2567 การยกระดับการผลิตลูกพันธุ์ปลาน้ำจืดจากท้องถิ่นสู่สากล กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด บ้านดอนสุริเยศ ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [18113]

จากผลการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีของโครงการยกระดับการผลิตลูกพันธุ์ปลาน้ำจืดจากท้องถิ่นสู่สากล กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด บ้านดอนสุริเยศ ต.ยางน้อย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม  เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งในปีนี้เน้นที่การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตลูกพันธุ์ปลาชนิดใหม่ การจับและการขนส่ง การออกแบบโลโก้และแบรนด์สินค้า การตลาดและการจัดจำหน่าย การจัดการฟาร์มเพื่อเตรียมพร้อมสู่การขอรับรองมาตรฐาน GAP โดยการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการวิจัย ทดลอง การเรียนรู้ผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2567 สามารถสรุปได้ ดังนี้

1.       การสำรวจและเก็บข้อมูลการดำเนินกิจการของฟาร์มผลิตลูกพันธุปลาน้ำจืดบ้านดอนสุริเยศและบ้านยางน้อย เพื่อประเมินศักยภาพของฟาร์ม โดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ในวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2567 โดยทำการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 15 ราย

2.       การศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์ปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีการเพาะพันธุ์ในชุมชนมาก่อน โดยได้นำเกษตรกรไปศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์ปลาเศรษฐกิจแม่น้ำโขง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครพนม เช่น ปลากาดำ ปลากดคัง ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 9 คน ผู้ร่วมเดินทางทั้งหมด 12 คน งบประมาณที่ใช้ 20,000 บาท

3.       การเพาะพันธุ์ปลาชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีการเพาะพันธุ์ในชุมชนมาก่อน เช่น ปลาซิวอ้าว ปลากดเหลือง ปลาหมอไทย ปลาะโห้ ปลาจาละเม็ดน้ำจืด ปลากาดำ ปลากดคัง

     3.1 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปลาซิวอ้าวโดยใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการวางไข่ การอนุบาลและการเลี้ยงปลาซิวอ้าว ในวันที่ 26 เมษายน 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 5 คน งบประมาณที่ใช้ 5,000 บาท

3.2 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปลาหมอไทยโดยใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการวางไข่ การอนุบาลและการเลี้ยงปลาหมอไทย ในวันที่ 30 เมษายน 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน งบประมาณที่ใช้ 10,000 บาท

3.3 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลากดเหลือง และการจัดการฟาร์มเลี้ยงปลากดเหลืองเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในวันที่ 12 มิถุนายน 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน

3.4 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลากะโห้ และการจัดการฟาร์มเลี้ยงปลากะโห้ เพื่อเพิ่มผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน

3.5 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลากาดำ และการจัดการฟาร์มเลี้ยงปลากาดำ เพื่อเพิ่มผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 6คน

3.6 ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลากดคัง และการจัดการฟาร์มเลี้ยงปลากดคัง เพื่อเพิ่มผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน

4.        ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างแพลตฟอร์มโฆษณาสินค้า ได้แก่ Facebook page, TikTok, YouTubeและออกแบบโลโก้และฉลากแบรนด์สินค้าลูกพันธุ์ปล้ำจืด ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน

5.       การจัดการฟาร์มด้าน: พ่อแม่พันธุ์ การเพาะพันธุ์ การอนุบาลลูกปลา คุณภาพน้ำ อาหารและการให้อาหาร โรคและการป้องกันรักษา การตรวจสอบปริมาณ คุณภาพ และสุขภาพลูกปลา การจัดทำบันทึกและบัญชีฟาร์ม ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 15 คน

6.       การถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาระบบการเพาะพันธุ์ปลาให้ได้ลูกปลาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสินค้าสัตว์น้ำ และแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์มเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำจืดให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 6 คน

7.       การถ่ายทอดเทคโนโลยี IoTเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการอนุบาลและเลี้ยงปลาน้ำจืดอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำสูง ในวันที่ 9 สิงหาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน

8.       การจัดการเรื่องการจับ บรรจุหีบห่อ และการขนส่งลูกปลา ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน

9.       การคัดเลือกฟาร์มตัวอย่าง เพื่อเข้าขอการรับรองมาตรฐาน GAP และพัฒนาระบบ IoTจำนวน 2 ฟาร์ม ในวันที่ 6 กันยายน 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 5 คน

10.   การถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวทางการประชาสัมพันธ์สินค้า การพัฒนาการตลาด และช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในวันที่ 27 กันยายน 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 20 คน

11.   การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานของโครงการ ในวันที่ 28 กันยายน 2567 โดยมีเกษตรกรผู้เข้าร่วม จำนวน 10 คน

ผลการดำเนินงานพบว่า เกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมีองคซามรู้และทักษะในการเพาะพันธุ์ปลาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้สามารถลดอัตราการสูญเสียลูกปลา เพิ่มอัตราการรอดและการเจริญเติบโต ลดความเสียหายจากการขนส่ง ตลอดจนสามารถเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายได้มากขึ้น



รายงานโดย ผศ.ดร.ปณรัตน์ ผาดี วันที่รายงาน 01/10/2567 [18113]
214000 20
2 [16503]

อยู่ในขั้นตอนวางแผนการลงพื้นที่ดำเนินโครงการ และดำเนินการเบิกงบประมาณจากมหาวิทยาลัยฯ เพื่อดำเนินโครงการอย่างเร่งด่วน 



รายงานโดย ผศ.ดร.ปณรัตน์ ผาดี วันที่รายงาน 04/04/2567 [16503]
0 5
2 [16502]
อยู่ในขั้นตอนวางแผนการลงพื้นที่ดำเนินโครงการ และดำเนินการเบิกงบประมาณจากมหาวิทยาลัยฯ เพื่อดำเนินโครงการต่อไป 


รายงานโดย ผศ.ดร.ชฎาพร เสนาคุณ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16502]
0 8