2567 โครงการพัฒนาคุณภาพถ่านไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ด้วยเทคโนโลยีเตาอบอุณหภูมิสูงแบบมีเซนเซอร์ตรวจวัดเพื่อส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [18123]

[กิจกรรมที่7 : การถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การสร้างแบบจำลองธุรกิจ การสร้างแบรนด์สินค้า การออกแบบฉลาก และบรรจุภัณฑ์]

โครงการพัฒนาคุณภาพถ่านไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ด้วยเทคโนโลยีเตาอบอุณหภูมิสูงแบบมีเซนเซอร์ตรวจวัดเพื่อส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 7การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง การสร้างแบบจำลองทางธุรกิจ การสร้างแบรนด์สินค้า การออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ จัดโครงการเมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 15คน

เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เนื้อหาการบรรยายประกอบด้วยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ พันธกิจ คุณค่าหลัก จุดแข็ง ภาพการรับรู้ของแบรนด์สินค้า แนวคิดของการสร้างแบรนด์สินค้า องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ เช่น ตราสินค้า สัญลักษณ์ คำขวัญ และบรรจุภัณฑ์ องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ ส่วนทางด้านภาคปฏิบัติประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติการ การออกแบบสัญลักษณ์ การออกแบบคำขวัญ การกำหนดข้อความคุณสมบัติบนบรรจุภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ เช่น ถ่านไบโอชาร์คัดขนาด ดินพร้อมปลูกผสมถ่านไบโอชาร์ และถ่านไบโอชาร์อัดแท่งไร้ควัน

[ตัวชี้วัดกิจกรรม]

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

เชิงปริมาณ

จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวนองค์ความรู้ที่นำมาถ่ายทอด

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น

 

คน

เรื่อง

ร้อยละ

 

15

3

80

 

15

3

84.62

เชิงคุณภาพ

ความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ

 

ร้อยละ

 

80

 

90.77

เชิงต้นทุน

งบดำเนินงาน กิจกรรมที่ 7

 

บาท

 

7,800

 

7,800



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 18/11/2567 [18123]
7800 15
4 [18103]

[ไตรมาส 3] 

[กิจกรรมเตรียมความพร้อม]

[ผลการดำเนินงาน]

ชี้แจงแนวทางการจัดการถ่านไบโอชาร์เพื่อส่งเสริมการทำคาร์บอนเครดิตให้กับตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์ และสร้างเครือข่ายการทำคาร์บอนเครดิตกับบริษัทโคร่าไคลเมท จำนวน 7 คน กิจกรรมนี้จัดขึ้นวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ณ ร้านกาแฟมะเก่า หมู่ 2 ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18103]
0 7
4 [18101]

[ไตรมาส 3] 

[กิจกรรมเตรียมความพร้อม]

[ผลการดำเนินงาน]

สาธิตการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของสบู่ถ่านไบโอชาร์โดยใช้วัสดุหาได้ง่ายและราคาถูกให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์และกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 13 คน กิจกรรมนี้จัดขึ้นวันที่ 21 เมษายน 2567 ณ ร้านชามาจิเมะ หมู่ 2 ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18101]
0 13
4 [18099]

[ไตรมาส 1] 

[กิจกรรมเตรียมความพร้อม]

[ผลการดำเนินงาน]

สร้างความรู้ความเข้าใจและสาธิตการใช้ถ่านไบโอชาร์เป็นส่วนผสมของดินขาดแร่ธาตุและปุ๋ยมูลไส้เดือนเพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน  ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์และผู้สนใจทั่วไปจำนวน 12 คน กิจกรรมนี้จัดขึ้นวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ณ บ้านปากทาง หมู่ 6 ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18099]
0 12
4 [18093]

[ไตรมาส 1] 

[กิจกรรมเตรียมความพร้อม]

[ผลการดำเนินงาน]

