กิจกรรมการประชุมร่วมเพื่อประสานงาน สนับสนุนการดำเนินงาน สรุปงานและการศึกษาดูงาน SE ดำเนินการวันที่ 5, 18, 24 และวันที่ 25 สิงหาคม 2567
รายละเอียดผลการดำเนินงาน
ประชุมทบทวนแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน และประสานงานหารือการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมร่วมกับวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตวงสิริ สยมภาค หัวหน้าโครงการ พร้อมทีมงานนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงแผนงาน และผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านในปีงบประมาณ 2566 รูปแบบการดำเนินงานและเป้าหมายของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน และกำหนดระยะนัดหมายการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม เพื่อให้สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ และทำความรู้จักกับผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม รวมถึงหารือในเรื่องการติดตามผลการดำเนินโครงการที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องของชุมชน
ผลการดำเนินงาน:
1. สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนทำความรู้จักกับผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม
2. สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ และร่วมทบทวนแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการทำงาน
3. มีการกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน เพื่อนัดหมายสมาชิกมาร่วมกิจกรรม
4. สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนรับทราบและเข้าใจถึงเป้าหมายของโครงการฯ ปีที่ 3
5. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90
กิจกรรมการจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมฝึกปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่อง การตลาดเพื่อการส่งออก
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤตยชล ทองธรรมสถิต
ดำเนินการวันที่ 21 สิงหาคม 2567
รายละเอียดผลการดำเนินงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤตยชล ทองธรรมสถิต พร้อมด้วยคุณอารีรัตน์ โอหยาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาโลม เฮลท์ จำกัด เป็นวิทยากร ในกิจกรรมที่ 2 การจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมฝึกปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่อง การตลาดเพื่อการส่งออก
บทบาทหน้าที่
1.การประชุมร่วมกับคณะทำงานหลัก เพื่อนำแนวคิดมาออกแบบพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน
2.ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อร่วมกันออกแบบพัฒนาหลักสูตร เนื้อหาสาระความรู้ที่จะใช้ในการถ่ายทอดให้กับผู้เข้าร่วมพัฒนา
3.ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ และศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน
4.จัดเตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการฝึกปฏิบัติ
5.การจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมฝึกปฏิบัติ
ส่วนที่ 2 รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่รับผิดชอบ
2.1 หลักการและเหตุผล
การตลาดเพื่อการส่งออก เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้วิสาหกิจชุมชนเล็งเห็นโอกาสที่จะเติบโตทางธุรกิจ และสร้างผลประโยชน์ในระยะยาว โดยเป็นการวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการขยายตลาดจากภายในประเทศ สู่ลูกค้ากลุ่มใหม่จากต่างประเทศ โดยวิสาหกิจชุมชน ต้องเริ่มดำเนินการจดเครื่องหมายการค้า จากนั้นต้องวางแผนและเตรียมพัฒนามาตรฐานสินค้าเพื่อการส่งออก ควบคู่ไปกับการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
2.2 วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
การเตรียมความพร้อม และการวางแนทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับวิสาหกิจชุมชน รองรับการขยายฐานลูกค้าไปต่างประเทศ
2.3 ขอบเขตของงานที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี
1) การจดเครื่องหมายการค้า วิสาหกิจชุมชนต้องมีการเตรียมความพร้อมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศไทย และทำการศึกษากฎหมายการค้า กฎหมายเครื่องหมายการค้าจากต่างประเทศ
2) การเตรียมจัดทำเอกสารมาตรฐานสินค้าที่ลูกค้าต้องการ วิสาหกิจชุมชนต้องศึกษาวางแผนและจัดทำมาตรฐานสินค้าตามที่ประเทศคู่ค้าต้องการ เช่น GMP GHP HACCP เครื่องหมายฮาลาล เป็นต้น
3) การเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก ซึ่งประกอบไปด้วย ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน และใบรายการบรรจุสินค้า เป็นต้น
4) ทำการศึกษาประเภทการส่งออก วิสาหกิจชุมชนต้องเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังประเทศปลายทาง เช่น FOB หรือ CFR หรือ CIF เป็นต้น
5) สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
ผลการดำเนินงาน:
1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมและวิทยากรได้ถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญให้แก่วิสาหกิจชุมชน
2. วิสาหกิจชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมเอกสารมาตรฐานสินค้าที่ประเทศคู่ค้าต้องการ และการเตรียมเอกสารเพื่อส่งออก ครบถ้วนถูกต้องมากขึ้น
3. วิสาหกิจชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทการส่งออก การขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังประเทศปลายทาง เช่น FOB หรือ CFR หรือ CIF เป็นเต้น
4. ผู้เข้าร่วมโครงการ 15 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 94.67
กิจกรรมการจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมฝึกปฏิบัติการ
ครั้งที่ 2 เรื่อง การเตรียมความพร้อมสู่การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อสังคม
ครั้งที่ 3 เรื่อง การวางแนวทางการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคม
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ใจดี
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันทนา รอดประเสริฐ
ดำเนินการวันที่ 23 สิงหาคม 2567 และวันที่ 30 สิงหาคม 2567
รายละเอียดผลการดำเนินงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ใจดี พร้อมด้วย ดร.อรทัย เชื้อวงษ์ นักวิชาการอิสระ เป็นวิทยากร ในกิจกรรมที่ 2 การจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมฝึกปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 เรื่อง การเตรียมความพร้อมสู่การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อสังคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันทนา รอดประเสริฐ พร้อมด้วย คุณภาคิน เป็นวิทยากร ในกิจกรรมที่ 2 การจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมฝึกปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 เรื่อง การวางแนวทางการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคม
บทบาทหน้าที่
1.การประชุมร่วมกับคณะทำงานหลัก เพื่อนำแนวคิดมาออกแบบพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน
2.ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อร่วมกันออกแบบพัฒนาหลักสูตร เนื้อหาสาระความรู้ที่จะใช้ในการถ่ายทอดให้กับผู้เข้าร่วมพัฒนา
3.ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ และศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน
4.จัดเตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย วัสดุอุปกรณ์เพื่อการฝึกปฏิบัติ และตัวอย่างหน่วยงาน องค์กรต้นแบบในการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคม
5.การจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมฝึกปฏิบัติ ณ วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย
ส่วนที่ 2 รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่รับผิดชอบ
2.1 หลักการและเหตุผล
วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี จำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อทำธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวก มุ่งเน้นการแก้ปัญหาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน การวางแผนช่วยให้สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนมากขึ้น มีการวางแผนธุรกิจที่ชัดเจน เพื่อช่วยดึงดูดการลงทุนจากผู้สนับสนุนหรือองค์กรที่สนใจลงทุนในโครงการเพื่อสังคม สร้างความร่วมมือจากองค์กรอื่น ๆ เพื่อการจัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนจากสมาชิกที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำมาซึ่งความยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
2.2 วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
การวางแนวทางให้วิสาหกิจชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย สร้างสมดุล ระหว่างการสร้างกำไรและการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
2.3 ขอบเขตของงานที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี
1) แนวคิดและองค์ประกอบธุรกิจเพื่อสังคม ประกอบด้วย มีรูปแบบการดำเนินการที่มีความยั่งยืนทางการเงินเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลกำไรกลับคืนสู่สังคมและเป้าหมายที่กำหนดไว้ และดำเนินการอย่างโปร่งใสมีธรรมาภิบาล
2) การวิเคราะห์สถานภาพวิสาหกิจชุมชนสู่การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อสังคม เป็นการร่วมกันวิเคราะห์ มิติของมูลค่า กับ มิติของคุณค่า กล่าวคือ มิติคุณค่าจะต้องดำเนินการด้วยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกชุมชน ส่วนมิติด้านมูลค่าคือการสร้างกิจกรรมกิจการที่ให้เกิดกำไรต่อธุรกิจนำมาซึ่งผลตอบแทนของสมาชิก ดังนั้นกิจกรรมเพื่อสังคมจึงเป็นกิจกรรมที่ผสมผสานทั้งในเรื่องของรายได้เศรษฐกิจและความยั่งยืนของกิจการผสมกับการดูแลสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจดำเนินการอยู่ในบริบทของสังคมนั้นๆเพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อมสืบต่อไป
3) การกำหนดเป้าหมายธุรกิจเพื่อสังคม พิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจเพื่อสังคม
3.1 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชน
3.2 การร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนและ
3.3 การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหรือมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจซึ่งหลอมรวมเป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม แนวคิดและแนวทางดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมคือ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ดำเนินการผ่านอยู่ในช่วงของโครงการต่างๆ โดยองค์กรธุรกิจต้องอยู่รอดอยู่อย่างพอเพียงและเกิดความยั่งยืน
ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันของสมาชิกภายในวิสาหกิจ เพื่อให้เห็นถึงความต้องการร่วมกันของสมาชิกต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม
ผลการดำเนินงาน:
1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมและวิทยากรได้ถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญให้แก่วิสาหกิจชุมชน
2. วิสาหกิจชุมชนมีความเข้าใจในทิศทางเป้าหมายธุรกิจเพื่อสังคม แนวคิดและองค์ประกอบ ในภาพรวมของชุมชน ความร่วมมือร่วมใจ การสร้างกิจการที่ให้เกิดกำไรต่อธุรกิจนำมาซึ่งผลตอบแทนของสมาชิก ดังนั้นกิจกรรมเพื่อสังคมจึงเป็นกิจกรรมที่ผสมผสานทั้งในเรื่องของรายได้เศรษฐกิจและความยั่งยืนของกิจการผสมกับการดูแลสังคมชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจดำเนินการอยู่ในบริบทของสังคม
3. ผู้เข้าร่วมโครงการ 15 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 96
กิจกรรมการตลาดออนไลน์และการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบมุ่งเป้า
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
1.อาจารย์สุธีรา อานามวงษ์
ดำเนินการวันที่ 11 กันยายน 2567
รายละเอียดผลการดำเนินงาน
คุณอัษฎาวุธ ทวีชนม์ คุณอนันดา ทีปะนาวิน อาจารย์ประทีป วิจิตรศรีไพบูลย์ อาจารย์จิดาภา อยู่รับสุข และอาจารย์สุชาดา ท้าวลอม เป็นวิทยากร ในกิจกรรมที่ 3 การตลาดออนไลน์และการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบมุ่งเป้า
บทบาทหน้าที่
1.จัดเตรียมเอกสารประกอบการบรรยาย การไลฟ์สดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำตลาดออนไลน์และการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์
2.การจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมฝึกปฏิบัติ ณ ห้องประชุม SC103 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่รับผิดชอบ
2.1 หลักการและเหตุผล
เพื่อการขยายกลยุทธ์การตลาดสู่กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจชุมชนจำเป็นต้องมีเรียนรู้ การตลาดแบบมุ่งเป้าเพื่อขับเคลื่อนให้การตลาดมากขึ้น ทางคณะจึงมีการจัดอบรมการไลฟ์สดทาง Facebook โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์คณะบริหารธุกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ เขตพื้นที่จักรพงษภูวนารถ เป็นวิทยากรให้กับวิสาหกิจชุมชน ในการสอนและลงมือทำเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริง และเพิ่ม โปรแกรม PRISM Live ให้การไลฟ์ดูน่าสนใจมากขึ้น
2.2 วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
เพื่อกำหนดตลาดเป้าหมาย และจัดวางผลิตภัณฑ์ ขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางการตลาดสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติจากต่างถิ่น และชาวต่างชาติ
ผลการดำเนินงาน:
1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดแบบมุ่งเป้าให้กับวิสาหกิจชุมชน
2. วิสาหกิจชุมชน ได้ลงมือทำไลฟ์ใน Facebook ในแต่ละขั้นตอน ตามวิทยากร
3. ผู้เข้าร่วมโครงการ 15 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90.67
กิจกรรมถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตวงสิริ สยมภาค
ดำเนินการวันที่ 20 กันยายน 2567
รายละเอียดผลการดำเนินงาน
แลกเปลี่ยนความรู้จากการดำเนินงาน ตลอด 3 ปี (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ทบทวนหลังปฏิบัติการของการดำเนินงาน ตลอด 3 ปี (ถอดบทเรียน)
ผลการดำเนินงาน:
1. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมอภิปรายร่วมกับสมาชิกผู้ร่วมโครงการ เพื่อถอดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมเทคโนโลยี ที่แต่ละฝ่ายต้องเตรียมตัว
2. ผู้รับผิดชอบโครงการต้องมีความรู้ความสามารถในการเขียนข้อเสนอโครงการและแก้ไขจนกว่าจะได้รับการอนุมัติงบประมาณสนับสนุน สามารถคัดเลือกและรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ และต้องบริหารจัดการโครงการและงบประมาณให้เป็นไปตามข้อเสนอที่ได้รับ มีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนเป้าหมาย
3. ทีมงานต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในกิจกรรมที่ตนเองรับผิดชอบ พร้อมทั้งการบริหารจัดการด้านเวลา เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ และต้องมีเวลาในการติดตามแก้ปัญหาหรือข้อขัดข้อง เมื่อการดำเนินกิจกรรมจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน
4. ประธานวิสาหกิจชุมชน ต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้รับผิดชอบโครงการ สามารถบริหารจัดการเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม และมีการปฏิบัติจริงตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ มีความเป็นผู้นำ มีความเสียสละ และมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน
5. สมาชิกของวิสาหกิจชุมชน ต้องมีความเข้าใจจุดมุ่งหมายของโครงการและเต็มใจในการร่วมกิจกรรมต่างๆของโครงการ เป็นทีมงานที่ดี ให้ความร่วมมือเมื่อกลุ่มต้องการกำลังเสริม
6. ผู้ประสานงานโครงการ ต้องมีความรับผิดชอบสูง มีความเข้าใจโครงการเป็นอย่างดี มีความรู้เรื่องการขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง สามารถประสานกับทีมงาน วิสาหกิจชุมชนและบุคคลภายนอกได้เป็นอย่างดี
7. ผู้เข้าร่วมโครงการ 10 คน ความพึงพอใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90
รายงานโดย นางสาววรรณษา บาลโสง วันที่รายงาน 30/09/2567
[17988]