เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
  • หน้าหลัก
  • Thursday, March 23, 2023 เวลา :

ข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด / ..

รหัส
144
ชื่อ
เครื่องคั้นมะนาวและส้ม ชม 8,238 ครั้ง
QR Code
พิกัด
,
เจ้าของ
นายยุทธนา ตันติวิวัฒน์
เมล์
tistr@tistr.or.th
รายละเอียด
ผลการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2550 รางวัลชมเชย

มะนาวและส้ม เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีผู้นิยมบริโภคจำนวนมากและอย่างกว้างขวาง เมื่อต้องการคั้นน้ำมะนาวหรือส้มจำนวนมาก ๆ การคั้นด้วยมือทำให้ใช้เวลาและแรงงานมาก ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกสุขลักษณะ เครื่องคั้นมะนาวและส้ม จึงมีความจำเป็นและมีประโยชน์เป็นอย่างมาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จึงได้ตอบสนองความต้องการนี้ เป้าหมายคือ ผลิตเครื่องคั้นมะนาว / ส้ม ที่มีคุณภาพสูง ราคาย่อมเยา ดูแลรักษาง่าย และถูกสุขลักษณะ

จุดเด่นและลักษณะพิเศษของเครื่องคั้นมะนาว / ส้ม
1. ความเร็วสูงประมาณ 4,000 ผล/ชั่วโมง ทำให้สามารถลดเวลาและแรงงานลงได้
2. ทำจากเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมและวัสดุที่ใช้กับอาหาร จึงสะอาดถูกสุขลักษณะ
3. บำรุงรักษาง่ายไม่ซับซ้อน ใช้อะไหล่ภายในประเทศ
4. สามารถถอดเปลี่ยนหัวคั้นเป็นขนาดที่เหมาะสมกับความต้องการได้
5. สามารถออกแบบให้ระยะห่างระหว่างหัวคั้นกับเบ้าคั้นให้เหมาะสมกับชนิดของมะนาว/ส้ม ในประเทศ ทำให้ไม่เกิดรสขม

ประโยชน์ของเครื่องคั้นมะนาว / ส้ม
1. สามารถคั้นมะนาว / ส้ม ได้คราวละมาก ๆ คือประมาณ 4,000 ผล / ชั่วโมง
2. น้ำมะนาว / ส้ม มีคุณภาพดี ไม่ขม ถูกหลักอนามัย
3. ราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้สามารถลดต้นทุนได้
4. แปรรูปน้ำมะนาว เป็นมะนาวพร้อมดื่ม มะนาวพร้อมปรุงและมะนาวเข้มข้น จากฤดูที่มะนาวราคาถูกไปไว้ใช้ในฤดูที่มะนาวราคาแพงได้

เจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ฯ
นายยุทธนา ตันติวิวัฒน์
บ้านเลขที่ 60/33 หมู่ 1 หมู่บ้านกรีนเพลส ถนนราษฎร์อุทิศ ตำบลแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
โทรศัพท์ 02-5438928 โทรศัพท์มือถือ 081-8429654

สถานที่ทำงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
เลขที่ 35 หมู่ 3 เทคโนธานี ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 02-5779251 , 02-5779257 โทรสาร 02-5772386
ขยายภาพ
คำสำคัญ
มะนาว  ส้ม  
บันทึกโดย
นายเอกพงศ์  มุสิกะเจริญ  สำนักงานปลัดกระทรวง

รายละเอียดผู้รับบริการ

40192
ผู้ถาม : นาย​ ต้นกล้า​ ใจหมั่น ที่อยู่ บริษัท นันยางการทออุตสาหกรรม จำกัด 27 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กทม. 10160
โทร. 084-0103628 อีเมล์ : tonkla.j@nanyangtextile.com วันที่ถาม : 29/07/2560
คำถาม : 1. กำลังผลิต​ / วัน​ (ตัน)​ 2. แรงอัดสูงสุด​ กี่ตัน 3. รายละเอียด​ ของเครื่องจักร​ ขนาด​ปั๊ม​ ไฮดรอลิก 4. สามารถ​เพิ่มขนาดหรืออัพเกรดเครื่องให้มีแรงอัดมากที่สุดได้เท่าไหร่​ สำหรับเครื่องจักรตัวนี้ 5. ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างของเราคือ วัสดุมีน้ำหนักเบา เราต้องลดพื้นที่ในการขนส่งให้ได้มากที่สุด โดยไม่มีผลกระทบต่อค่าความร้อน ยกตัวอย่าง เชื้อเพลิงชีวมวลตัวอื่น สามารถขนส่งโดยรถพ่วง / เที่ยว ได้ประมาณ 10-15 ตัน โจทย์ของทางเราก็คือ ฝุ่นฝ้ายต้องสามารถขนส่งได้ในปริมาณใกล้เคียงกัน จึงจะคุ้มค่าในการขนส่ง |23|M
คำตอบ :

เบื้องต้นได้ัดส่งความต้องการไปให้ทางโครงการ ITAP เพื่อพิจารณาให้การสนับสนุน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาคุยรายละเอียดหากต้องการพัฒนาเครื่องจักรเฉพาะทาง ทาง สำนักงานปลัดกระทรวงก็มีโครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรมไทยด้วย วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า http://createc.most.go.th/node/10

1/8/60 คุณณัฐกา สิงหวิลัย (nattaka@nstda.or.th) iTAP รับเรื่องไปดำเนินการต่อ และจะรายงานความก้าวหน้าให้ทราบเป็นระยะ


การดำเนินงานจากเครือข่าย




สงวนลิขสิทธิ์ © 2566 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th