สร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประโยชน์ของถ่านไบโอชาร์ในการนำมาเป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดิน และสร้างความตระหนักถึงการใช้ถ่านไบโอชาร์แทนที่การใช้สารเคมี ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์และผู้สนใจทั่วไปจำนวน 15 คน กิจกรรมนี้จัดขึ้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ บ้านปากทาง หมู่ 6 ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18093]
0 15
4 [18071]

[กิจกรรมที่ 5 : การถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน การจัดทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการถ่านไบโอชาร์ และการคิดต้นทุนการผลิตถ่านไบโอชาร์]

[ผลการดำเนินงาน]

โครงการพัฒนาคุณภาพถ่านไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ด้วยเทคโนโลยีเตาอบอุณหภูมิสูงแบบมีเซนเซอร์ตรวจวัดเพื่อส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 5 การถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน การจัดทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการถ่านไบโอชาร์ และการคิดต้นทุนการผลิตถ่านไบโอชาร์ จัดกิจกรรมวันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 15 คน

เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เนื้อหาการบรรยายประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนซึ่งเกี่ยวข้องกับ 1) เอกสารประกอบการลงบัญชีเช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบเบิกเงิน ใบขายเชื่อ ใบจ่ายวัตถุดิบ ใบรับสินค้า 2) เกี่ยวข้องกับสมุดบัญชี เช่น สมุดเงินสด สมุดบรรทุกรายการทั่วไป สมุดต้นทุนกำไร 3) เกี่ยวข้องกับบันทึกรายละเอียดรายคน/รายย่อยในทะเบียนและบัญชีย่อย เช่น ทะเบียนสมาชิกและหุ้น ทะเบียนสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจ ทะเบียนคุมสินค้า ทะเบียนคุมวัตถุดิบ บัญชีย่อยลูกหนี้ขายสินค้าเงินเชื่อ บัญชีย่อยเจ้าหนี้ ส่วนทางด้านภาคปฏิบัติประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติการ การคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์ถ่านไบโอชาร์ปรับปรุงดินทั้งแบบชนิดชิ้นและเกล็ด ในหมวดวัตถุดิบ หมวดค่าแรง หมวดค่าอื่นๆ กำลังการผลิต เป็นต้น



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18071]
9600 15
4 [18070]

[กิจกรรมที่ 3 : เสวนากลุ่มย่อยเรื่องการเพิ่มศักยภาพการผลิตถ่านไบโอชาร์และการสร้างเครือข่ายในชุมชน]

[ผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 3.1]

โครงการพัฒนาคุณภาพถ่านไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ด้วยเทคโนโลยีเตาอบอุณหภูมิสูงแบบมีเซนเซอร์ตรวจวัดเพื่อส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 3 เสวนากลุ่มย่อยเรื่องการเพิ่มศักยภาพการผลิตถ่านไบโอชาร์และการสร้างเครือข่ายในชุมชน จัดโครงการเมื่อวันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2567 ณ ไร่รักของพ่อ หมู่ 6 ตำบลบ้านหนุน  อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 10 คน

เนื้อหาในการเสวนากลุ่มย่อยเกี่ยวข้องกับความต้องการของชุมชนในการเพิ่มกำลังการผลิตถ่านไบโอชาร์เพื่อมุ่งเน้นเป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินให้เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมพืชไร่และพืชสวนในท้องถิ่นซึ่งยังต้องใช้ในปริมาณมากหลายตัน โดยแนวทางในการเพิ่มศักยภาพกำลังการผลิตสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเตาให้เป็นลักษณะเหมือนแอ่งกระทะและใช้วัสดุนำและทนความร้อนได้ดีเช่น สเตนเลส ทั้งนี้การปรับปรุงให้เป็นโครงสร้างดังกล่าวยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณภาพของถ่านไบโอชาร์ได้ อีกทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของถ่านไบโอชาร์ด้วยการหมักร่วมกับจุลินทรีย์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น จุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์มะพร้าว การเพิ่มแร่ธาตุด้วยการหมักกับมูลสัตว์ในท้องถิ่น เช่น มูลวัว มูลสุกร หรือมูลอื่นๆ เช่น มูลค้างคาว เป็นต้น

