2567 รักษ์ปุยคำ รักผืนป่า สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้วยวัสดุธรรมชาติ 0
ผล 1. จำนวนผู้รับบริการ 20 2. จำนวนเทคโนโลยีที่มีการถ่ายทอด ระบุชื่อ(เทคโนโลยีหลัก/รอง) 2.1 เทคโนโลยี ไมโคนาโนบับเบิ้ล ปีที่ถ่ายทอด...2567........... 2.2 เทคโนโลยี การผลิต ปีที่ถ่ายทอด..2567......... 2.3 องค์ความรู้การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ปีที่ถ่ายทอด... 2567 2.4 เทคโนโลยีการย้อมสีจากธรรมชาติ ปีที่ถ่ายทอด... 2567 ทั้งหมด 5 เรื่อง 3. จำนวนผลิตภัณฑ์ที่จากกระบวนการพัฒนา/ต่อยอด 1. ผลิตภัณฑ์จากผ้าพิมพ์จากพืช 2. ผ้าพิมพ์ลายจากพืช 3. ผ้าพิมพ์ลายจากพืช ย้อมสีจากธรรมชาติ ทั้งหมด 3 ผลิตภัณฑ์
ผล จำนวนผู้รับบริการที่สามารถเป็นวิทยากรในแต่ละเทคโนโลยี 3 คน ประมาณการผู้รับบริการที่นำเทคโนโลยี/องค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ 30 คน ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 90
ผล ผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ - รายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10/สร้างอาชีพ/เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว - รายได้เพิ่มขึ้นจาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้นำมาถ่ายทอดสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ลดรายจ่าย เมื่อวิสาหกิจชุมชนได้รับองค์ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำให้ลดของเสียในกระบวนการผลิต ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องลองผิดลองถูก ในการถ่ายสีจากใบไม้ลงบนผืนผ้า ทำให้ต้นทุนสูง หากได้รับการถ่ายทอดสามารถลดรายจ่ายจากการใช้แก๊สหุงต้ม ลดพลังงานเชื้อเพลิงลงได้ 50 % และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตได้ถึง 30 % ด้านสังคม สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สร้างเครือข่ายร่วมการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านร่วมกัน ลดการย้ายถิ่นฐาน และทำให้คนในชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด ส่งผลให้ครอบครัวเป็นสุข ลูกหลานกลับมาทำงานที่บ้าน การส่งเสริมให้คนในชุมชนมีอาชีพ ความยั่งยืนของโครงการส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้อย่างยั่งยืน การทำศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่ ส่งผลให้ เกิดการมาท่องเที่ยว ทำกิจกรรมในชุมชน เป็นการประชาสัมพันธ์อีกช่องทางหนึ่ง นอกจากนี้การที่สมาชิกในกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะในการใช้ วทน. ในกระบวนการทำงาน มีแนวคิดในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน การบริหารจัดการซัพพลายเชนตลอดห่วงโซ่ทำให้เกิดการสร้างงานในชุมชน และผลการดำเนินโครงการทำให้เกิดความร่วมมือขององค์กรภาคีเครือข่ายหลากหลายหน่วยงาน ด้านสิ่งแวดล้อม การนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการผลิต ผ่านการการนำแนวคิด BCG Model และแนวคิด SDG มา ขับเคลื่อนโครงการ และการทำศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ ทำ ให้เกิดจิตสำนึกในการรักป่า เรียนรู้ธรรมชาติของใบไม้ และประโยชน์ต่าง ๆ ของผืนป่า เกิดการอนุรักษ์และรักษาผืนป่า
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17652] |
กิจกรรมที่ 3 ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2567 “การพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมพร้อมในการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน" การพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมพร้อมในการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แนะนำการทำเอกสาร ทำใบคำขอ รายละเอียดของการทำผลิตภัณฑ์เพื่อขอยื่นจดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้ทำการยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นที่เรียบร้อย อยู่ในระหว่างหน่วยพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย จะลงพื้นที่ตรวจศูนย์การเรียนรู้
รายงานโดย อัมพิกา เตรียมไธสงค์ วันที่รายงาน 25/09/2567 [17652] |
71720 | 30 |
4 [17651] |
กิจกรรมที่ 2 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2567 “พัฒนากระบวนการผลิตโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการอบรม การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต โดยเทคนิคการนึ่ง เทคนิคการทุบ เทคนิคการห่มสี เพื่อให้เกิดการสม่ำเสมอและการถ่ายสีจากใบไไม้ลงบนพื้นผ้าได้มาตรฐานและสวยงามสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงได้ พัฒนากระบวนการผลิตโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการอบรม การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต โดยเทคนิคการนึ่ง ใช้เครื่องนึ่งแรงดัน ทดสอบเวลาการนึ่งและประสิทธิภาพ ทำให้ลดกระบวนการและลดเวลาการผลิตได้ 1-2 ชั่วโมงต่อรอบการผลิต เทคนิคการทุบ การนำผ้าทุบแช่น้ำโดยเครื่องนาโนบับเบิ้ล เพื่อให้สีติดทนนานขึ้น และใช้เทคนิคการวางลายเพื่อให้มีความเป็นเอกลักษณ์ สวยงาม ถ่ายทอดเทคนิคการห่มสี การถ่ายสีจากผ้าย้อมลงบนผ้าอีกผืน เทคนิคการม้วน ห่ม หรือการอุ๊ก เพื่อให้ใบใบที่วางลายอยู่บนเนื้อผ้ามีความสวยงามไม่ขยับ ทำให้เกิดลายใหม่ ๆ ขึ้น และเกิดการสม่ำเสมอและการถ่ายสีจากใบไม้ลงบนพื้นผ้าได้มาตรฐานและสวยงามสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงได้
รายงานโดย อัมพิกา เตรียมไธสงค์ วันที่รายงาน 25/09/2567 [17651] |
58835 | 30 |
4 [17649] |
กิจกรรมที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-28 กรกฎาคม2567 “พัฒนากระบวนการผลิตโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการอบรม โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีธรรมชาติ ใช้นาโนไมโคบับเบิ้ล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์” ได้พัฒนากระบวนการผลิตโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการอบรม โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้นำสีธรรมชาติเข้ามาใช้ทดแทนการย้อมสีเคมี และนำเทคโนโลยีนาโนไมโคบับเบิ้ล เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้สีติดทนนาน ขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ หลังจากการอบรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ ทราบถึงกระบวนการการย้อมสี และหมักสี การผสมสีที่ได้จากใบไม้ สีธรรมชาติ เรียนรู้วิธีการนำเทคโนโลยีนาโนไมโคบับเบิ้ลเข้ามาใช้ รายงานโดย อัมพิกา เตรียมไธสงค์ วันที่รายงาน 25/09/2567 [17649] |
93015 | 30 |