2567 การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง 0
ผล
ผล
ผล
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
4 [18027] |
กิจกรรมที่ 3 การปรับปรุงกระบวนการทำแห้งเพื่อความสม่ำเสมอของคุณภาพเชียงดาอบแห้ง กิจกรรมนี้เน้นปรับปรุงกระบวนการทำแห้งเพื่อความสม่ำเสมอของคุณภาพเชียงดาอบแห้งโดยได้มีการติดตั้งวัสดุพลางแสงแบบกึ่งอัตโนมัติพับเก็บได้เพื่อลดปัญหาในช่วงที่แสงแดดจัดเกินไป อีกทั้งยังติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิอากาศ เครื่องวัดความชื้นแบบบันทึกข้อมูลได้ และเครื่องวัดความเข้มแสงเพื่อหาระยะเวลาในการตากที่เหมาะสมที่ทำให้ได้เชียงดาแห้งที่สีสวยและสม่ำเสมอ งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ 1. ค่าจ้างออกแบบอุปกรณ์สำหรับตากแห้ง 25,000 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น ตะแกรง ชุดอุปกรณ์วัดความเข้มแสงแสง อุณหภูมิ และความชื้น 3. ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการประเมิน ความสม่ำเสมอในการอบแห้ง ผลการดำเนินกิจกรรมโรงอบสมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูผึ้งหลวงถูกปรับปรุงให้มีระบบพลางแสงกึ่งอัตโนมัติช่วยทุ่นแรง รวมถึงมีระบบติดตามค่าอุณหภูมิ ค่าความชื้น และค่าความเข้มแสงของโรงอบเพื่อประเมินระยะเวลาการตากเชียงดาในแต่ละฤดูกาลให้ได้เชียงดาที่มีสีและกลิ่นส่ำเสมอ
รายงานโดย ผศ.ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [18027] |
57500 | 0 | ||||||||||||||||||||
4 [17955] |
โครงการ การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง กิจกรรมที่ 2 ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานคุณภาพสมุนไพรแห้ง (วันที่ 12 มิถุนายน 2567) ไตรมาส 3 กิจกรรมนี้ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสาธารณสุขจังหวัด คือ เภสัชกรสุวัฒน์ชัย สีใจสุ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานคุณภาพสมุนไพรแห้ง เวลา 09.00 – 12.00 บรรยายเรื่อง มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร เวลา 13.00 – 1ุ6.00 บรรยายเรื่อง การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร ลงพื้นสำรวจโรงอบสมุนไพร และอาคารแปรรูป (อาคารกราวเครือแดง) เพื่อรองรับมาตรฐาน GMP โรงงานสมุนไพร ผลการดำเนินกิจกรรม สมาชิกผู้แปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูผึ้งหลวงจำนวน 20 ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านมาตรฐานคุณภาพสมุนไพรแห้งประกอบด้วย การจัดการโรงผลิตและแปรรูป การเตรียมพร้อมในการยื่นขอมาตรฐาน และขั้นตอนการยื่นขอมาตรฐาน มผช. และ อย. เป็นต้น รายงานโดย ผศ.ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17955] |
30441 | 20 | ||||||||||||||||||||
4 [17529] |
โครงการ การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง กิจกรรมที่ 1ถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการคัดเลือกสายพันธุ์และพัฒนากระบวนการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเชียงดาเพื่อให้ได้สารสำคัญที่ต้องการ กิจกรรมย่อยที่ 2 การคัดเลือกสายพันธุ์และการเพาะปลูกเชียงดาให้ได้คุณภาพ วันที่ 27 กรกฎาคม 2567 (ไตรมาส 3) ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์ และคุณเปรมศักดิ์ สุริวงศ์ใย จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮักน้ำจาง บ้านนากว้าว ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง โดยคณะทำงานได้พาเกษตรกรผู้ปลูกเดินทางไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮักน้ำจาง บ้านนากว้าว ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
กำหนดการ อบรมเชิงปฏิบัติการการเพาะปลูกเชียงดาให้ได้คุณภาพ วันที่ 27 กรกฎาคม 2567 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮักน้ำจาง บ้านนากว้าว ต.บ้านกิ่ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
หมายเหตุ: รับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30-10.45 น. และ เวลา 14.30-14.45น. ผลการดำเนินกิจกรรม เกษตรกรผู้ปลูกจำนวน 10 คน ได้รับความรู้เรื่องการขยายพันธุ์ให้ได้สารสำคัญสม่ำเสมอ กระบวนการปลูก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการเป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเครือข่ายการซื้อขายเชียงดาเกิดขึ้น
