2567 ศูนย์การเรียนรู้เฮือนหลวงมหาวรรณ์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมร่วมสมัย 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17895] |
กิจกรรมที่ 1.ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพิพิธภัณฑ์ ออกแบบและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลพิพิธภัณฑ์เบื้องต้นและ ป้าย Art Work รวมถึงภูมิสถาปัตย์ ต่าง ๆ สำหรับตกแต่งพิพิธภัณฑ์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
สถานะดำเนินการแล้ว 50% ในส่วนออกแบบและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลพิพิธภัณฑ์เบื้องต้น กำลังรอดำเนินงาน ในส่วนตกแต่งสถานที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพิพิธภัณฑ์และติดตั้ง ป้าย Art Work
ผู้ร่วมกิจกรรม 1. ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ 2. อาจารย์นักศึกษา มทร.ล้านนา สาขาศิลปะและการออกแบบ 3. วิสาหกิจกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลวง 4. ช่างในชุมชน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1. วิสาหกิจกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลวง 2. ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ ผลผลิต ป้าย Art Work รวมถึงภูมิสถาปัตย์ ต่าง ๆ สำหรับตกแต่งพิพิธภัณฑ์
ผลลัพธ์ หากกิจกรรมแล้วเสร็จ พิพิธภัณฑ์ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ ตกแต่งสื่อบริการข้อมูลพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม ดำเนินการแล้ว 50% ในส่วนออกแบบและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลพิพิธภัณฑ์เบื้องต้น กำลังรอดำเนินงาน ในส่วนตกแต่งสถานที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพิพิธภัณฑ์และติดตั้ง ป้าย Art Work รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17895] |
0 | 20 |
4 [17894] |
กิจกรรมที่ 3อบรมพร้อมทำการตลาดออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายการศึกษา บูรณาการศูนย์การเรียนรู้ เข้ากับหลักสูตรของสถานศึกษาต่างๆ วัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การทำแผนธุรกิจ การตลาด และแผนบริหารจัดการรายได้ชุมชน ทำให้ชมชุมสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นการอบรมกิจกรรมให้ผู้ร่วมกิจกรรมเข้าใจและเห็นความสำคัญของการตลาด การสร้างและการออกแบบสื่อเนื้อหา แบ่งเป็น 2 หัวข้อหลักคือ
สอนตัดต่อ VDO ด้วยมือถือ สำหรับผู้เริ่มต้น ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน การตัดต่อวิดีโอแบบแนวนอนและแนวตั้ง การแต่งรูปด้วยมือถือ เรียนรู้ในรูปแบบการลงมือทำ ตัดต่อวิดีโอได้จริงและสามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้ทันที
ผู้ร่วมกิจกรรม 1. ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ 2. อาจารย์นักศึกษา มทร.ล้านนา สาขาการตลาด 3. วิสาหกิจกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลวง 4. ทีมวิทยากร
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1. วิสาหกิจกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลวง
ผลผลิต จำนวนองค์ความรู้/ทักษะที่ถ่ายทอด 1 เรื่อง คลิปโปรโมทการท่องเที่ยวของชุมชน 6 คลิป
ผลลัพธ์ กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ สรุปผลการดำเนินกิจกรรม การอบรมกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมเข้าใจและเห็นความสำคัญของการตลาด การสร้างและการออกแบบสื่อเนื้อหา การตัดต่อคลิปวีดีโอ การทำ Contentให้น่าสนใจ รวมถึงได้รับความรู้ด้านการเขียน Content การประสัมพันธ์ เพื่อการสื่อสารและบอกเล่าเรื่องราวในชุมชนให้น่าสนใจมากขึ้น ผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ สามารถเขียนเพื่อสื่อสารงานพัฒนาเบื้องต้น ฝึกถ่ายรูป และผลิตคลิป VDO จากโทรศัพท์มือถือได้ และสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้เองในอนาคตได้ต่อไป จากกิจกรรมดังกล่าวนักศึกษาได้ถ่ายทำคลิปวีดีโอเพื่อโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยว พร้อมจุดแวะพักกิจกรรมภายในชุมชนบ้านหลวง หมู่ที่ 6 ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เพื่อลงวีดีโอในแพลตฟอร์ม TikTokจำนวนทั้งสิ้น 6 คลิป พร้อมทั้งตั้ง hashtag แฮชแท็กหลัก ในแอป TikTok เพื่อช่วยดันขึ้นฟีดในอัลกอริทึม โดยใช้ #บ้านหลวงโหล่งขอด
รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17894] |
23410 | 30 |
4 [17893] |
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมขยายผลการใช้งานระบบบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ไปยังชุมชนไทเขิน ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด
ผู้ร่วมกิจกรรม 1. เทศบาลตำบลป่าป้อง 2. กลุ่มผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ไทเขิน 3. ปราชญ์ชุมชนไทเขินป่าป้อง ดอยสะเก็ด 4. คุณครูและนักเรียนโรงเรียนเชิงดอย 5. อาจารย์และนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.เทศบาลตำบลป่าป้อง 2. กลุ่มผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ไทเขิน 3. วัดชยาลังการ์ ผลผลิต องค์ความรู้การใช้งานระบบบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์
ผลลัพธ์ กลุ่มผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ไทเขิน สนใจนำระบบบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มาจัดเก็บข้อมูลโบราณวัตถุเครื่องเขิน ที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ โดยจะประสานขอทีมอาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา ร่วมกับ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอตอยสะเก็ด มาทำกิจกรรมร่วมกันต่อไป
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม การจัดกิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งในมหกรรมภูมิปัญญาไทเขิน อำเภอดอยสะเก็ด โดยทำการอบรมการใช้งานระบบบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์เบื้องต้นในกับเทศบาลตำบลป่าป้อง และกลุ่มผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ไทเขิน ดอยสะเก็ด เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทเขิน ของชุมชนไทเขิน ดอยสะเก็ด ให้คงอยู่และมีแหล่งเรียนรู้ที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้าง และสืบรักษาต่อไปยังเยาวชนในชุมชน โดยกำหนดการเริ่มจากการเสวนาวัฒนธรรมไทเขินนำเสนอระบบบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ โดยแสดงผลการใช้งานระบบของพิพิธภัณฑ์เฮือนหลวงมหาวรรณ์เป็นตัวอย่าง และสอนการใช้งานเบื้องต้น จากนั้นไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ไทเขินเพื่อสำรวจวัตถุชิ้นสำคัญ ที่จะใช้ทดลองนำเข้าระบบบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ป้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และทดสอบการแสดงผล โดยกลุ่มผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ไทเขิน สนใจนำระบบบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มาจัดเก็บข้อมูลโบราณวัตถุเครื่องเขิน ที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ โดยประสานขอความอนุเคราะห์ทีมอาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา ร่วมกับ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอตอยสะเก็ด มาทำกิจกรรมร่วมกันต่อไป เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ และบันทึกร่องรอยทางวัฒนธรรม โดยการนำเข้าข้อมูลสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลของชาติ ให้คงอยู่และสืบทอดต่อไปในอนาคต รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 29/09/2567 [17893] |
18560 | 0 |