2567 ยกระดับศักยภาพธุรกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 0
ผล ผลผลิต/ผลลัพธ์ 1. จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี 2. จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด - เทคโนโลยี/นวัตกรรมกระบวนการผลิตจักสานไม้ไผ่ที่เหมาะสม - เทคโนโลยี/นวัตกรรมกระบวนการผลิตวัสดุไม้ไผ่เหลือใช้เพื่อการตกแต่งอาคาร - เทคโนโลยี/นวัตกรรมกระบวนการผลิตไม้ไผ่เพื่อยืดอายุการใช้งานวัสดุไม้ไผ่ 3. จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ 4. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ 5. จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ 6. สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น (เฉพาะปี2567)
ผล ผลผลิต/ผลลัพธ์ หน่วย ค่าเป้าหมาย ผลลัพธ์ 1. จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้/เทคโนโลยี คน 30 35 2. จำนวนเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด - เทคโนโลยี/นวัตกรรมกระบวนการผลิตจักสานไม้ไผ่ที่เหมาะสม - เทคโนโลยี/นวัตกรรมกระบวนการผลิตวัสดุไม้ไผ่เหลือใช้เพื่อการ ตกแต่งอาคาร - เทคโนโลยี/นวัตกรรมกระบวนการผลิตไม้ไผ่เพื่อยืดอายุการใช้งาน วัสดุไม้ไผ่ เรื่อง 3 3 3. จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ คน 7 7 4. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 80 96 5. จำนวนผู้นำความรู้/เทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ คน 30 35 6. สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น (เฉพาะปี2567) เท่า 2 0.34 อื่น ๆ
ผล ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ กิจกรรมโครงการมีการนำองค์ความรู้ด้าน วทน. ไปใช้ในกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสม และพัฒนาศักยภาพห่วงโซ่อุปทานธุรกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ตามแนวคิดแบบ Lean และ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ตลอดห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนและความสูญเสียในกระบวนการ สร้างอัตลักษณ์ ความโดดเด่นของไม้ไผ่ สร้างมูลค่าเพิ่ม และเสริมสร้างความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้เกิดเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มทั้งกลุ่มอาชีพหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ และกลุ่มอาชีพบริการที่พักโฮมลอด์ รวมไปถึงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกัน ตั้งแต่การผลิตผลิตภัณฑ์ร่วมกับการให้บริการพร้อมจัดจำหน่ายและเผยแพร่องค์ความรู้ ทำให้เกิดสมาชิกกลุ่มและคนในชุมชนเกิดรายได้และการกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมให้แก่สมาชิกกลุ่มและคนในชุมชน ผลกระทบด้านสังคม เกิดการจ้างงาน เกิดอาชีพขึ้นชุมชน สร้างคุณค่าให้กับชุมชนภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอมาประยุกต์ใช้กับห่วงโซ่อุปทานธุรกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่อย่างลงตัว นอกจากนี้การที่สมาชิกในกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะในการใช้ วทน. ในกระบวนการทำงาน มีแนวคิดในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน การบริหารจัดการซัพพลายเชนตลอดห่วงโซ่ทำให้เกิดการสร้างงานในชุมชน การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ใหม่ไม้ไผ่ที่ร่วมสมัย แตกต่างจากการนำไม้ไผ่มาใช้แบบดั้งเดิม และผลการดำเนินโครงการทำให้เกิดความร่วมมือขององค์กรภาคีเครือข่ายหลากหลายหน่วยงาน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไม้ไผ่ถือเป็นพืชที่ถูกส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การนำเอาแนวคิด SDG มาขับเคลื่อนโครงการและถ่ายทอดแก่ห่วงโซ่อุปทานธุรกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ถือเป็นผลประโยชน์ทางอ้อมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้ในชุมชนมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นในชุมชน ลดการใช้สารเคมี ลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต มีการประหยัดทรัพยากรและพลังงานในกระบวนการผลิต ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่มุ่งสู่ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ผลกระทบด้านการจ้างงาน เกิดการจ้างงาน เกิดอาชีพขึ้นชุมชนมากขึ้นกว่าเดิม สร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเยาวชนสามาหารายได้พิเศษเพิ่มขึ้น พร้อมกับได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืนต่อไป เนื่องจากได้รับการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตให้มีมาตรฐาน การนำแนวคิดแบบ Lean มาประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตทำให้สมาชิกกลุ่มที่เป็นผู้สูงอายุมีความปลอดภัยในการทำงาน ลดอาการบาดเจ็บปวดเมื่อยในการทำงาน ทำให้สามารถจ้างผู้สูงอายุในชุมชนมาช่วยงานได้เพิ่มขึ้นแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และสร้างแรงจูงใจ สนใจ ของวัยรุ่นในชุมชนหันมาทำหัตถกรรมจักสาน เพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ของกลุ่มมากยิ่งขึ้น
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17660] | 9950 | 0 | |
4 [17659] | 14550 | 35 | |
4 [17658] |
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการนำเทคโนโลยี/นวัตกรรมไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ให้สมาชิกในวิสาหกิจชุมชนบ้านป่าสักไก่ ม.12 และกลุ่มอาชีพบริการที่พักโฮมลอด์จ ความสุขของพ่อ 2.1การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เกี่ยวกับ การสร้างอัตลักษณ์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานที่ร่วมสมัย และ การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Lean 2.2 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาและออกแบบอาคาร (ภายนอกหรือภายใน) ไม้ไผ่ และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริการด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.3 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการนำสินค้าและบริการเพื่อขอรับรองมาตรฐานที่เหมาะสม 2.4 ค่าวัสดุฝึกปฏิบัติทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบหัตถกรรมจักสานร่วมสมัย 2.5 ค่าวัสดุฝึกปฏิบัติทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุปกรณ์ตกแต่งอาคารด้วยไม้ไผ่จากองค์ความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนา รายงานโดย อัมพิกา เตรียมไธสงค์ วันที่รายงาน 25/09/2567 [17658] |
128950 | 60 |
4 [17657] | 14550 | 35 |