2567 การพัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย 0
ผล จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ทักษะ จำนวน 150 คน ทักษะที่มีการถ่ายทอดสู่เกษตรกร จำนวน 2 หลักสูตร เพิ่มจำนวนผู้นำเกษตรอีก 2 ราย รวมทั้งหมดจำนวน 12 ราย ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 80 และสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจในชุมชนเพิ่มขึ้น 1 เท่า
ผล จากการขยายผลองค์ความรู้ในโครงการปีที่ 2 เกษตรกรและผู้นำเกษตรกรได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการไปใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรของตนเอง ทำให้เกิดการลดต้นทุน และเพิ่มผลตอบแทนจาการทำการเกษตรดังนี้ 1. รายได้เพิ่มเติม 3,000 10,000 บาท ต่อฤดูกาลทำนา รายได้เพิ่มเติมจากการทำนา เช่น การจำหน่ายพืชผักสวนครัว หรือผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ 2. ต้นทุนในการเพาะปลูกที่ลดลง 6,000 10,000 บาทต่อฤดูกาลทำนา การผลิตสารสกัดชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง 3. ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สามารถประหยัดได้ 2,000 3,500 บาทต่อเดือน หรือ 8,000 14,000 บาทต่อฤดูการทำนา การประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จากการปลูกพืชผักสวนครัว หรือเลี้ยงสัตว์ในนาข้าว เพื่อใช้ในการบริโภคของตนเอง 4. ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 17,000 34,000 บาท ต่อฤดูกาลทำนา ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น = รายได้ที่เพิ่มขึ้น+ต้นทุนในการเพาะปลูกที่ลดลง+ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สามารถประหยัดได้
ผล ผลทางเศรษฐกิจ จากการดำเนินการโครงการ คณะผู้ดำเนินโครงการได้มีการศึกษาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ในปีที่ 1 และปีที่ 2 ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะการทำการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและ Eco Rice 1) ต้นทุนในการปลูกข้าวของเกษตรกรลดลง สามารถประหยัดต้นทุนในการผลิตข้าวได้ 1. ปุ๋ยเคมี 50 100%* *สำหรับเกษตรกรที่มีการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรโดยการทำเกษตรแบบอินทรีย์เต็มรูปแบบ 2. ฮอร์โมน 50 100%* 3. สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 60 100%* 4. สารเคมีในการกำจัดวัชพืช 60 100%* 5. ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 25-38% 2) รายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการทำการทำการเกษตรตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและ Eco Rice ประกอบด้วย 1. ผลผลิตข้าว 15 33 %* *ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ข้าวที่ปลูก 2. การมีรายได้เพิ่มนอกจากการจำหน่ายข้าว 50 100%* การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากการทำการเกษตรผสมผสานตามแนวคิด Eco Rice ผลทางสังคม ความยั่งยืนทางด้านสังคม ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ ทำให้เกิดเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและ Eco Rice โดยมีสมาชิกทั้งหมดที่ได้รับการขยายผลองค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์จำนวน 150 คน และผู้นำเกษตรกรได้รับประสบการณ์การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 12 คน พื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาจำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยความยั่งยืนด้านสังคมที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย 1. เครือข่ายเกษตรกรที่มีความร่วมมือกันในการยกระดับการปลูกข้าวมุ่งสู่การผลิตข้าวแบบปลอดภัย 2. เกษตรกรการมีการรวมกลุ่ม เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรของตนเอง เพิ่มเติมนอกจากการปลุกข้าว ยังขยายผลไปยังการประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น การทำสวนผัก ผลไม้ และการเลี้ยงสัตว์ 3. ครอบครัวของเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งความมั่นคงในด้านอาชีพ การมีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคงจาการทำการเกษตร ผลทางสิ่งแวดล้อม 1. สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบจากการผลิตข้าวลดลง เช่น การลดการเผาตอซังข้าว การลด การใช้สารเคมี การใช้ปุ๋ยเคมี ในทางการเกษตร 2. คุณภาพดินดีขึ้น การลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตร ปรับเปลี่ยนมาใช้สารอินทรีย์ ทำให้คุณภาพดินในแปลงนาของเกษตรกรมีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3. คุณภาพของน้ำ การปนเปื้อนสารเคมีจากแปลงนาข้าวลงสู่แม่น้ำ ลดลง เนื่องจากการลด เลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17875] |
1. การขยายองค์ความรู้จากหลักสูตรมหาวิทยาลัยชาวนา ผ่านผู้นำเกษตรกรจากโครงการปีที่ 1 จำนวน 10 คน กระจายสู่เกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่การทำการเกษตรของผู้นำเกษตรกร แบบ 1 ต่อ 10 คน รวมเกษตรรายใหม่ในปีที่ 2 จำนวน 100 คน ใน 10 พื้นที่ใหม่ ครอบคลุม 3 อำเภอ 2. การเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เพื่อจูงใจให้เกษตรกรได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรกรรรมแบบเคมีสู่การทำการเกษตรแบบปลอดภัย 3. การหนุนเสริมให้เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ได้เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การรับการประเมินมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ยกระดับคุณภาพให้แก่ผลผลิตเพื่อสร้างความยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความยั่งยืนให้แก่สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนทางด้านสังคม เพื่อให้ห่วงโซ่อุปทานในระดับต้นน้ำมีความเข้มแข็งและยั่งยืน 4. เพื่อทำกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายเกษตรกรผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ในเครือข่ายเกษตรกร (Creative Knowledge Management) รายงานโดย ผศ.ดร.กษิดิศ ใจผาวัง วันที่รายงาน 29/09/2567 [17875] |
229200 | 150 |