2567 นวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวฟาร์มสเตย์ หมู่บ้านทุ่งละคร ตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 0
ผล 1. จำนวนกลุ่มเป้าหมายของโครงการ (หน่วยนับ) 50 คน 2. จำนวนการรับรองมาตรฐานที่พัก 2 แห่ง 3. จำนวนการสร้างตราสินค้าและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 4 ผลิตภัณฑ์ 4. จำนวนการบ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน 5 ราย 5. จำนวนการรวบรวมฐานข้อมูลทรัพยากรและผู้ประกอบการชุมชน 1 ชุด 6. จำนวนการสร้างผู้ประกอบการชุมชน 2 ราย
ผล 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการบ่มเพาะทักษะในการเป็นผู้ประกอบการชุมชนที่มีความสามารถในการจัดการฟาร์มสเตย์ รวมถึงการบริหารจัดการงานการท่องเที่ยวและการบริการในชุมชนได้อย่างยั่งยืน 2. ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ ทั้งในด้านการจัดการที่พัก อาหาร และกิจกรรมการท่องเที่ยว ทำให้ฟาร์มสเตย์ในหมู่บ้านทุ่งละครมีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น 3. ชุมชนหมู่บ้านทุ่งละครมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรฟาร์มสเตย์ที่มีเอกลักษณ์ ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้สนใจจากทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้น 4. การบูรณาการระหว่างผู้ประกอบการชุมชนและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนช่วยสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน เกิดความร่วมมือที่แข็งแกร่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ 5. ชุมชนและผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลที่ได้รับการจัดทำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวต่อเนื่อง โดยใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรการท่องเที่ยวทางการเกษตรและฟาร์มสเตย์ในการทำการตลาดและสื่อสารกับนักท่องเที่ยว
ผล ด้านเศรษฐกิจ 1) เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปที่พัฒนามาตรฐาน และการให้บริการด้านการท่องเที่ยวฟาร์มสเตย์ เช่น ที่พักและอาหาร ทำให้รายได้ของเกษตรกรและชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง. 2) ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการบริการด้านการท่องเที่ยวที่สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในตลาด ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชนและบริการฟาร์มสเตย์ 3) กระจายรายได้ในชุมชน จากโครงการส่งเสริมให้เกิดการซื้อผลิตผลทางการเกษตรจากชุมชนภายในหมู่บ้านทุ่งละครโดยตรง ส่งผลให้เงินหมุนเวียนอยู่ภายในชุมชนและสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ด้านสังคม 1) การจ้างงานเพิ่มขึ้น โครงการนี้ก่อให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น ส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้และอาชีพมั่นคง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน 2) สร้างความร่วมมือภายในชุมชน การดำเนินโครงการทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการท่องเที่ยว ทั้งในพื้นที่และหน่วยงานภายนอก 3) พัฒนาเครือข่ายสังคม โครงการเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชน ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาวิสาหกิจและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม 1) การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างรับผิดชอบ ชุมชนและผู้ประกอบการร่วมมือกันในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 2) การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โครงการช่วยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน เช่น น้ำและดิน อย่างคุ้มค่าและประหยัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเกษตรและการท่องเที่ยว 3) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกัน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการลดการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยและการปกป้องสภาพแวดล้อมในพื้นที่
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17938] |
กิจกรรมที่ 5 การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยกรการท่องเที่ยวทางการเกษตรและผู้ประกอบการชุมชน
ผู้ร่วมกิจกรรม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17938] |
33770 | 15 |
4 [17937] |
กิจกรรมที่ 4 การอบรมการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17937] |
45330 | 31 |
4 [17936] |
กิจกรรมที่ 3 การบ่มเพาะและการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน
สรุปผลการดำเนินกิจกรรม รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17936] |
29240 | 15 |
4 [17935] |
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างตราสินค้า และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17935] |
60330 | 28 |
4 [17934] |
กิจกรรมที่ 1. การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการบริการการท่องเที่ยวฟาร์มสเตย์ รายงานโดย นางสาวอภิญญา ไชยวงค์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17934] |
50330 | 28 |