2567 การพัฒนาอัตลักษณ์และยกระดับธุรกิจชุมชนผ้าย้อมสีจาก ดอกสายธาร ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
4 [17522] |
ผลการดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาอัตลักษณ์และยกระดับธุรกิจชุมชนผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาทักษะการย้อมและการปัก 5.1 การพัฒนาทักษะการย้อม คณะทำงานโครงการได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการย้อม ในวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2567 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่ง ผ้ายายท่าลาดตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี เรื่อง การพัฒนาทักษะการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ แก่สมาชิกกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนและสมาชิกในชุมชนที่สนใจ วิทยากรในการอบรมคือ ดร.อุษา ประชากุล นักออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่นยั่งยืน (เส้นใยธรรมชาติและสิ่งทอ) และการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จากสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม การดำเนินกิจกรรมประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2) คู่มือการอบรมเรื่อง “การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ” ประกอบคำบรรยาย ให้ความรู้ผ่านภาพ เสียง สื่อ power point และตัวอย่างจริง 3) การอบรม “การย้อมเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติ” ประกอบด้วย 3.1) บรรยายเรื่อง แนวทางการกำหนดเทรนด์สี (Colour Design Trends)และเทรนด์สีปี 2025 ของ CARLIN CREATIVE TREND BUREAU 3.2) บรรยายเรื่อง สีธรรมชาติและแหล่งที่มาของสีและการเตรียมวัตถุดิบ 3.3) บรรยายเรื่อง กระบวนการเตรียมเส้นด้ายสำหรับการย้อม 3.4) บรรยายเรื่อง ขั้นตอนการย้อมเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติ 3.5) บรรยายเรื่อง การดูแลรักษาเส้นด้ายที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ 3.6) บรรยายเรื่อง เทคนิคการทำลวดและการย้อมลายเส้นด้าย 3.7) ปฏิบัติการ เทคนิคการสร้างลวดลายและการย้อมเส้นด้ายด้วยสีธรรมชาติ 4) ประเมินผลการจัดกิจกรรม 5) ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วันต่อครั้ง จำนวน 1ครั้ง 6) กลุ่มเป้าหมายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่ง ผ้ายายท่าลาด 7) วิทยากรในการฝึกอบรมจำนวน 1ท่าน คือ ดร.อุษา ประชากุล นักออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่นยั่งยืน (เส้นใยธรรมชาติและสิ่งทอ) และการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 8) สถานที่การอบรมคือ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่ง ผ้ายายท่าลาด 9) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (4.66) ดังตารางมรา 2 10) ได้เส้นได้ย้อมสีแบบสีพื้น 7 เฉดสี แบบลายโดยใช้เทคนิคมัดย้อม 3 ลาย ดังภาพประกอบ 11) ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการพัฒนาทักษะการย้อม จำนวนทั้งสิ้น 37,634บาท ตารางที่ 2แสดงผลประเมินการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการย้อม
5.2 การพัฒนาทักษะการปัก คณะทำงานโครงการได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการปัก ในวันที่ 14 – 15 กันยายน 2567 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่ง ผ้ายายท่าลาดตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคการร่างลายปักหรือการร่างแบบปัก (Embroidery Design Sketching หรือ Embroidery Drafting) และเทคนิคการปักแก่สมาชิกกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชนและสมาชิกในชุมชนที่สนใจ วิทยากรในการอบรมคือ ดร.