ชุมชนยังได้กล่าวถึงสภาพปัญหาของดินแข็ง เพาะปลูกพืชไม่ค่อยเจริญเติบโต แนวทางในการแก้ปัญหาคือ การใช้เครื่องมือตรวจวิเคราะห์แร่ธาตุในดิน หากแร่ธาตุในดินมีอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ ควรนำดินมาผสมกับถ่านไบโอชาร์ที่หมักกับจุลินทรีย์และอินทรีย์วัตถุ

อีกทั้งชุมชนยังมีประเด็นเกี่ยวกับการเลือกวัตถุดิบในการนำมาผลิตเป็นถ่านไบโอชาร์ จากการประเมินและวิเคราะห์สภาพพื้นที่ในชุมชน พบว่าวัตถุดิบมีปริมาณเพียงพอ และวัตถุดิบควรมุ่งเน้นเป็นเศษไม้ไผ่ เนื่องจากไผ่เป็นไม้ที่โตเร็วและเจริญเติบโตได้ดีในท้องถิ่น

สำหรับประเด็นการสร้างเครือข่ายเพิ่มเติมในชุมชน ควรมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายกับเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับฐานการผลิต ควรมีผลการทดลองใช้ถ่านไบโอชาร์จริงในพื้นที่ไร่นา ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเครือข่ายชุมชน

การวางเป้าหมายกำลังการผลิตของชุมชน ประมาณ 1 ตันต่อเดือน

[ผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 3.2]

โครงการพัฒนาคุณภาพถ่านไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ด้วยเทคโนโลยีเตาอบอุณหภูมิสูงแบบมีเซนเซอร์ตรวจวัดเพื่อส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 3 เสวนากลุ่มย่อยเรื่องการเพิ่มศักยภาพการผลิตถ่านไบโอชาร์และการสร้างเครือข่ายในชุมชน จัดโครงการเมื่อวันศุกร์ที่ 27กันยายน 2567 ณ บ้านผาหมู หมู่ 8ตำบลร้องกวาง  อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 10 คน

เนื้อหาในการเสวนากลุ่มย่อยเกี่ยวข้องกับความต้องการของชุมชนในการปรับเปลี่ยนฐานป้อนเชื้อเพลิงจากอิฐฉนวนทนไฟเป็นฐานป้อนเชื้อเพลิงที่ทำจากโครงสร้างเหล็ก ทั้งนี้ชุมชนเห็นว่าฐานป้อนเชื้อเพลิงที่ทำจากโครงสร้างเหล็กมีความสะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายเตาผลิตถ่านไบโอชาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อทำการประเมินและตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าการปรับเปลี่ยนฐานป้อนเชื้อเพลิงเป็นโครงสร้างเหล็กลดคุณภาพของความเป็นถ่านไบโอชาร์ลง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการใช้ฐานป้อนเชื้อเพลิงเป็นโครงสร้างเหล็กลดพื้นที่การนำความร้อนเข้าสู่ด้านล่างของเตาและโครงสร้างเหล็กอาจนำความร้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ส่งผลให้อุณหภูมิภายในเตาอบถ่านไบโอชาร์ลดลง อีกทั้งยังให้คำแนะนำแก่ชุมชนให้มีการป้อนเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่องทั้งทางด้านล่างและแกนกลางของเตาเพื่อเพิ่มปริมาณความร้อนให้เข้าสู่ห้องอบภายในมากขึ้น

