2567 การสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17537]

- ออกแบบตราสินค้าชุมชนจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมสมองร่วมกับกลุ่มชุมชน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ได้ตราสินค้าชุมชนจำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เจ้กเชยหวานหยด และเจ้กเชยหวานกรอบ รายละเอียดดังภาพ
/online/cmo/filemanager/797/files/หวานหยด.pdf



รายงานโดย ดวงฤทัย แก้วคำ วันที่รายงาน 23/09/2567 [17537]
0 0
4 [17436]

- 5 สิงหาคม 2567 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ เพื่อหารือการลงพื้นที่ดำเนินโครงการ กำหนดหลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยี และประสานงานวิทยากร ผ่านการประชุมออนไลน์

- 25 สิงหาคม 2567 ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมให้นักวิจัยนำความรู้ด้าน วทน. และการบริหารจัดการ การตลาดยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการชุมชนรวมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อนำไปพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มชุมชน รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
https://clinictech.rmutp.ac.th/?p=2511#more-2511

https://www.facebook.com/share/p/DXk88jiBBsybGxBB/

https://www.facebook.com/share/p/dSxqwR9Z7ywbBweT/

- 6–8 กันยายน 2567 ลงพื้นที่ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี แก่วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปข้าวเจ๊กเชยเสาไห้สระบุรี ณ โรงเรียนศาสตร์พระราชา (วัดอู่ตะเภา) ต.หนองแซง อ.ม่วงหวาน จ.สระบุรี โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย
1) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “เรื่องเล่าชุมชนหนองแซง” โดยคุณชัยวัฒน์ ศรีเมืองอินทร์ ประธานวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปข้าวเจ๊กเชยเสาไห้สระบุรี
2) บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การพัฒนาอัตลักษณ์และตราสินค้าชุมชน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถการ สัตยพาณิชย์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมสมองในหัวข้อ “การสร้างตราสินค้าชุมชน” โดย คุณพัฒนา เพชรคชสิทธิ์ และคุณสายชล เพยาว์น้อย และจากการระดมสมองได้สรุปเอกลักษณ์สำคัญในพื้นที่ 5 คำ เพื่อใช้เป็นการออกแบบตราสินค้าชุมชน ได้แก่
          1. สระบุรี สถานที่ตั้งของชุมชนอยู่ในจังหวัดสระบุรี
          2. อู่ตะเภา มีสัญลักษณ์เป็นเรือเสาเภา ตามประวัติของชุมชน
          3. ข้าวเจ๊กเชย เป็นผลิตภัณฑ์เอกสารที่มีพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอหนองแซง และอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี และเป็นผลผลิตของกลุ่ม
          4. ผักหวานป่า เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสระบุรี
          5. บ่อน้ำ ในเขตชุมชนไม่มีแม่น้ำหรือลำน้ำผ่านชุมชน แต่ใช้การขุดบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกทางการเกษตร
4) บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “การออกแบบสื่อเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชนสำหรับสื่อสังคมออนไลน์” และฝึกปฏิบัติด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดย ดร.ภารวี ศรีกาญจน์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
5) บรรยายและฝึกปฏิบัติ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวเจ้ยเชย และผักหวานป่า โดย ผศ.ดร.เชาวลิต อุปฐาก และ ดร.เกชา ลาวงษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ถ่ายทอดดังนี้
          1. ก๋วยเตี๋ยวข้าวหยด - เส้นสด และเส้นแห้ง
          2. ผักหวานป่าอบแห้ง - สามารถคืนสภาพเดิมได้เมื่อแช่น้ำร้อน
          3. ข้าวปาด จากข้าวเจ้กเชย และผักหวานป่า
          4. ข้าวเจ้ยเชยผักหวานป่าทอดกรอบ
          5. แป้งข้าวเจ้กเชย
          6. ผงปรุงรสสำหรับก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป
รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
https://ird.rmutp.ac.th/?p=22119

https://clinictech.rmutp.ac.th/?p=2569#more-2569

https://www.facebook.com/share/p/v2Sms4z4CeucHKo3/

https://www.facebook.com/share/p/YTezpx7HH5Lj8LCc/

- 14 กันยายน 2567 ติดตามผลการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับจากการบรรยายและฝึกปฏิบัติ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการทำข้าวปาด ที่ผลิตจากแป้งข้าวเจ้ยเชย และผักหวานป่า โดยผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าวปาดเจ๊กเชยผักหวาน ในราคา 7 บาท/ตัว หรือราคา 35 บาท/กล่อง



รายงานโดย ดวงฤทัย แก้วคำ วันที่รายงาน 18/09/2567 [17436]
175000 21