อุษา ประชากุล นักออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่นยั่งยืน (เส้นใยธรรมชาติและสิ่งทอ) และการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จากสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม การดำเนินกิจกรรมประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2) คู่มือการอบรมเรื่อง “เทคนิคการร่างลายปัก หรือ การร่างแบบปักและเทคนิคการปัก” ประกอบคำบรรยาย ให้ความรู้ผ่านภาพ เสียง สื่อ power point และตัวอย่างจริง 3) การอบรม “เทคนิคการร่างลายปัก หรือ การร่างแบบปักและเทคนิคการปัก” ประกอบด้วย 3.1) บรรยายเรื่อง เทคนิคการร่างลายปักหรือการร่างแบบปัก (Embroidery Design Sketching หรือ Embroidery Drafting) 3.2) บรรยายเรื่อง เทคนิคการปักขั้นพื้นฐาน 3.3) บรรยายเรื่อง กระบวนการเตรียมผ้าสำหรับการย้อม 3.4) บรรยายเรื่อง การวางแผนลายปักและการใช้สีให้เหมาะสม 3.5) บรรยายเรื่อง การพัฒนาทักษะขั้นสูง 3.6) บรรยายเรื่อง การประยุกต์ใช้เทคนิคการปักในผลิตภัณฑ์ 3.7) ปฏิบัติการ การร่างลายปักและปักลาย ผ้าสายธาร ผสานอักษรมงคล 4) ประเมินผลการจัดกิจกรรม 5) ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วันต่อครั้ง จำนวน 1ครั้ง 6) กลุ่มเป้าหมายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่ง ผ้ายายท่าลาด 7) วิทยากรในการฝึกอบรมจำนวน 1ท่าน คือ ดร.อุษา ประชากุล นักออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่นยั่งยืน (เส้นใยธรรมชาติและสิ่งทอ) และการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 8) สถานที่การอบรมคือ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่ง ผ้ายายท่าลาด 9) ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (4.82) ดังตารางที่ 3 10) ผู้เข้าอบรมได้ชินงานผ้าปักจากการฝึกคนละ 1 ผืน คละลายกัน ดังภาพประกอบ
10) ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการพัฒนาทักษะการปัก จำนวนทั้งสิ้น 37,134บาท
ตารางที่ 3 แสดงผลประเมินการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการปัก
รายงานโดย นางสาววนิดา ถาปันแก้ว วันที่รายงาน 22/09/2567 [17522] |
74768 | 50 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17506] |
ผลการดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาอัตลักษณ์และยกระดับธุรกิจชุมชนผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม” กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” คณะผู้วิจัยได้การดำเนินงานตามขั้นตอน ดังนี้ 1. นักวิจัยได้นำข้อสรุปของชุมชนมาใช้เป็นข้อมูลในการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ซึ่งออกแบบโดย ดร. อุษา ประชากุล โดยมีการนำเฉดสีของผลิตภัณฑ์ และ ดอกสายธาร อันเป็นต้นไม้ที่มีอยู่ในชุมชนและบริเวณลุ่มน้ำก่ำที่กลุ่มนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการย้อมผ้ามาใช้เป็น 1 ในเอกลักษณ์สำคัญบนกล่อง และนำแบบตัวหนังสือไทน้อยมาใช้ในการเขียนชื่อแบรนด์ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ตามภาพ 2. หลังจากได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ คณะผู้วิจัยนำโดยอาจารย์ วนิดา ถาปันแก้ว หัวหน้าโครงการ ลงพื้นที่เพื่อนำเสนอต้นแบบบรรจุภัณฑ์กับสมาชิกกลุ่ม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 คน
รายงานโดย นางสาววนิดา ถาปันแก้ว วันที่รายงาน 20/09/2567 [17506] |
35777 | 50 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17505] |
ผลการดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาอัตลักษณ์และยกระดับธุรกิจชุมชนผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม”
กิจกรรมที่ 3 การออกแบบและการสร้างลวดลายอัตลักษณ์ใหม่ของผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ในการการออกแบบและการสร้างลวดลายอัตลักษณ์ใหม่ของผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” คณะผู้วิจัยได้การดำเนินงานตามขั้นตอน ดังนี้ 1. คณะผู้วิจัยนำโดยอาจารย์ วนิดา ถาปันแก้ว หัวหน้าโครงการ ลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนบ้านท่าลาด ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567 เพื่อค้นหาอัตลักษณะที่สำคัญของชุมชน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน ออกเป็น 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันบอกเล่าเรื่องราวของดีที่ท่าลาดเพื่อค้นหาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนโดยมี อาจารย์วนิดา ถาปันแก้ว ดร. อุษา ประชากุล ดร.นายิกา สมร ดร.พรทิพย์ พุทธโส และ ผศ. ดร.