2567 การเพิ่มผลผลิตข้าวและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ชุมชนบ้านเมืองเตา ตำบล เมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 0
ผล 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำองค์ความรู้ กระบวนการและเทคโนโลยีที่ได้รับไปใช้ประโยชน์จริง เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ของตน ไม่ว่าจะเป็นการทำปุ๋ยพืชสด และการผลิตชีวภัณฑ์เชื้อไตรโคเดอร์มาซึ่งเป็นการนำเอาข้าวเก่ามาใช้ในการเพาะเชื้อ 2.ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำองค์ความรู้ กระบวนการและเทคโนโลยีที่ได้รับ โดยการทำหมักเปลือกมังคุดและมะกรูดในการป้องกันกำจัดหอยเชอร์รี่ในนาข้าวไปใช้จริง และจากการสอบถามผู้นำชุมชน พบว่า ปริมาณหอยเชอรี่ในนาข้าวลดลง 3.ผู้เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้ กระบวนการและเทคโนโลยี เพื่อเตรียมวางแผนตั้งแต่การก่อนเริ่มเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี เช่นการวางแผนการระบายน้ำออกจากแปลงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว และระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว รวมถึง เตรียพร้มกระบวนการและเทคโนโลยีในการดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวหลังเก็บเกี่ยว ด้วยการลดความชื้น เช่น การใช้แสงอาทิตย์ กระบวนการตากข้าวในช่วงเวลาต่างๆ และการสังเกตลักษณะของข้าวตามระยะเวลาที่ตากแตกต่างกันกับคุณภาพการสี และการป้องกันกำจัดแมลงทั้งแบบใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรักษาผลผลิตข้าวให้มีคุณภาพและปริมาณที่สูงสุด 4.ผู้เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู่้ กระบวนการและเทคโนโลยีในการเตรียมวัตถุดิบ ช้าวแปรรูป ได้แก่ การบดผงข้าวและการอบแห้งข้าว ด้วยเครื่องบดยา และกรรมวิธีที่มีต้นทุนไม่สูง เหมาะสมสำหรับการลงทุนเริ่มแรกของการเริ่มต้นทำธุรกิจ นอกจากนี้ ผู้เข้าอบรมยังได้ระดมความคิดร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากวัตถุดิบข้าวแปรรูปภายใต้ข้อจำกัดความเป็นไปได้ ของศักยภาพชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอนาคต เช่น ชาข้าว (อาจจะใช้วัตถุดิบจากเมล็ดข้าวหรือส่วนอื่นของต้นข้างร่วมด้วย) ผงชงดื่มข้าวสมุนไพร และการนำผงข้าวไปใช้ในการทำขนม เป็นต้น 5.ผู้เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้ กระบวนการและเทคโนโลยีเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาผลผลิตให้มีมาตรฐานเป็นที่ต้องการตลาด
ผล 1.เกิดสามัคคีของคนชุมชนในการทำงานร่วมกัน 2.ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดมุมมองต่อยอดในการพัฒนาผลผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของตนให้มีมูลค่าสูงขึ้น
ผล ด้านเศรษฐกิจ 1.เนื่องจากยังไม่ถึงฤดูเก็บเกี่ยว แต่จากการสอบถามเพื่อติดตามผลจากผู้นำชุมชนและตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการล่าสุด คาดว่าจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้นแน่นอน เพราะปริมาณน้ำฝนค่อนข้างเหมาะสม คาดว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 350-400 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพมากขึ้น และขายได้ราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำรายได้ผลิตข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 360,000 บาท (ข้อมูลเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 ด้านสังคม 2.คนในชุมชนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (ผู้เข้าร่วมโครงการ) เกิดความตระหนักถึงการพัฒนาชุมชนสร้างความเข้มแข็งจากภายในเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้านสิ่งแวดล้อม 3.เนื่องจากโครงการได้มีการถ่ายทอดความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมให้คนในฃุมชนลดการใช้สารเคมี และนำเอาผลผลิตข้าวเก่าค้างหลายปีมาใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตชีวภัณฑ์เชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อช่วยกำจัดโรคพืช และลดปริมาณขยะหรือใช้ในการแก้ปัญหาศัตรูพืช เช่น การทำน้ำหมักเปลือกมังคุคและมุะกรูด
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17960] |
กิจกรรมที่ 5. ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการเพิ่มปริมาณและการเตรียมพร้อมเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน : รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [17960] |
40950 | 50 |
4 [17959] |
กิจกรรมที่ 4. ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตแปรรูปข้าว การบดผงข้าวและการอบแห้ง
ผลการดำเนินงาน : รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [17959] |
48800 | 50 |
4 [17958] |
กิจกรรมที่ 3. การถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการดูแลรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวหลังเก็บเกี่ยว รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [17958] |
41300 | 50 |
4 [17957] |
กิจกรรมที่ 2. ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [17957] |
39700 | 50 |
4 [17956] |
กิจกรรมที่ 1. ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการและเทคโนโลยีในปรับดินเพิ่มสารอาหารในดิน รายงานโดย นางสาวสิริกร งามสมัย วันที่รายงาน 30/09/2567 [17956] |
37750 | 50 |