2567 นวัตกรรมจาก BCG สู่ผลิตภัณฑ์ Croco Crispy ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 0
ผล 1) จำนวนคนที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 20 คน ถึงแม้ว่าลดลงจากปีที่ผ่าน เนื่องจากสมาชิกบ้างคนมีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยออกไปใช้แรงงานต่างถิ่น แต่กลุ่มมีความเข้มแข็งและมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนทางการท่องเที่ยวทั้งสิ้นค้าและบริการ จากกระบวนการรูปแบบวิธีการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมกระบวนการ Innovation Process ในปี พ.ศ. 2566 ดังนี้ 2) การพัฒนาพื้นที่ศักยภาพชุมชนและผู้ประกอบการดี พอดี ฟาร์ม ด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การผลิตและการแปรรูปอาหาร และเทคโนโลยีด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ผลที่ได้จากเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารจำนวน 2 รูปแบบ คือ การปรับปรุงและพัฒนาสูตรข้าวเกรียบและข้าวตัง 3) จดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่ามะเฟือง 4) นวัตกรรมตัวสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวจำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ 4.1) เส้นทางท่องเที่ยวจำนวน 3 รูปแบบ คือ แบบเส้นทางวันเดียว (ไม่ค้างคืน) แบบเส้นทางวันเดียว (ค้างคืน) และแบบเส้นทาง 2 วัน 1 คืน 4.2) กิจกรรมจำนวน 2 รูปแบบ Croco Rasin เสริมสิริมงคล และกิจกรรมข้าวตอกตัด เป็นรูปแบบกิจกรรมใหม่ ที่เกิดขึ้นหลังการถ่ายทอดความรู้ เรื่องเล่านักสื่อความหมายการท่องเที่ยวชุมชน 5) ออกแบบตัวฉลากสินค้าและฉลากคุณค่าโภชนาการให้กับกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่ามะเฟือง จำนวน 2 ฉลากหน้า-หลัง ข้าวเกรียบและข้าวตังเสริมโปรตีน 6) พัฒนาตัวกิจกรรมและชุดเซต ผลิตภัณฑ์ที่ระลึกทางการท่องเที่ยว
ผล พัฒนาตัวกิจกรรมและชุดเซต ผลิตภัณฑ์ที่ระลึกทางการท่องเที่ยว ผลลัพธ์ตามข้อเสนอโครงการ 1) ผู้เข้าร่วมอบรมจาก 29 คนระหว่างอบรมจำนวน 20 คนจนหลังเสร็จสิ้นโครงการ 2) จากการนำรูปแบบวิธีการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมกระบวนการ Innovation Process จากปีที่ 1 เกิดการรวมกลุ่มที่มีความสามัคคีภายในกลุ่มและจดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลท่ามะเฟือง โดยมีคุณณฐกร ดีอินสวน ผู้ประกอบการ ดี พอดี ฟาร์ม เป็นประธาน โดยการขับเคลื่อนออกบูธร่วมกับสมาชิกกลุ่ม เพื่อสร้างอาชีพก่อให้เกิดรายได้จากการร่วมกลุ่มกัน 3) ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการและจัดทำสูตรข้าวเกรียบเสริมเนื้อจระเข้ที่จัดทำด้วยเทคโนโลยี AI 4) ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการและจัดทำสูตรข้าวตังไรซ์เบอร์รี่เสริมเนื้อจระเข้ ที่จัดทำด้วยเทคโนโลยี AI 5) คณะดำเนินงาน และกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ 6) รูปแบบตราสินค้า ฉลากข้าวเกรียบและข้าวตัง หน้า หลัง จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ 7) ผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ข้าวเกรียบเสริมเนื้อจระเข้เพิ่มรสต้มยำกุ้ง และ 2) ข้าวตังไรซ์เบอร์รี่เสริมเนื้อจระเข้ ผ่านการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการและอายุการเก็บรักษา 8) เกิดรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยว แบบเส้นทางวันเดียว (ไม่ค้างคืน) แบบเส้นทางวันเดียว(ค้างคืน) และแบบเส้นทาง 2 วัน 1 คืน 9) ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ และ 1 ชุดเซตผลิตภัณฑ์ที่ระลึก
