2567 การพัฒนากระบวนการผลิตสมุนไพรผงให้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูง เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรแปลงใหญ่ชาวนาข่า 0
ผล 1.วิสาหกิจชุมชนมีความรู้ความเข้าใจหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP สำหรับพืชสมุนไพร สามารถปลูก ดูแลสมนุไพร วางแผนการผลิต ปฏิบัติการหลังเก็บเกี่ยว และเก็บรักษาสมนุไพรให้มีคุณภาพและปลอดภัย 2. ผลิตภัณฑ์สมนุไพรผง ได้มาตรฐาน GMP-PICS มีคุณภาพสูง ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภค 3. ได้เครื่องจักรต้นแบบสมนุไพรผงบดละเอียด แบบ universal crusher ที่สามารถลดขั้นตอนการใช้แรงงานและเวลา และลดการสูญเสียสารสำคัญทางยา
ผล 1. สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ความเข้าใจหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP สำหรับพืชสมุนไพร สามารถปลูก ดูแลสมนุไพร เก็บเกี่ยวและเก็บรักษาสมุนไพรให้มีคุณภาพ 2. สมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ ได้รับความรู้ในกระบวนการผลิตวัตถุดิบและการพัฒนาทักษะการควบคุม คุณภาพวัตถุดิบและกระบวนการแปรรูปเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สมนุไพรผงให้มีคุณภาพ และมีสารออก ฤทธิ์ทางชีวภาพสูง ด้วยเครื่องบดสมนุไพรและเทคโนโลยที่เหมาะสม 3.ผลิตภัณฑ์สมนุไพรผง ได้มาตรฐาน GMP-PICS มีคุณภาพสูง ปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภค 4. มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมนุไพรผงม และมียอดจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
ผล ด้านเศรษฐกิจ มูลค่าทางเศรษฐกิจในชุมชนโดยรวม มีรายได้เพิ่มากขึ้นร้อยละ 20 ด้านสังคม เกิดความร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน มีการทำงานร่วมกัน มีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า คนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรง และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17783] |
ผลการดำเนินงาน ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกพันธุ์สมุนไพร ขั้นตอนการปลูก การดูแลและการเก็บเกี่ยว วิธีการเก็บรักษา ให้ได้มาตรฐานการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับ พืชสมุนไพร มกษ. 3204-2561 และจะปรับเปลี่ยนเป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามลำดับ ซึ่งมุ่งเน้นการทำเกษตรที่รักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ และได้พัฒนากระบวนการแปรรูปเบื้องต้นเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรผงบดละเอียด จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ว่านนางคำผง และเพชรสังฆาตผง โดยว่านนางคำเป็นสมุนไพรที่มีการใช้ประโยชน์เป็นส่วนประกอบสำคัญในเวชสำอางและตำรับยานวดสมุนไพรและลูกประคบ เพราะมีสารกลุ่มเคอร์คูมิน (Curcumin)ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพสูง และเพชรสังฆาต โดยเฉพาะส่วนเถา มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารแก้กระดูกหัก ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ จากการวิจัยทางพรีคลินิกพบว่าเพชรสังฆาตมีฤทธิ์ต้านกระดูกพรุน ต้านการอักเสบ และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพรผงบดละเอียดได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์และการฆ่าเชื้อด้วยรังสีแกมมา สามารถเก็บรักษาสมนุไพรผง ได้นานถึง 3 ปี ซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพและปลอดภัย ตามมาตรฐาน GMP-PICS จากโรงงานฟาร์มแคร์ ฟาร์มาซูติคอล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้มีการพัฒนาเครื่องบดสมนุไพรกึ่งอัตโนมัติ แบบ universal crusher โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่สามารถบดสมุนไพรให้ได้ความละเอียดสูง และสามารถปรับความละเอียดได้ตามต้องการ ที่ความละเอียดตั้งแต่ 20-100 mesh ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนการใช้แรงงงาน และเวลา และลดการสูญเสียสารสำคัญทางยา จากการลดขนาดของสมุนไพรที่ต้องใช้เวลานาน และได้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์และพิมพ์ฉลาก ภายใต้แบรนด์ “สมุนไพรชาวนาข่า” และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดและวางแผนการตลาด เพื่อเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในครั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกวิสาหกิจกลุ่มสมุนไพรแปลงใหญ่ชาวนาข่า ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน ผลจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรแปลงใหญ่ชาวนาข่ามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการยกระดับวัตถุดิบสมนุไพร กระบวนการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้ได้คุณภาพ มีปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูง ปลอดภัย และผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานสมุนไพร และเป็นชุมชนต้นแบบในการสร้างนวัตกรรมด้านสมุนไพรสามารถสร้างรายได้ และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป รายงานโดย ผศ.ดร.ชฎาพร เสนาคุณ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17783] |
132060 | 30 |
3 [16936] |
ผลการดำเนินงาน 1. การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว และการคัดเลือกวัตถุดิบก่อนการ นำมาแปรรูป ได้แก่ เพชรสังฆาต รางจืด ว่านนางคำ และฟ้าทะลายโจร ณ แปลงปลูกสมุนไพรของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรแปลงใหญ่ชาวนาข่าและเครือข่าย 2. การเตรียมวัตถุดิบแปรรูปเบื้องต้นด้วยกระบวนการ ล้าง หั่น อบ ในเพชรสังฆาตและว่านนางคำ เพื่อรักษาคุณภาพของสมุนไพรและสารสำคัญทางยา 3. การออกแบบและพัฒนาสร้างเครื่องจักรสำหรับใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดสอบเครื่องจักรสำหรับบดสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน 4. การสร้างแบรนด์และการออกแบบโลโก้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้มีเอกลักษณ์และการสร้างเรื่องราวที่มาของกลุ่มสมุนไพรนาข่าให้มีจุดเด่น เพื่อวางแผนการตลาดเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อไป รายงานโดย ผศ.ดร.ชฎาพร เสนาคุณ วันที่รายงาน 03/07/2567 [16936] |
77940 | 30 |
2 [16501] |
อยู่ในขั้นตอนวางแผนการลงพื้นที่ดำเนินโครงการ และดำเนินการเบิกงบประมาณจากมหาวิทยาลัยฯ เพื่อดำเนินโครงการต่อไปค่ะ รายงานโดย ผศ.ดร.ชฎาพร เสนาคุณ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16501] |
0 | 7 |