ชุมชนซักถามถึงความเป็นไปได้ในการเพิ่มปริมาณการผลิตจากขนาด 50 ลิตร เป็นขนาด 200 ลิตร จากการประเมินเบื้องต้นมีความเป็นไปได้ในการผลิตเป็นถ่านอัดแห่งไร้ควัน แต่คุณภาพในระดับถ่านไบโอชาร์จากการผลิตด้วยเตาขนาด 200 ลิตรควรต้องตรวจสอบเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามวิทยากรได้ให้คำแนะนำการผลิตถ่านไบโอชาร์ด้วยเตา 200 ลิตร ควรมีการเพิ่มโลหะนำความร้อนเข้าไปในภายในห้องอบถ่านไบโอชาร์เพื่อเพิ่มระดับของอุณหภูมิและการกระจายความร้อนให้สม่ำเสมอภายในห้องอบ

เนื่องจากเตา 200 ลิตรมีขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงควรมีการต่อเติมอุปกรณ์ที่สามารถเอียงถังเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการนำเศษชีวมวลเหลือทิ้งเข้าและนำถ่านไบโอชาร์ออกจากถัง โดยอุปกรณ์เสริมนี้สามารถทำได้โดยการประกอบขึ้นมาจากเหล็กกล่อง เหล็กเส้น ลูกปืน เป็นต้น

ฐานการผลิตถ่านไบโอชาร์ ณ บ้านผาหมู หมู่ 8ตำบลร้องกวาง  อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ต้องการมุ่งเน้นการนำถ่านไบโอชาร์ไปผลิตเป็นถ่านอัดแท่งไร้ควันให้ความร้อนสูงซึ่งยังเป็นที่ต้องการของตลาดในชุมชน โดยวางเป้าหมายการผลิต 2 ตันต่อเดือน และต้องการขยายเครือข่ายการผลิตไปยังหมู่บ้านข้างเคียง เช่น บ้านผาหมู หมู่ 10 ตำบลร้องกวาง  อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นต้น

 

[ผลการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 3.3]

โครงการพัฒนาคุณภาพถ่านไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ด้วยเทคโนโลยีเตาอบอุณหภูมิสูงแบบมีเซนเซอร์ตรวจวัดเพื่อส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 3 เสวนากลุ่มย่อยเรื่องการเพิ่มศักยภาพการผลิตถ่านไบโอชาร์และการสร้างเครือข่ายในชุมชน จัดโครงการเมื่อวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 ณ บ้านปากทาง หมู่ 6 ตำบลร้องเข็ม  อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร้องกวางไบโอชาร์ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 12 คน

เนื้อหาในการเสวนากลุ่มย่อยเกี่ยวข้องกับความต้องการของชุมชนในการปรับเปลี่ยนฐานป้อนเชื้อเพลิงจากอิฐฉนวนทนไฟเป็นฐานป้อนเชื้อเพลิงที่ทำจากโครงสร้างเหล็ก ทั้งนี้ชุมชนเห็นว่าฐานป้อนเชื้อเพลิงที่ทำจากโครงสร้างเหล็กมีความสะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายเตาผลิตถ่านไบโอชาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อทำการประเมินและตรวจสอบอุณหภูมิในห้องอบถ่านไบโอชาร์พบว่าอุณหภูมิไม่สามารถเข้าถึงช่วง 600-700 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่มีความเหมาะสมในการผลิตถ่านไบโอชาร์ตามเกณฑ์กำหนดของกลุ่ม (ถ่านที่มีค่าความต้านทานเชิงไฟฟ้าน้อยกว่า 100,000 โอห์ม) ถึงแม้ว่าสมาชิกในกลุ่มที่อยู่ประจำฐานการผลิตถ่านไบโอชาร์ ณ บ้านปากทาง ได้ปฏิบัติเพิ่มเติมในการล้างสารทาร์ที่เคลือบภายในห้องอบ การเพิ่มโบลเวอร์เป่าที่ฐานเตาเพื่อเพิ่มปริมาณแก๊สออกซิเจนในการเผาไหม้ไม้เชื้อเพลิงแล้วก็ตาม ดังนั้นการผลิตถ่านไบโอชาร์ตามคำแนะนำของวิทยากรยังคงต้องพิจารณาใส่ใจถึงการทำฉนวนหุ้มความร้อนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้วยการหุ้มฉนวนความร้อนให้มิดชิดรอบเตาและใช้อิฐฉนวนทนไฟในการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนจากฐานป้อนเชื้อเพลิงเข้าสู่เตา