รายงานโดย ผศ.ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์ วันที่รายงาน 22/09/2567 [17529] |
23384 | 10 | ||||||||||||||||||||
4 [17526] |
แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน Building Community Enterprise: BCE ชื่อโครงการ : การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง กิจกรรม ชี้แจงโครงการและวางแผนงาน ครั้งที่ 1 วัน/เดือน/ปี 31 มีนาคม 2567 (ไตรมาส 2) รายละเอียดการดำเนินงาน 1. ชี้แจงการดำเนินงานตามแผนงานโครงการเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวงให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้แก่ผู้ประกอบการและแกนนำในพื้นที่ 2. หารือรายละเอียดกิจกรรมที่ 1 ถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการคัดเลือกสายพันธุ์และพัฒนากระบวนการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเชียงดาเพื่อให้ได้สารสำคัญที่ต้องการ เนื่องจากกลุ่มมีการเพาะปลูกและเรียนรู้วิชาการด้านการเกษตรตามหลักการพื้นฐานวนเรื่องการทำสารชีวภัณฑ์และแนวปฏิบัติตามหลักการเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) และได้รับการรับรองอย่างต่อเนื่องในทุกปี 3. สอบถามข้อมูลเบื้องต้นความรู้เรื่องสายพันธุ์และการดูแลรักษาของสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกเชียงดา ผลการดำเนินกิจกรรม 1. ผู้ประกอบการรับทราบแผนงานโครงการเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง 2. ข้อมูลเบื้องต้นความรู้เรื่องสายพันธุ์และการดูแลรักษาของสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกเชียงดา 1) จำนวนการเพาะปลูกเชียงดาในพื้นที่ครอบครัวละประมาณ 30 – 90 ต้น ลักษณะการปลูกมีระยะห่างต่อต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ขึ้นเป็นราวเพื่อให้ต้นเชียงดาสามารถเลื้อยพันได้ อายุของต้นเชียงดาจะทำการตัดแต่งเพื่อให้ต้นไม่โทรมประมาณปีละ 1 ครั้งเพื่อให้ออกใหม่และยอดมีความอวบ และจะทำการปลูกใหม่ทุก 3 ปีโดยประมาณการใช้เมล็ด 2) ปัจจุบันสายพันธุ์เชียงดาที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ 2.1) สายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะลำต้นและใบเป็นไม้เลื้อยยอดยาว ใบเล็ก บาง ชุมชนจะเรียกว่า เชียงดาขายยอด ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกมานานในชุมชนและทำการขยายไปยังสมาชิกที่ส่งให้ผู้ประกอบการมากที่สุด โดยทำการตัดส่งนับ 3 ใบและตัดยอด 2.2) สายพันธุ์เชียงใหม่ เนื่องจากรับมาจากศูนย์เพาะพันธุ์และขยายพันธุ์พืชเชียงใหม่ (ยังไม่ทราบชื่อสายพันธุ์ที่เป็นไปตามหลักวิชาการ) มีการรับพันธุ์และขยายไปยังสมาชิกในพื้นที่ เช่น อ.พาน อ.เวียงชัย และบางพื้นที่ใน ต.เวียง อ.เทิง ลักษณะของลำต้นจะใหญ่และยอดพุ่งออกจากลำต้นตรง ใบหนาและกว้าง มีสีเขียวเข้ม 3) การเพาะปลูกและปริมาณการเก็บเกี่ยว 3.1) การเพาะปลูก 2-3 ราว ราวละ 15-20 ต้น ในช่วงที่น้ำดี 15-20 วันเก็บเกี่ยวใบได้ 1 ครั้ง น้ำหนักที่ได้ 18-20 กิโลกรัม ในช่วงน้ำแล้ง 21-30 วันเก็บเกี่ยวได้ 1 ครั้ง 3.2) การดูแลรักษา : หากปลูกในปริมาณไม่มาก มักไม่มีปัญหาเรื่องโรคพืช สามารถบำรุงได้โดยการใช้ปุ๋ยหมัก พี่อ้อให้ปุ๋ยทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว (15 วันครั้ง) 4) โรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ และกระบวนการอบ 4.1) โรงอบทรงโดมโค้ง มีพลังงานจากโซลาร์เซลล์ และไฟฟ้า โรงอบรองรับการอบเชียงดาได้สูงสุด 270 กิโลกรัม 4.2) โรงอบมีมิเตอร์แสดงอุณหภูมิโดยมีเซนเซอร์ 2 ตัว (หน้าจอแสดงผลเสียไป 1 จอ) 4.3 การอบในช่วงหน้าร้อน ต่อลอตใช้ระยะเวลา ประมาณ 3 วัน ต้องมีการกลับใบทุกๆ 2 ชั่วโมง หากไม่กลับใบจะทำให้ใบด้านบนไหม้และเสียคุณภาพ และใบด้านในมีลักษณะเหมือนโดนนึ่ง 4.4) การรู้ว่าใบแห้งพร้อมเก็บเพื่อการส่งขายแล้ว ใช้การจับใบว่ากรอบดีแล้ว ในการเก็บใบแห้ง ต้องเข้าเก็บในช่วงเวลาที่ยังมีความร้อน (4-5 โมงเย็น) เพื่อให้ใบยังสามารถคงความกรอบไว้ได้ 4.5) ด้วยความร้อนของโรงอบ เวลาพลิกใบจึงเกิดการตกเสียหายลงที่พื้นโรง เสีย 2-3 กิโลกรัม/ลอต แต่จำเป็นต้องทิ้ง เพราะในกระบวนการกลับใบต้องรีบกลับ เพราะอุณหภูมิในโรงสูงมาก สรุปประเด็นปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหา
รายงานโดย ผศ.ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์ วันที่รายงาน 22/09/2567 [17526] |