ผล 1. เศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ 1.1) เกิดการสร้างกลุ่มพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน ประสบความสำเร็จเกิดการสร้างอาชีพและก่อให้เกิดรายได้ กระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจในกลุ่มได้จริงแต่ยังไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายในปีที่ 2 สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เท่ากับ 0.001 เท่าของงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน 2. สังคม 2.1) ช่วยเพิ่มองค์ความรู้ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการและคนในชุมชนท่ามะเฟือง 2.2) สร้างความเข้มแข็งใหเกลุ่มผู้ประกอบการและคนในชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำในชุมชนท่ามะเฟือง 2.3) เกิดการจ้างงานคนในพื้นที่ จำนวน 5 คน จากการร่วมกลุ่มและผลิตข้าวเกรียบรสต้มยำให้ผลชัดเจนมีการแบ่งสัดส่วนรายได้และกฎในการดำเนินงานของกลุ่ม 2.4) เกิดการรวมกลุ่มสมาชิกจำนวน 25 คนไม่ตามการคาดการณ์เนื่องจากสมาชิกโครงการบางคนมีปัญหาสุขภาพและหลังสถาณการณ์โควิดคลี่คลายบางคนกลับไปทำงานในเมืองใหญ่อีกครั้ง 3. สิ่งแวดล้อม 3.1) การรักษาความสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพจากการรวบรวมองค์ความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ Croco Crispy ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการ ตอบโจทย์การลดปริมาณของเหลือทิ้งในส่วนโครงกระดูกและฟันจระเข้ เป็นกิจกรรม DIY ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้มาเยือนและในการออกบูธแสดงสินค้าในวันสถาปนามหาวิทยาลัย
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17353] |
สรุปการลงพื้นที่ดำเนินการ : ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มเป้าหมาย : ชาวบ้านตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ค่าใช้จ่ายรายไตรมาส 4 : 90,000บาท รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 10/09/2567 [17353] |
90000 | 17 |
4 [17352] |
วันที่ 9 สิงหาคม 2567 ผู้รับผิดชอบโครงการนำโดย อาจารย์โอปอล์ รังสิมันตุชาติและนายรัชพล เทพศิริ ลงพื้นที่พบตัวแทนกลุ่มในการพาไปจดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชม และรวบรวมสำเนาเอกสารบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านของสมาชิกกลุ่มจำนวน 9 คน รวมถึงแบบคำขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (แบบ สวช.01) สำหรับยื่นกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จากการตรวจสอบชื่อกลุ่มที่ใช้สำหรับจดจัดตั้งนั้นได้ใช้ชื่อว่า “วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่ามะเฟือง” ทั้งนี้เอกสารสำคัญแสดงการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนใช้ระยะเวลาในการรับรอง ภายใน 10 – 14 วันทำการ
รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 10/09/2567 [17352] |
0 | 9 |
4 [17350] |
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 10/09/2567 [17350] |
0 | 3 |
4 [17349] |
วันที่ 19 – 20 กรกฏาคม 2567 รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 10/09/2567 [17349] |
0 | 13 |
4 [17348] |
วันที่ 14 กรกฎาคม 2567
รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 10/09/2567 [17348] |
0 | 17 |
4 [17346] |
วันที่ 13 กรกฎาคม 2567 รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 10/09/2567 [17346] |
0 | 17 |
3 [16908] |
