2567 การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตขนมนางเล็ด 0
ผล ผู้รับบริการได้ความรู้และมีทักษะเพิ่มขึ้นในด้านการผลิตขนมนางเล็ดน้ำแตงโม น้ำสมุนไพร, ได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีการทำแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับเตาชีวมวล และได้องค์คามรู้ด้านการผลิตขนมนางเล็ดพันหน้าในเบื้องต้น ซึ่งโครงการได้ประเมินผลตัวชี้วัดได้ดังนี้ 1. จำนวนผู้รับบริการ จำนวน 40 คน 2. องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ถ่ายทอด 4 เรื่อง 3. จำนวนวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ 7 คน 4. สัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2 เท่า 5. บทความวิชาการหรือสิ่งประดิษฐ์ 1 นวัตกรรม
ผล ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีการทำแห้งขนมนางเล็ดที่หลากหลายไปประยุกต์ใช้ได้ ส่งผลให้กำลังการผลิตต่อรอบเพิ่มขึ้นจากปกติได้ วันละ 2,000 ก้อน พัฒนาเป็น 3,000 ก้อน ต่อวันต่อรอบการผลิต และสามารถผลิตขนมนางเล็ดที่มีความหลายกหลายเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าได้ เช่น นางเล็ดสมุนไพร นอกจากนั้นแล้วทีมผู้นำกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงด้าน วทน. ที่ได้รับการพัฒนา เพื่อนำไปประยุกต์ใช้พัฒนากลุ่มวิสาหกิจได้โดยมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน ตามเป้าหมาย องค์ความรู้และนวัตกรรมที่ถ่ายทอด 3 เรื่อง ได้แก่ องค์ความรู้การผลิตขนมนางเล็ดแบบครบวงจร ได้แก่ การเตรียมวัตถุดิบ, การแช่ข้าว, การนึ่งข้าว การผสม การปั้น การทำแห้ง การทอด การโรยหน้า บรรจุภัณฑ์ และการจัดจำหน่าย เบื้องต้น, องค์ความรู้และเทคโนโลยีการทำแห้งขนมนางเล็ดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวล, องค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ดที่หลากหลายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า โดยสมาชิกสามารถทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตขนมนางเล็ดได้ 7 คน มีสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และ นำเสนอนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ในงานราชมงคลสุรินทร์วิชาการ
ผล ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ 1. รายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 (เพิ่มกำลังการผลิตจากการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล) 2. มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ ไม่น้อยกว่า 1 เท่า (B/C ratio >1) 3. เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่จากการประยุกต์ใช้โรงอบแห้ง ผลกระทบด้านสังคม 1. จำนวนสมาชิกและหน่วยงานเข้ามาเรียนรู้เพิ่มขึ้น 2. เกิดอาชีพใหม่จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน 3. เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและหน่วยงาน ด้านสิ่งแวดล้อม 1. เกิดความร่วมมือของคนในชุมชน บ้าน วัด และโรงเรียนในท้องที่ร่วมเรียนรู้และกระจายความรู้ เกิดนักวิจัยชุมชนและนักวิจัยในโรงเรียน
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17918] |
วันที่ 8 กันยายน 2567 ได้ทำโครงการย่อยเพื่อขออนุมัติไปราชการ เพื่อจัดกิจกรรมประชุมสรุปติดตามการดำเนินโครงการ ณ สำนักงานกลุ่มผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งนักเรียนในท้องที่และสมาชิกผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา มากกว่า 25 คน ใช้งบประมาณ หมวดค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 3,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1,750 บาท รวมเป็นเงิน จำนวน 4,750 บาท (สี่พันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) รายงานโดย นางสาวปิยนุช อนุชานุรักษ์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17918] |
4750 | 25 |
4 [17917] |
วันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2567 ได้ทำโครงการย่อยเพื่อขออนุมัติไปราชการจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมนางเล็ดสมุนไพรและบรรจุภัณฑ์ ณ สำนักงานกลุ่มผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งนักเรียนในท้องที่และสมาชิกผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา มากกว่า 40 คน ใช้งบประมาณ หมวดค่าตอบแทนได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 14,400 บาท หมวดค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 9,600 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 5,600 บาท, ค่ายานพาหนะเหมาจ่าย 5,000 บาท หมวดค่าวัสดุ 12,700 บาท รวมเป็นเงิน จำนวน 47,300 บาท (สี่หมื่นเจ็ดพันสามร้อยบาทถ้วน) รายงานโดย นางสาวปิยนุช อนุชานุรักษ์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17917] |
47300 | 40 |
4 [17916] |
วันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2567 ได้ทำโครงการย่อยเพื่อขออนุมัติไปราชการจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการทำแห้งขนมนางเล็ดด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และเชื้อเพลิงชีวมวล ณ สำนักงานกลุ่มผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งนักเรียนในท้องที่และสมาชิกผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา มากกว่า 40 คน ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 14,400 บาท หมวดค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 9,600 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 5,600 บาท, ค่ายานพาหนะเหมาจ่าย 5,000 บาท หมวดค่าวัสดุ 59,940 บาท รวมเป็นเงิน จำนวน 94,540 บาท (เก้าหมื่นสี่พันห้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน) รายงานโดย นางสาวปิยนุช อนุชานุรักษ์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17916] |
94540 | 40 |
4 [17915] |
วันที่ 16 – 17 เมษายน 2567 ได้ทำโครงการย่อยเพื่อขออนุมัติไปราชการจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านการผลิตขนมนางเล็ดแบบครบวงจรของชุมชน ได้แก่ การเตรียมวัตถุดิบ, การแช่ข้าว, การนึ่งข้าว การผสม การปั้น การทำแห้ง การทอด การโรยหน้า และการบรรจุภัณฑ์ ณ สำนักงานกลุ่มผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายประกิต ปุ่มแม่น อดีตกำนัน ตำบลเทพรักษา เป็นประธานเปิดโครงการ มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งนักเรียนในท้องที่และสมาชิกผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา มากกว่า 40 คน ใช้งบประมาณหมวดค่าตอบแทนได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 14,400 บาท หมวดค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 9,600 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 5,600 บาท, ค่ายานพาหนะเหมาจ่าย 5,000 บาท หมวดค่าวัสดุ 20,860 บาท รวมเป็นเงิน จำนวน 55,460 บาท (ห้าหมื่นห้าพันสี่ร้อยหกสิบบาทถ้วน) รายงานโดย นางสาวปิยนุช อนุชานุรักษ์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17915] |
55460 | 40 |
4 [17913] |
รายงานการดำเนินโครงการคลินิกเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 - เริ่มออกพบสมาชิกกลุ่มฯ ตามแผนการดำเนินงานโดยใช้เงินงบประมาณของโครงการฯ - วันที่ 6 เมษายน 2567 เข้าพบสมาชิกเพื่อประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการและร่วมปรึกษาหารือระดมสมองวางแผนการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ณ สำนักงานกลุ่มผู้ผลิตขนมนางเล็ดตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีสมาชิก, คณะครูนักเรียน และผู้นำชุมชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุมหารือมากกว่า 25 คน ใช้งบประมาณหมวดค่าใช้สอย ได้แก่ค่าอาหารกลางวัน 3,000 บาท และค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1,750 บาท รวมทั้งสิ้น 4,750 บาท (สี่พันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) รายงานโดย นางสาวปิยนุช อนุชานุรักษ์ วันที่รายงาน 30/09/2567 [17913] |
4750 | 25 |