครื่องต่ำ

การทำงานของเครื่องหั่นสมุนไพร ใช้ต้นกำลังจากมอเตอร์ ส่งกำลังผ่านขับล้อสายพานมาที่แกนเพลาตัด สมุนไพรประเภทรากหรือหัวจะใช้ห้องตัด ส่วนสมุนไพร ประเภทต้นหรือใบจะใช้ช่องใบตัด สามารถใช้ได้พร้อมกันทั้งสองด้านข้อมูลเครื่องหั่นสมุนไพร
1. ขนาดเครื่อง กว้าง 0.2 เมตร ยาว 0.5 เมตร สูง 0.3 เมตร น้ำหนักเครื่อง 20 กิโลกรัม
2. ปรับความหนาการหั่นสมุนไพรประเภทหัวได้สูงสุด 10 มิลลิเมตร
3. ประสิทธิภาพการหั่น เฉลี่ย 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ที่ความหนา 2 มิลลิเมตร (กระชายดำ)
4. ใช้ต้นกำลังจากมอเตอร์220 โวลต์ขนาด 1/3 แรงม้า อัตราค่าไฟฟ้า 0.7 บาทต่อชั่วโมง (ค่าไฟ
2.7 บาทต่อหน่วย)
5. โครงสร้างเครื่อง ทำจากวัสดุไม่เกิดสนิม (สแตนเลส)

คลิกดาวส์โหลดเอกสารเกี่ยวกับตัวเครื่อง



อาจารย์พงษ์ศักดิ์ นาใจคง , อาจารย์สุทัศน์ ยอดเพชร
ขยายภาพ
คำสำคัญ
สมุนไพร  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

44759
ผู้ถาม : สุภาวดี. บุญคง ที่อยู่ 39หมู่5ตำบล.ปากแคว.อำเภอเมือง.จังหวัดสุโขทัย.64000
วันที่ถาม : 21/09/2562
คำถาม : ออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมเปี๊ยะ
คำตอบ :
การดำเนินงานจากเครือข่าย




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th