2567 การยกระดับหมู่บ้านปูผาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านห้วยหาดและบ้านหลักลาย ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17939]

กิจกรรม การเก็บรักษาคุณภาพปูนิ่มสดแช่แข็ง เรื่อง การยกระดับหมู่บ้านปูผาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโน-โลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านห้วยหาดและบ้านหลักลายตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ผู้รับบริการ : กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปูบ้านห้วยหาด
 จำนวนผู้รับบริการ : 20 คน
 วันที่ดำเนินการ : 11 กันยายน 2567
 วิทยากร : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ดวงใจ
 งบประมาณที่ใช้ : 50,000
 รายละเอียดการดำเนินงาน : คัดเลือกปูที่มีสภาพร่างกายและสุขภาพที่ดี มีความแข็งแรง และพร้อมสำหรับการลอกคราบ จากนั้นขุนด้วยอาหารที่มีโปรตีนสูงผสมกับแคลเซียมสูง ซึ่งช่วยให้ปูสามารถลอกคราบได้เร็วขึ้น และช่วยให้เปลือกใหม่แข็งแรงหลังจากลอกคราบ โดยอาหารเสริมแคลเซียมคาร์บอเนตช่วยในการสร้างเปลือกใหม่ของปูได้ เมื่อปูได้รับอาหารครบ 20 วันต่อเนื่อง นำปูมากระตุ้นการลอกคราบ โดยแช่ปูในน้ำที่ควบคุมอุณหภูมิที่ 29-30 องศาเซลเซียส และความเค็มของน้ำ 4-6 พีพีที นานต่อเนื่อง 7-10 วัน ในภาชนะมืดสนิทและมีรูระบายน้ำเข้า-ออก 4 จุด โดยแยกขังเดี่ยวเพื่อลดความเครียดของปู ในระหว่างนั้นเปลี่ยนน้ำให้สะอาดทุก ๆ 24 ชั่วโมง และเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการลอกคราบ หลังจากที่ปูลอกคราบแล้วนำมาล้างให้สะอาด และเก็บในน้ำแข็งทันทีเพื่อคงความสด เก็บรักษาปูนิ่มในระยะสั้น (ประมาณ 1-2 วัน) ระวังไม่ให้น้ำแข็งละลายและสัมผัสกับตัวปูโดยตรง ใช้ภาชนะที่สามารถระบายน้ำออกได้
 



รายงานโดย นางสาวศศิภา ชุมภูธิมา วันที่รายงาน 30/09/2567 [17939]
50000 20
3 [17053]

กิจกรรม สร้างต้นแบบการเลี้ยงปูนิ่ม เรื่อง การยกระดับหมู่บ้านปูผาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านห้วยหาดและบ้านหลักลายตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ผู้รับบริการ : กลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
จำนวนผู้รับบริการ 20 คน
วันที่ดำเนินการ 1-30 มิถุนายน 2567
วิทยากร ผศ.ดร.เอกชัย ดวงใจ
งบประมาณที่ใช้ 60,000
รายละเอียดการดำเนินงาน เป็นกิจกรรมการสร้างต้นแบบการเลี้ยงปูนิ่ม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ 1) การเตรียมบ่อขุนปู ในการดำเนินกิจกรรมสร้างบ่อขุนปูได้การดำเนินงานในพื้นที่ของสมาชิกกลุ่ม คือ นางสร้อยรัตน์ดา เขื่อนแก้ว เป็นบ่อดินขนาดความกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร จำนวน 2 บ่อ ภายในบ่อแขวงกระชังขนาด 1.5*8*1.20 เมตร จำนวน 1 กระชังต่อบ่อ หลังคาบนบ่อปิดคลุ้มด้วยแสลนดำ เพื่อลดการเครียดของปู 2) การเตรียมบ่อสำหรับให้ปูลอกคราบ ในการดำเนินงานใช้บ่อพลาสติก ขนาดความกว้าง 4 เมตร ยาว 5 เมตร จำนวน 1 บ่อ ภายในบ่อแขวงกระชังโครงเหล็กขนาด 0.5*10*0.6 เมตร จำนวน 4 กระชังต่อบ่อ หลังคาบนบ่อปิดคลุ้มด้วยแสลนดำเพื่อลดการเครียดของปู ให้ปูกินอาหารวันละ1 ครั้ง โดยตลอดระยะเวลาการขุนปูในบ่อเลี้ยงมีระบบน้ำประปาภูเขาไหลผ่านตลอดเวลาเพื่อกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นจากระบบการเลี้ยงปู
 



รายงานโดย นางสาวศศิภา ชุมภูธิมา วันที่รายงาน 05/07/2567 [17053]
60000 20