เสาวคนธ์ เหมวงษ์ เป็นวิทยากรกระบวนกรประจำกลุ่ม ผลการลงพื้นที่พบว่า บ้านท่าลาด เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำก่ำซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ และความงดงามทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อ เดิมมีชื่อว่า "บ้านสก" ซึ่งตามศัพท์คือคำว่า "ครก" โดยบรรพบุรุษของชาวบ้านท่าลาดเป็นชาวอัตตะปือ ที่ได้ถูกกวาดต้อนมาเข้ามายังประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2313 โดยเริ่มมาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านพระซอง และย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในบริเวณบ้านท่าลาดปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2319 โดยการนำของนายแก้ว ซึ่งได้แต่งตั้งนายแก้วเป็นผู้ปกครองเมือง และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "นายแก้ว ปัญญา" ต่อมาปี พ.ศ. 2437 ชาวบ้านบ้านสก (บ้านท่าลาดในปัจจุบัน) ได้รับเสด็จสมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพที่เสด็จออกตรวจราชการทางชลมารคตามแม่น้ำโขงและเสด็จตามลำน้ำก่ำขึ้นมาแวะเยี่ยมราษฎรที่ ณ ศาลารับเจ้า ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่จากคำว่า "สก" มาเป็นคำว่า "ท่าราช" แปลว่า ท่าต้อนรับเจ้านาย และได้เปลี่ยนเป็น "ท่าลาด" ในปัจจุบัน อาชีพหลักของราษฎรบ้านท่าลดคือ ทำนา รับจ้างทั่วไป อาชีพเสริม ได้แก่ การผลิตผ้าพื้นเมืองเพื่อจำหน่าย และการเลี้ยงสัตว์ ปัจุบันนอกจากชุมชนจะมีการนำ "ต้นโมกเครือ" หรือ "ต้นไส้ตัน" ซึ่งปัจจุบันคนในชุมชนเรียกว่า ต้นสายธาร อันเป็นต้นไม้ที่มีอยู่ในชุมชนและบริเวณลุ่มน้ำก่ำเป็นมาเป็นวัตถุดิบหลักในการย้อมผ้าแล้ว ชุมชนยังมีความต้องการที่จะนำอักษรไทยน้อย ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้อยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาวที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำโขงอันเป็นอีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชุมชนที่เคยมีการถอดรูปแบบอักษรดังกล่าวไว้ โดย ผศ.ดร.อธิราชย์ นันขันตี ในปี พ.ศ. 2566 มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบและการสร้างลวดลายอัตลักษณ์ใหม่ของผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” 2. จากข้อมูลที่ได้ประชุมกลุ่มย่อย นักวิจัยได้นำข้อสรุปของชุมชนมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบและการสร้างลวดลายอัตลักษณ์ใหม่ของผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ซึ่งออกแบบโดย ดร. อุษา ประชากุล ภายใต้แนวคิด "ผ้าสายธาร ผสานอักษรมงคล” โดยการนำ อักษรไทน้อยที่เป็นอักษรมงคล มาผสานรวมเข้ากับดอกสายธาร ดอกไม้ประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงความงดงามทางวัฒนธรรม และความหมายอันลึกซึ้งในความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนท่าลาด ในส่วนของเฉดสีได้มีการศึกษาเทรนด์สีแฟชั่น ปี 2025 ของ CARLIN CREATIVE TREND BUREAUเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเฉดสีของผลิตภัณฑ์ 3. หลังการศึกษาเทรนด์สี ปี 2025 ของ CARLIN CREATIVE TREND BUREAUทำให้ได้ทิศทางในการกำหนดเฉดสีของผลิตภัณฑ์ โดยได้เลือกใช้สีโทน Sunny Depictionซึ่งสะท้อนถึงความสว่างสดใส ความอบอุ่น และพลังบวก สื่อถึงความสดใสและความมีชีวิตชีวา เน้นความสบายและความสดชื่น ส่วนออกแบบลวดลายอัตลักษณ์ใหม่ ได้รูปแบบลวดลายอัตลักษณ์ใหม่ของผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” จำนวน 2 รูปแบบ โดยกรอบคิดในการออกแบบคือ นำอักษรมงคลจากชุดอักษรไทน้อยมาออกแบบให้เข้ากับลายดอกสายธารเดิม โดยผู้ออกแบบเลือกใช้ พยัญชนะ ง. งู ซึ่งถือเป็นพยัญชนะของความมงคล กล่าวคือ มีความเป็นอายุ หมายถึง การมีสุขภาพดี การมีชวิตที่ยืนยาว เป็นนบริวาร หมายถึง ให้เป็นผู้นำครอบครัวที่ดี เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป เป็นมนตรี หมายถึง ให้ได้รับโอกาสที่ดีหรือได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือ การอุปถัมป์จากครอบครัว ญาติผู้ใหญ่และบุคคลทั่วไป เป็นศรี หมายถึง ให้มีคุณธรรม ให้เป็นที่รักใครเมตตาของบุคคลที่พบเห็น ให้มีความสุข ความสง่างามความสาเร็จ เป็นมูละ หมายถึง ให้มีฐานะการเงินร่ำรวย มีรากฐานที่มั่นคง เพิ่มพูนด้วยทรัพย์สินมรดก เป็นเดช หมายถึง ให้มีตำแหน่งเป็นผู้นำ มีวาสนาบารมีเป็นทที่ยำเกรง มีชื่อเสียงเกียรติยศ อำนาจ การยกย่อง ความโดดเด่น เป็นอุตสาหะ เปี่ยมด้วยความเพียรพยายาม รายละเอียดการออกแบบ ดังภาพ รายงานโดย นางสาววนิดา ถาปันแก้ว วันที่รายงาน 20/09/2567 [17505] |
