2567 โครงการการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์มีดของช่างตีมีดชุมชนบ้านขามแดง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17979]

    โครงการการพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์มีดของช่างตีมีดชุมชนบ้านขามแดง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

1. วิเคราะห์ภูมิปัญญาการตีมีดของช่างตีมีดชุมชนบ้านขามแดง

          จากการลงพื้นที่กลุ่มตีมีดในบ้านขามแดง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง พบว่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ รายกลุ่ม และรายเดี่ยว มีรายละเอียดดังนี้

          1. รายกลุ่ม เป็นการรวมกลุ่มตามบ้านใกล้เคียงหรือมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นญาติกัน ซึ่งจะมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถและความเชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถแบ่งหน้าที่ตามกระบวนการผลิต ประกอบด้วย การตัดเหล็ก การตีขึ้นรูปมีด การชุบแข็งคมมีด การปัดแต่งคมมีด และการใส่ด้าม โดยรายได้ของแต่ละคนที่ทำหน้าที่จะแตกต่างกันออกไปตามความยากง่ายของงาน แต่ละคนจะมีความสามารถในการทำงานในแต่ละขั้นตอนที่ตนเองได้รับมอบหมายมาได้มากหรือน้อยไม่เท่ากัน และหัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้แบกรับภาระเรื่องค่าลงทุนและการขายไว้ทั้งหมด

   2.รายเดี่ยว เป็นการตีมีดด้วยคนเพียงคนเดียวทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเครื่องกลใช้ในการผ่อนแรงในขั้นตอนต่างๆ เช่น ตัดเหล็กด้วยแก๊ส เครื่องทุบเหล็ก เตาเผาเหล็กแบบใช้พัดลมหรือเตาแก๊ส เครื่องเจียรเหล็กแบบล้อหมุน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลดระยะเวลาและเบาภาระในการทำงานลงไปได้ แต่จะมีการลงทุนที่สูงกว่าแบบรายกลุ่ม เนื่องจากเครื่องจักรกลที่นำมาอำนวยความสะดวกในแต่ละขั้นตอนมักจะมีราคาที่สูง โดยจะผลิตมาจากช่างมืออาชีพโดยเฉพาะทางและสั่งผลิตจากต่างจังหวัด

 ต้นทุนของการผลิตมีดนั้นนอกจากจะมีเครื่องจักรแล้ว ยังมีในด้านวัตถุดิบ ได้แก่ เหล็กกล้า ถ่านไม้สัก ไม้สักทำด้าม และคลั่ง ซึ่งจะมีการผันผวนของราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาลและระบบเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศอยู่เสมอ นอกจากนั้นแล้วยังมีค่าการตลาดที่จะต้องนำสินค้าไปส่งให้กับลูกค้าต่างจังหวัด ถ้าคิดราคารวมแล้วมีดจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 150-250 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของมีด ดังนั้นผู้ประกอบการตีมีดจะมีรายได้จากมีดแต่ละเล่มแบ่งตามกระบวนการผลิตแล้ว จะมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 15,000-50,000 บาท ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญในขั้นตอนนั้นๆ

จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการตีมีดในชุมชนแล้ว พบว่าขาดแรงงานในการตีมีด เนื่องจากเยาวชนรุ่นใหม่ได้หันไปทำงานตามยุคสมัย จึงไม่มีคนรุ่นหลังที่จะต่อยอดวิถีชีวิตการตีมีดนี้อีก

   จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์รายเดี่ยวและรายกลุ่มผู้ประกอบการตีมีดและผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาช่องทางในการจัดจำหน่าย และแนวทางการแก้ปัญหา รวมถึงแนวทางการจัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีดพร้าของหมู่บ้านขามแดง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง สรุปได้ว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการกลุ่มมีดพร้าคือทางด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งทางประกอบการขายสินค้าผ่านพ่อค้าคนกลางแค่ทางเดียว ทำให้ผู้บริโภคยังไม่รับรู้ถึงผลิตภัณฑ์เท่าที่ควรและทำให้ถูกจำกัดทางด้านจำนวนการผลิตและราคา ดังนั้นทางผู้รับผิดชอบโครงการจึงต้องศึกษาปัญหาและหาวิธีการแก้ไขพร้อมแนวทางการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการมีดพร้า หมู่บ้านขามแดงให้เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาและแนวทางการจัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายคือ กลุ่มผู้ประกอบการควรเพิ่มหรือขยายช่องทางการจัดจำหน่ายมีดพร้าผ่านช่องทางออนไลน์ มีการออกบูทจัดแสดงสินค้า หาเครือข่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกัน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและการรับรู้ให้กับผู้บริโภค และอุตสาหกรรมเดียวกัน 



รายงานโดย นายชัยวุฒิ  โกเมศ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17979]
29200 80