1316 | 0 | ||||||||||||||||||||
4 [17528] |
โครงการ การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง กิจกรรมที่ 1 ถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการคัดเลือกสายพันธุ์และพัฒนากระบวนการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเชียงดาเพื่อให้ได้สารสำคัญที่ต้องการ ในการจัดกิจกรรมคณะทำงานร่วมปรึกษากับกลุ่มผู้ปลูกของวิสาหกิจชุมชนภูผึ้งหลวงได้ข้อสรุป 2 กิจกรรมย่อย คือ 1) การผลิตปุ๋ยคุณภาพสูงเพื่อการบำรุงเชียงดาให้ได้คุณภาพ โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คือ นายบุญทับ กันทะเตียน ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานเกษตร รายละเอียดในการบรรยาย คือ 1) ดินและองค์ประกอบของดิน การตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินแต่ประเภทไหนที่เหมาะกับการเพาะปลูกเชียงดา ดิน คือ วัตถุตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ ต่างๆ ผสมคลุกเคล้ารวมกับอินทรียวัตถุหรืออินทรียสารที่ได้มาจากการสลายตัวของเศษซากพืชและสัตว์จนเป็นเนื้อเดียวกัน มีลักษณะร่วนไม่เกาะกันแข็งเป็นหิน เกิดขึ้นปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวในการเจริญเติบโตของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน หมายถึง ปริมาณธาตุอาหารในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ถ้ามีเพียงพอ เรียกว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่ถ้าขาดแคลน เรียกว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยการใช้ปุ๋ย เช่น 1. ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 2. ธาตุอาหารหลัก 3. ธาตุอาหารรอง 4. ธาตุอาหารเสริม โดยในการปลูกพืชแต่ละประเภทเกษตรกรควรทำการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนทำการปลูกพืชประเภทนั้น ๆ เพื่อเพิ่มสารอาหารที่ขาดหรือลดปริมาณสารอาหารที่มีมากเกินไปทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี วิธีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช หลักการการเก็บตัวอย่างดิน 1. การเก็บตัวอย่างดิน ควรเก็บก่อนการเพาะปลูกพืช เพื่อให้ได้ข้อมูลปริมาณธาตุอาหารพืชในดินที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด 2. ตัวอย่างดินแต่ละตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอ และขนาดของพื้นที่ไม่ควรเกิน 25 ไร่ (ตัวอย่างดิน 1 ตัวอย่างเป็นตัวแทนของพื้นที่ไม่เกิน 25 ไร่) แต่ถ้าพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ สังเกตได้จากการเจริญเติบโตของวัชพืชหรือพืชที่ปลูก พื้นที่มีความลาดเทต่างกัน ประวัติการใช้ที่ดินต่างกัน ปลูกพืชต่างกัน หรือเคยใส่ปุ๋ยต่างกันต้องแบ่งพื้นที่นั้น ๆออกเป็นแปลงย่อย ๆ แล้วเก็บตัวอย่างดิน เพื่อให้ได้ตัวแทนของแต่ละแปลงย่อย กล่าวคือ ตัวอย่างดิน 1 ตัวอย่างใช้เป็นตัวแทนของแต่ละแปลงย่อย 2) ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อย หรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช ปุ๋ยเคมี คือ สารประกอบอนินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารพืช เป็นสารประกอบที่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมี เมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นที่เหมาะสม ปุ๋ยเคมีจะละลายให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ปุ๋ยอินทรีย์ มีปริมาณธาตุอาหารอยู่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน เมื่อใส่ลงไปในดินพืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน แล้วปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นออกมาในรูปสารประกอบอินทรีย์ เช่นเดียวกันกับปุ๋ยเคมี จากนั้นพืชจึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ ปุ๋ยอินทรีย์มี 3 ประเภทคือ 1) ปุ๋ยหมัก 2) ปุ๋ยคอก และ 3) ปุ๋ยพืชสดจะปลดปล่อย หรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช ผลการดำเนินกิจกรรม เกษตรกรผู้ปลูก จำนวน 20 คน ได้รับความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยกับดินแต่ละประเภท และได้ลงมือทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการเพาะปลูกเชียงดา รายงานโดย ผศ.ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์ วันที่รายงาน 22/09/2567 [17528] |
23069 | 20 |