54692 | 50 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17477] |
ผลการดำเนินงานโครงการ “การพัฒนาอัตลักษณ์และยกระดับธุรกิจชุมชนผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม”
กิจกรรมที่ 2 การวิเคราะห์กลุ่มผู้บริโภคและการกำหนดตลาดแบรนด์สินค้า คณะนักวิจัยได้ออกแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์กลุ่มผู้บริโภคและการกำหนดตลาดแบรนด์สินค้า โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่งผ้ายาย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน และเก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2567 ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่งผ้ายาย
การวิเคราะห์กลุ่มผู้บริโภคและการกำหนดตลาดแบรนด์สินค้า จากข้อมูลประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มลูกค้าแสดงให้เห็นถึงโอกาสและแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลประชากรศาสตร์พบว่า กลุ่มผู้บริโภคหลักของสินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่งผ้ายายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 70.83 รองลงมาเป็นกลุ่ม LGBTQ คิดเป็นร้อยละ 14.17 ซึ่งกลุ่มผู้หญิงนั้นเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและมีความสนใจในสินค้าประเภทผ้าโดยเฉพาะสินค้าที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม ช่วงอายุของกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 58.33 ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีกำลังซื้อและให้ความสำคัญกับสินค้าที่สะท้อนวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ท้องถิ่น ส่วนกลุ่มที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20 ก็เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการซื้อและสนใจผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ กลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 70.83 และทำงานในภาคข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 81.25 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการออกแบบที่สวยงาม รายได้ส่วนใหญ่ของผู้บริโภคอยู่ระหว่าง 10,000 - 30,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 60.83 และกลุ่มที่มีรายได้สูงขึ้นระหว่าง 30,000 - 50,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.17 บ่งบอกว่าผู้บริโภคมีกำลังซื้อในระดับปานกลางถึงสูง เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อ พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เคยซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่งผ้ายาย คิดเป็นร้อยละ 91.67 และมีความชื่นชอบต่อผลิตภัณฑ์สูงถึงร้อยละ 94.17 โดยความถี่ในการซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ที่ปีละ 1-2 ครั้ง ซึ่งบ่งบอกว่าการส่งเสริมการซื้อซ้ำเป็นสิ่งสำคัญ วัตถุประสงค์หลักในการซื้อผลิตภัณฑ์คือเพื่อสวมใส่เอง คิดเป็นร้อยละ 62.50 และเป็นของขวัญหรือของที่ระลึก คิดเป็นร้อยละ 37.50 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มีศักยภาพในการทำตลาดในกลุ่มของขวัญเช่นกัน
ในการตัดสินใจซื้อ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลมากที่สุดคือการใช้สีธรรมชาติ การออกแบบลวดลาย และคุณภาพของผ้า ซึ่งสะท้อนว่าผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูงและมีเอกลักษณ์ ราคาของผลิตภัณฑ์ไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลมากเท่าคุณภาพและความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า ในด้านการตลาด ผู้บริโภคมีความรู้สึกเชิงบวกต่อแบรนด์สินค้า โดยร้อยละ 95.83 มีความรู้สึกว่าภาพลักษณ์ของแบรนด์ดีถึงดีมาก ช่องทางที่ทำให้รู้จักผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ผ่านการแนะนำจากเพื่อนหรือครอบครัวและสื่อออนไลน์ ซึ่งหมายความว่าการใช้การตลาดแบบบอกต่อและการขยายการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากนั้นผู้ตอบแบบยังได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ว่าควรมีเฉดสีจากธรรมชาติที่หลากหลาย ส่วนลวดลายปักควรเป็นลวดลายที่ดึงเอกลักษณ์ของชุมชน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนรวมถึงเรื่องราวความเชื่อที่สื่อถึงความมงคลในชีวิตมาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ ในการกำหนดตลาดและกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควรมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มเฉดสีและลวดลายที่หลากหลาย รวมถึงการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และในงานแสดงสินค้า นอกจากนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการร่วมมือกับดีไซเนอร์หรือศิลปินท้องถิ่นเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์และความแตกต่างก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าคุณภาพและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รายงานโดย นางสาววนิดา ถาปันแก้ว วันที่รายงาน 19/09/2567 [17477] |
23777 | 120 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17393] |
ผลการดำเนินงาน โครงการ “การพัฒนาอัตลักษณ์และยกระดับธุรกิจชุมชนผ้าย้อมสีจาก “ดอกสายธาร” ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม” กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงและวางแผนโครงการปีที่ 1 และเก็บข้อมูลรายได้ก่อนดำเนินโครงการ คณะทำงานโครงการได้จัดประชุมชี้แจงและวางแผนโครงการปีที่ 1 และเก็บข้อมูลรายได้ก่อนดำเนินโครงการ ในวันที่ 15 มิถุนายน 2567 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่งผ้ายาย ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงและวางแผนโครงการปีที่ 1 แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่งผ้ายาย โดยมี อาจารย์วนิดา ถาปันแก้ว หัวหน้าโครงการ เป็นผู้แนะนำโครงการพร้อมคณะทำงานในโครงการกับผู้ร่วมโครงการและและชี้แจงพร้อมวางแผนโครงการปีที่ 1 ร่วมกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนลองเบิ่งผ้ายาย จากเก็บข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลรายได้ก่อนดำเนินโครงการของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน จากข้อมูลพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 60 มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 24 มีอายุระหว่าง 40-49 ร้อยละ 4 มีอายุระหว่าง 60-69 และอีกร้อยละ 2 มีอายุระหว่าง 30-39 โดยผู้เข้าร่วมโครงการระบุอาชีพหลักของตนเป็น เกษตรกรรม ร้อยละ 98 ส่วนอีกร้อยละ 2 ทำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นอาชีพหลัก ส่วนอาชีพเสริม พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 74 เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นอาชีพเสริม ร้อยละ 22 ยังไม่มีอาชีพเสริม และอีกร้อยละ 2 ผลิตสินค้า OTOP และ ทำอาชีพรับจ้าง ตามลำดับ โดยผู้เข้าร่วมอบรมส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 66 และ ร้อยละ 10 จบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนร้อยละ 24 จบศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. ในด้านรายได้ต่อเดือนก่อนเข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 52 มีรายได้ต่อเดือน อยู่ระหว่าง 2,001 - 3,000 บาท ร้อยละ 20 มีรายได้ต่อเดือน อยู่ระหว่าง 1,001 - 2,000 บาท ร้อยละ 8 มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 1,001 บาท ส่วนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีรายได้ต่อเดือน อยู่ระหว่าง 4,001 - 5,000 บาท และ 6,001 - 7,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 4 และอีกร้อยละ 2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้ต่อเดือน อยู่ระหว่าง 3,001 - 4,000 บาท, 5,001 - 6,000 บาท, 7,001 - 8,000 บาท, 8,001 - 9,000 บาท, 9,001 - 10,000 บาท และ มากว่า 10,000 บาท ตามลำดับ โดยรายได้สูงสุดของผู้เข้าร่วมโครงการคือ 15,000 บาท ผู้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 96 ทราบข่าวกิจกรรมโครงการจากการแนะนำของคนรู้จัก ส่วนอีกร้อยละ 4 ทราบข่าวกิจกรรมโครงการจากหน่วยงานในท้องถิ่น โดยผู้เข้าอบรมร้อยละ 86 เคยเข้าร่วมโครงการในลักษณะนี้มาก่อน ส่วนอีกร้อยละ 14 ไม่เคยเข้าร่วมโครงการในลักษณะนี้มาก่อน โดยสาเหตุที่สนใจเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ คือ ต้องการหาช่องทางในการหารายได้เพิ่มเติมในครอบครัว
รายงานโดย นางสาววนิดา ถาปันแก้ว วันที่รายงาน 16/09/2567 [17393] |
10618 | 50 |