เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
2219
ชื่อ
การเหนี่ยวนำและการผสมเทียมในกระบือ ชม 364 ครั้ง
เจ้าของ
ผศ.ดร.จิระพร ชะโน
เมล์
chano.jira.1@gmail.com
รายละเอียด

การเลี้ยงกระบือในประเทศไทยมีการเลี้ยงมาอย่างยาวนานและมีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของเกษตรกร ประชากรกระบือปลัก (Bubalus bubalis) กว่าร้อยละ  83 ของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรกระบือส่วนมาก ร้อยละ 60 อยู่กับเกษตรกรขนาดฟาร์มที่เล็ก โดยการเลี้ยงส่วนมากยังเป็นรูปแบบการเลี้ยงในรูปแบบรายย่อยครอบครัวละไม่เกิน 5 – 10 ตัว ซึ่งมักเลี้ยงไว้เป็นแหล่งออมทรัพย์อีกรูปแบบหนึ่ง กรมปศุสัตว์รายงานว่า พ.ศ.2561 มีประชากรกระบือประมาณ 1 ล้านตัว ซึ่งลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 70 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานทางการเกษตร การแทนที่ของเครื่องจักร การบริโภค อีกทั้งในการผสมพันธุ์กระบือมักใช้การผสมจริงจริงในฝูง ทำให้การคัดเลือกพันธุ์มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากข้อจำกัดนี้ทำให้ประชากรกระบือมีปริมาณและมีขนาดเล็กลง อีกทั้งยังส่งผลถึงความสมบูรณ์พันธุ์ลงลงด้วย ซึ่งจะส่งผลไปยังปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์ (Techakumphu et al., 2014) และในส่วนการผสมเทียมและคุณภาพน้ำเชื้อด้วยเช่นกันที่ส่งผลต่อการผสมติดในกระบือ (Saraswat et al., 2016) ทำให้จำนวนประชากรมีปริมารลดลง การผสมเทียมกระบืออยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ ในช่วง 10 ให้หลัง กรมปศุสัตว์มีปัญหาด้านการผลิตน้ำเชื้อกระบือ อีกทั้งความต้องการของเกษตรกรก็ลดต่ำลง ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านในการจัดการสุขภาพและระบบสืบพันธุ์กระบือตลอดจนด้านคุณภาพน้ำเชื้อและได้เจริญและพัฒนาขึ้นเพื่อที่จะสามารถเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์พันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตได้ดีขึ้น

https://drive.google.com/file/d/1xeJ3n8RKmkCpifmq2BFJSsaRSB0ygBrR/view

คำสำคัญ
กระบือ  
บันทึกโดย
ผศ.ดร.จิระพร  ชะโน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th