2567 การพัฒนาและการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้านล้านนาวิถีวอแก้ว   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [18072]

   กิจกรรมที่1การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ กลุ่มเวชสำอางผสมสารสกัดจากสมุนไพรและดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี

   ทำการลงพื้นที่ในการคัดเลือกสมุนไพรที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา โดยการสอบถามทางชุมชนและเข้าดูพื้นที่การลูกสมุนไพร พบว่า สมุนไพรที่พบการปลูกในครัวเรือนสามารถปรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ โดยทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้สนใจผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีอยู่เดิม เพิ่มเติมความหลากหลายและเหมาะกับการผลิต ยกตัวอย่างเช่น ตะไคร้  ขิง  ไพล  และขมิ้นชัน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณลดการอักเสบ และมีฤทธ์ต้านอนุมูลอิสระสูง  ซึ่งสมุนไพรทั้งหมดได้ทำการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทางโครงการได้เพิ่มเติมวิธีการสกัดสารสำคัญโดยการนำสมุนไพรสด ดังที่ยกตัวอย่างมาสกัดโดยการทอดหรือคั่วในน้ำมันมะพร้าว  โดยการทอดในอัตราส่วน 2:1 ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส คนเป็นระยะๆ ทอดจนกระทั่งสมุนไพรกรอบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ โดยใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที นำน้ำมันกรองด้วยผ้าขาวบาง พักไว้ให้เย็นแล้วทำในขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะได้สารสกัดออกมาในรูปแบบน้ำมันที่สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น น้ำมันนวดลดปวดจากสารสกัดขมิ้นชัน ขิง และ ตะไคร้ ซึ่งทางกลุ่มวิสาหกิจสามารถปรับชนิดสมุนไพรได้ตามฤดูกาลเก็บเกี่ยวของพืชสมุนไพร เนื่องจากพืชชนิดหัว จะมีการเก็บเกี่ยวรอบปี ซึ่งหากผ่านช่วงเก็บเกี่ยวไปแล้ว จะไม่สามารถนำมาทำได้ จึงอาจต้องมีการปรับชนิดสมุนไพรในกลุ่มที่มีสารในกลุ่มเดียวกัน และเพิ่มเติมการทำยาหม่องแท่ง ในรูปแบบที่ทุกเพศทุกวัยสามารถใช้ได้ และได้ดำเนินการถ่ายทอดให้กับทางกลุ่มวิสาหกิจตามแผนกิจกรรม

  กิจกรรมที่2วิเคราะห์สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา คุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และดำเนินการเข้าสู่มาตรฐาน

    จากกิจกรรมที่1มาทำการสกัดอย่างง่ายโดยที่ทางชุมชนสามารถทำเอง ขณะที่ทำกิจกรรม สมุนไพรที่ใช้ ได้แก่ ไพล ขมิ้น ขิง การวิเคราะห์สารสำคัญด้วยเทคนิค  HPLC ผลที่ได้ พืชกลุ่มนี้ มีสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ ดังตาราง องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดสมุนไพร

ตัวอย่าง

รายงานการทดสอบ

ผลการทดสอบ* (mg/g)

วิธีการทดสอบ

1.น้ำมันขมิ้น

Curcumin

3.38 ± 0.04

HPLC method

DAD detection

At 425 nm

 

Demethoxycurcumin

2.39 ± 0.03

 

Bisdemethoxycurcumin

2.79 ± 0.04

2.น้ำมันไพล

Curcumin

0.55±0.00

 

Demethoxycurcumin

ไม่พบ

 

Bisdemethoxycurcumin

ไมพบ

ซึ่งการประเมินผลของคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากการออกแบบสอบถามกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ น้ำมันนวดบรรเทาปวด  พบว่า สามารถลดปวดได้ ทั้งในกลุ่มเกษตรกร กลุ่มใช้แรงงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ ส่วนการดำเนินเข้าสู่มาตรฐาน กำลังดำเนินงาน

 กิจกรรมที่3 ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ และจัดทำคู่มือประโยชน์และข้อมูลสมุนไพรในผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

    ทางโครงการจากการถ่ายทอดเทคโนโลยี จากผลิตภัณฑ์เดิม คือ ครีมขัดผิวขมิ้นชัน และโลชั่นจากใบบัวบก ได้ทำผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมจากการลงพื้นที่ต่อยอดสมุนไพร ได้แก่ น้ำมันนวดบรรเทาปวด และยาหม่องในรูปแบบแท่ง อีกทั้งได้ทำคู่มือการใช้ประโยชน์และข้อมมูลสมุนนไพรในท้องถิ่นไปยังกลุ่มวิสาหกิจและโรงเรียนในพื้นที่

 กิจกรรมที่ 4และ5ขอขยายเวลา (กำลังดำเนินการอยู่)

ค่าใช้จ่าย  110,800  บาท 

(ค่าเดินทาง วัสดุทางการเกษตรสมุนไพรที่นำมาวิเคราะห์ อุปกรณ์ในการผลิต ส่วนประกอบการผลิต บรรจุภัณฑ์ และเอกสารคู่มือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี)

ผู้เข้าร่วม 20 คน (สมาชิกในกลุ่มได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและเทคนิคการสกัดสารเพิ่มเติม)

ติดตามผล 4 ครั้ง 

 

 

 



รายงานโดย นายชัยวุฒิ  โกเมศ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18072]
110800 20