พื้นที่ดำเนินการ :ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มเป้าหมาย :ชาวบ้านตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ค่าใช้จ่ายรายไตรมาส 3 : 110,000บาท
วันที่ 26 – 27 มิถุนายน 2567 ผู้รับผิดชอบโครงการนำโดย อาจารย์โอปอล์ รังสิมันตุชาติและทีมงาน ลงพื้นที่สำหรับอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการแปรรูปข้าวเกรียบและข้าวตังจากวัตถุดิบหลัก” โดยวิทยากรอาจารย์ ดร.วิภา ประพินอักษร และคณะ ในส่วนของการอบรมครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากปี 2566 ที่มีส่วนผสมข้าวและเนื้อจระเข้วัตถุดิบในพื้นที่ โดยปีนี้ทางวิทยากรมีการปรับสูตรและกระบวนการที่สามารถทำได้เร็วและลดระยะเวลาลงให้กับทางกลุ่ม ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบโครงการได้เชิญวิทยากรบรรยายและสาธิต โดยคุณอานนท์ บุญพุก และคณะทำงาน “อบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบกิจกรรมและบริการชุดผลิตภัณฑ์พวงกุญแจเรซิ่นมีชิ้นส่วนกระดูกและฟันจระเข้ตกแต่งสร้างมูลค่าเพิ่ม” สำหรับเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 03/07/2567 [16908] |
110000 | 20 |
3 [16907] |
31 พฤษภาคม 2567 ผู้รับผิดชอบโครงการนำโดย อาจารย์โอปอล์ รังสิมันตุชาติและทีมงาน ลงพื้นที่พบกลุ่มตัวแทนเพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงงานในปีที่ 2 ได้แก่ 1. การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สำหรับผลักดันให้ทางกลุ่มขับเคลื่อนการทำงานของคนในพื้นที่เพื่อให้เกิดรายได้ 2. การอบรมพัฒนาข้าวเกรียบ ข้าวตังให้เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยมีการปรับกระบวนการและเพิ่มรสชาติให้หลากหลายมากขึ้น 3. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทำของที่ระลึกจากชิ้นส่วนจระเข้” เพื่อเป็นสินค้าของฝากของทางชุมชน 4. การนำตัวแทนกลุ่มศึกษาดูงานรูปแบบการท่องเที่ยวชุมชน สำหรับนำมาปรับใช้ของทางกลุ่มต่อไป ทั้งนี้อาจารย์ ดร.วิภา ประพินอักษร ได้นำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ได้แก่ ข้าวตังรสดั้งเดิมและข้าวเกรียบที่มีส่วนผสมรสชาติต่างๆมาให้ทางกลุ่มได้ทดลองชิมที่มีส่วนผสมข้าวและเนื้อจระเข้ให้ทางกลุ่มมีส่วนร่วมลงคะแนนเสียง สำหรับนำมาถ่ายทอดกระบวนการผลิตให้ทางกลุ่ม และนำผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบและข้าวตังส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อทำการทดสอบสำหรับเป็นข้อมูลคุณค่าโภชนาการและดูอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ให้ทางกลุ่มต่อไป รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 03/07/2567 [16907] |
0 | 20 |
3 [16906] |
วันที่ 9 เมษายน 2567 ผู้รับผิดชอบโครงการนำโดย อาจารย์โอปอล์ รังสิมันตุชาติและทีมงาน ได้ทำการประชุมวางแผนงานและมอบหมายการทำงานของแต่ละท่านในการรับผิดชอบ ส่วนการลงพื้นที่ทีมงานจะลงพื้นที่พบกลุ่มชาวบ้านเพื่อชี้แจงแผนการดำเนินงานในปี 2567 ได้แก่ การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กิจกรรมเรซิ่นจากกระดูกจระเข้เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าที่ระลึก การอบรมนักสื่อความหมายชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวรวมทั้งสามารถออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงได้ การอบรมเพื่อพัฒนาการทำข้าวเกรียบ ข้าวตังเพื่อจัดจำหน่าย และการนำตัวแทนของกลุ่มไปศึกษาดูงานแหล่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนฯ รายงานโดย นางสาวบุญวรานันท์ สุขเกิด วันที่รายงาน 03/07/2567 [16906] |
0 | 5 |