2567 การยกระดับมาตรฐานการผลิตเห็ดและผลิตภัณฑ์จากเห็ด 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17305] |
กิจกรรมที่ 3. พัฒนากระบวนการคัดบรรจุเห็ดให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยพัฒนากระบวนการคัดบรรจุเห็ดให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยหลังจากการผลผลิตใส่ตระกร้า นำเข้าห้องคัดบรรจุ นำเห็ดมาคัดขนาดและคุณภาพ ตัดแต่งส่วนที่เสียหายและตำหนิ แล้วนำไปบรรจุลงถุงพลาสติกยืดอายุการเก็บรักษาของผลผลิต โดยเลือกถุงที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุนเล็กจำนวนมาก ซึ่งมีคุณสมบัติให้ก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ เอทิลีน และความชื้นซึมผ่านได้ด้วยอัตราที่เหมาะสม จึงทำให้ผลผลิตมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่าถุงทั่วไป ช่วยยืดความสดใหม่ของผักและผลไม้ ยาวนานขึ้น 2 – 5 เท่า รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 03/09/2567 [17305] |
50000 | 5 |
4 [17304] |
กิจกรรมที่ 5. พัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมสามารถช่วยยืดอายุการเก็บผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงฉลากที่อธิบายข้อมูลสินค้า และมีความสวยงามเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าสามารถแข่งขันในท้องตลาดได้ โดยเลือกบรรจุภัณฑ์บรรจุลงถุงพลาสติก LLDPE (Linear Low Density Polyethylene) ที่มีคุณสมบัติช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของผลผลิต โดยเลือกถุงที่มีโครงสร้างเป็นรูพรุนเล็กจำนวนมาก ซึ่งมีคุณสมบัติให้ก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ เอทิลีน และความชื้นซึมผ่านได้ด้วยอัตราที่เหมาะสม จึงทำให้ผลผลิตมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่าถุงทั่วไป ช่วยยืดความสดใหม่ของผักและผลไม้ ยาวนานขึ้น 2 – 5 เท่า รวมถึงฉลากที่อธิบายข้อมูลสินค้า และมีความสวยงามเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณค่าสามารถแข่งขันในท้องตลาดได้ โดยใช้ตราสินค้า บ้านฟาร์มรักษ์ รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 03/09/2567 [17304] |
20000 | 5 |
4 [17303] |
กิจกรรมที่ 4. ประเมินการเสื่อมสภาพของเห็ด โดยวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ โดยดำเนินการประเมินการเสื่อมสภาพของเห็ด โดยวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพประกอบด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ ความสูญเสียทางกายภาพ น้ำหนักและการสูญเสียน้ำหนัก และการเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อของเห็ด ดังนี้ - ความสูญเสียทางกายภาพ โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเห็ดด้วยตาเปล่า เพื่อดูลักษณะความสมบูรณ์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดอกเห็ด - น้ำหนักและการสูญเสียน้ำหนัก ชั่งน้ำหนักเห็ดจำนวน 4 ครั้ง หลังเก็บเกี่ยวเห็ด 3 6 9 และ 12ชั่วโมง ด้วยเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จากนั้นนำค่าที่ได้มาคำนวณเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนัก - การเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อ วัดความแน่นเนื้อเห็ดจำนวน 4 ครั้ง หลังเก็บเกี่ยวเห็ดที่เวลา 3 6 9 และ 12ชั่วโมง ด้วยเครื่องวัดความแน่นเนื้อ จากนั้นนำค่าที่ได้มาคำนวณเปอร์เซ็นต์การสูญเสียความแน่นเนื้อ ดังนี้ - การวิเคราะห์ด้านเคมี และจุลินทรีย์ ดำเนินการส่งตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการ รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 03/09/2567 [17303] |
20000 | 5 |
4 [17301] |
กิจกรรมที่ 1 ให้คำแนะนำในการปรับปรุงฟาร์มเพาะเห็ดให้เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก โดยดำเนินการนำแผนผังโรงเรือนเข้าปรึกษาเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก ในการปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ด (มกษ. 2507-2559) แล้วนำคำปรับปรุงไปพัฒนา รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 03/09/2567 [17301] |
10000 | 5 |
4 [17299] |
กิจกรรมที่ 2. อบรมให้ความรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีและการจัดการในโรงเรือน เพื่อให้ได้เห็ดที่มีคุณภาพดี สะอาดและปลอดภัยเหมาะสำหรับการบริโภค โดยผู้ประกอบการได้ผ่านการอบรมแนวทางปฏิบัติที่ดีและการจัดการในโรงเรือน เพื่อให้ได้เห็ดที่มีคุณภาพดี สะอาดและปลอดภัยเหมาะสำหรับการบริโภค และมีหลักปฏิบัติสาหรับการผลิตเชื้อเห็ด รายงานโดย นางสาวอิสราภรณ์ ใบวุฒิ วันที่รายงาน 03/09/2567 [17299] |
10000 | 5 |