เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.#
  • บริการของ กปว.
    • โครงการ
    • เทคโนโลยี
    • ผู้เชี่ยวชาญ
    • คำปรึกษา/ลูกค้า
    • ผลิตภัณฑ์
    • แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • หน้าหลัก
  • Tuesday, July 1, 2025 เวลา :

เทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด

รหัส
1226
ชื่อ
การผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียในการผลิตยางพาราและขยะมูลฝอยสำหรับใช้ในครัวเรือน ชม 3,063 ครั้ง
เจ้าของ
อาจารย์กรณ์ปภพ รัตนวิจิตร
เมล์
kornpaphop_r@hotmail.co.th
รายละเอียด

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ซึ่งเป็นลักษณะการทำแผ่นยางตากแห้ง เป็นการทำการผลิตในระดับครัวเรือน เกษตรกรไม่มีความรู้ในการจัดการน้ำเสียที่เกิดขึ้น บางรายระบายน้ำเสียลงริมคลองกลายเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสียไหลไปยังที่ดินใกล้เคียง เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน เกษตรกรชาวสวนยางไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ การระบายน้ำเสียทิ้งโดยไม่มีการจัดการที่ดี นอกจากจะก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน เช่น การปนเปื้อนของน้ำเสียบนพื้นดิน การปนเปื้อนของน้ำเสียในแหล่งน้ำ เป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนในชุมชน และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่แล้ว การย่อยสลายของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ยังก่อให้เกิดก๊าซมลพิษต่างๆ ซึ่งแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ การนำน้ำเสียจากการทำยางแผ่นเข้าสู่กระบวนการหมักเป็นก๊าซชีวภาพใช้เป็นก๊าซหุงต้มในครัวเรือน จากผลงานวิจัย เรื่อง การบำบัดน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ สามารถคิดค้นรูปแบบระบบบำบัดน้ำเสียแบบถังหมักก๊าซชีวภาพ และวิธีการเดินระบบ รวมทั้งวิธีการส่งจ่ายก๊าซชีวภาพไปใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งเหมาะสมสำหรับจัดการน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่นในระดับครัวเรือน ใช้ระบบถังหมักก๊าซชีวภาพในการจัดการปัญหาน้ำเสียและของเสียในครัวเรือนที่เกิดขึ้นในชุมชน การจัดการปัญหาน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่น และของเสียอื่นๆ ในครัวเรือน เป็นจุดถ่ายทอดความรู้และขยายผลสู่เกษตรกรผู้ผลิตยางแผ่นและการจัดการของเสียในครัวเรือนในชุมชนอื่นๆ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใช้ก๊าซหุงต้มและ/หรือค่าเชื้อเพลิงในครัวเรือน

ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ ขยายภาพ
คำสำคัญ
ก๊าซชีวภาพ      
บันทึกโดย
นายคฑาวุธ  สว่างดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

รายละเอียดผู้รับบริการ

ไม่พบข้อมูลผู้รับบริการ




สงวนลิขสิทธิ์ © 2568 กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม(ธท.) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(กปว.)
มีปัญหาแจ้งได้ที่ ekapong at mhesi.go.th