ในการขยายเครือข่ายของสมาชิกในกลุ่มที่อยู่ประจำฐานการผลิตถ่านไบโอชาร์ ณ บ้านปากทาง มุ่งเน้นการขยายเครือข่ายเพิ่มเติมในการผลิตถ่านไบโอชาร์กับกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรในตำบลร้องเข็ม ทั้งนี้เป็นเพราะส่วนหนึ่งต้องการนำถ่านไบโอชาร์จากเศษไม้หรือมูลสัตว์เหลือทิ้งมาประยุกต์ใช้เป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อเพิ่มผลผลิตของสมุนไพรและผักพื้นบ้าน และอีกส่วนหนึ่งต้องการนำถ่านไบโอชาร์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปรับปรุงคุณภาพดินด้วยการหมักกับจุลินทรีย์ย่อยสลาย อินทรียวัตถุจากมูลสัตว์ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น มูลแพะ มูลวัว เป็นต้น ตลอดจนต้องการนำถ่านไบโอชาร์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากของชำร่วย เป็นต้น โดยวางเป้าหมายการผลิต 100 กิโลกรัมต่อเดือน

โดยรูปแบบการขยายเครือข่ายมุ่งเน้นการเป็นฐานเรียนรู้การผลิตถ่านไบโอชาร์ให้กับผู้สนใจทั่วไป และเชิญชวนผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมการผลิต

ชุมชนซักถามเพิ่มเติมถึงแนวทางการใช้พลังงานทดแทนที่สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงความร้อนให้กับเตา โดยวิทยากรให้คำแนะนำแนวทางในการใช้พลังงงานทดแทนไม้เชื้อเพลิง เช่น การรวบรวมน้ำมันพืชเหลือทิ้งจากครัวเรือน แต่ไม่แนะนำการใช้น้ำมันเครื่องเหลือทิ้งเป็นพลังงานทดแทน

ชุมชนยังซักถามถึงความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เตาผลิตถ่านไบโอชาร์เพื่อแปรรูปขยะพลาสติกจากชุมชนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวิทยากรให้คำแนะนำว่าสามารถประยุกต์ใช้เตาผลิตถ่านไบโอชาร์เพื่อแปรรูปขยะพลาสติกได้ อย่างไรก็ตามควรมีบุคคลหรือหน่วยงานที่รวบรวมขยะชุมชนก่อนนำมาแปรรูป และการเพิ่มอุปกรณ์กลั่นลำดับส่วน ทั้งนี้เนื่องจากชุมชนตระหนักถึงการมีขยะพลาสติกเหลือทิ้งมากมายจากครัวเรือนและขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล

[ตัวชี้วัดกิจกรรม]

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

เชิงปริมาณ

จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น

 

คน

ร้อยละ

 

30

80

 

32

88.89

เชิงคุณภาพ

ความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ

 

ร้อยละ

 

80

 

90.44

เชิงต้นทุน

งบดำเนินงาน กิจกรรมที่ 3 (ครั้งที่ 1+2+3)

 

บาท

 

11,850

 

11,850



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18070]
11850 32
4 [17594]

[กิจกรรมที่ 2 : ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการตรวจคุณภาพถ่านไบโอชาร์]

[ผลการดำเนินงาน]

โครงการพัฒนาคุณภาพถ่านไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ด้วยเทคโนโลยีเตาอบอุณหภูมิสูงแบบมีเซนเซอร์ตรวจวัดเพื่อส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 2ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการตรวจคุณภาพถ่านไบโอชาร์ จัดอบรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนไบโอชาร์ร้องกวาง และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 20 คน

เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เนื้อหาการบรรยายประกอบด้วยความรู้ที่เกี่ยวข้องปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพถ่านไบโอชาร์ การตรวจสอบคุณภาพถ่านเบื้องต้น การตรวจสอบคุณภาพถ่านตามมาตรฐานสากล คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของถ่าน เซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพถ่าน เป็นต้น ส่วนการปฏิบัติประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติการตรวจวัดความต้านทานเชิงไฟฟ้าของถ่าน การหาค่าการดูดซับไอโอดีนของถ่าน การหาค่าความชื้นของถ่าน และการหาค่าการดูดซับควันของถ่าน ซึ่งองค์ความรู้ที่นำมาถ่ายทอดจำนวน 2 เรื่อง คือ องค์ความรู้เรื่องการตรวจวัดการนำไฟฟ้าของถ่าน และการดูดซับค่าไอโอดีนของถ่าน ส่วนเทคโนโลยีที่นำมาถ่ายทอด คือ เทคโนโลยีการตรวจวัดการดูดซับควันของถ่าน และเทคโนโลยีการตรวจวัดความชื้นของถ่าน

[ตัวชี้วัดกิจกรรม]

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

เชิงปริมาณ

จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวนองค์ความรู้ที่นำมาถ่ายทอด

จำนวนเทคโนโลยีที่นำมาถ่ายทอด

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น

 

คน

เรื่อง

เรื่อง

ร้อยละ

 

20

1

1

80

 

20

2

2

81.43

เชิงคุณภาพ

ความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ

 

ร้อยละ

 

80

 

85.71

เชิงต้นทุน

งบดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2

 

บาท

 

24,400

 

24,400



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 24/09/2567 [17594]
24400 20
4 [17593]

[กิจกรรมที่ 1 : ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถ่านไบโอชาร์ด้วยเตาอบอุณหภูมิสูง] 

โครงการพัฒนาคุณภาพถ่านไบโอชาร์และถ่านกัมมันต์ด้วยเทคโนโลยีเตาอบอุณหภูมิสูงแบบมีเซนเซอร์ตรวจวัดเพื่อส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรมที่ 1 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถ่านไบโอชาร์ด้วยเตาอบอุณหภูมิสูง จัดอบรมเมื่อวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีกลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนไบโอชาร์ร้องกวาง และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 20 คน

เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เนื้อหาการบรรยายประกอบด้วยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับถ่านไบโอชาร์ ผลของถ่านไบโอชาร์ต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างเตาผลิตถ่านไบโอชาร์ กระบวนการผลิตถ่านไบโอชาร์แบบไพโรไลซิส ส่วนประกอบของเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิสูง การประยุกต์ใช้ถ่านไบโอชาร์เป็นวัสดุปรับปรุงดินเพื่อการเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นต้น  ส่วนทางด้านภาคปฏิบัติประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติการจัดเรียงชิ้นวัสดุชีวมวลในเตา การป้อนเชื้อเพลิงความร้อนในตำแหน่งต่างๆ การผลิตถ่านไบโอชาร์โดยมีเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิเพื่อให้เข้าใจถึงคุณภาพการทำฉนวนความร้อนของเตา อัตราเร็วของความร้อนที่เข้าสู่เตา เป็นต้น

[ตัวชี้วัดกิจกรรม]

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

เชิงปริมาณ

จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม

จำนวนเทคโนโลยีที่นำมาถ่ายทอด

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น

 

คน

เรื่อง

ร้อยละ

 

20

1

80

 

21

1

83.00

เชิงคุณภาพ

ความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดโครงการ

 

ร้อยละ

 

80

 

86.00

เชิงต้นทุน

งบดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1

 

บาท

 

30,700

 

30,700

 



รายงานโดย ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ วันที่รายงาน 24/09/2567 [17593]
30700 21