2567 Eco print Ecotourism ชุมชนป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17889]

29  กันยายน 2567

    1. ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ โดยการให้ตรวจสอบยืนยันหมุดที่ปักในแผนที่ว่าครบถ้วนหรือไม่

    2. การหารือการดำเนินงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์

    3.  การจัดทำโครงการในปีที่ 3 และการทดสอบเส้นทางท่องเที่ยว



รายงานโดย ดร. น้ำฝน รักประยูร วันที่รายงาน 29/09/2567 [17889]
6020 15
4 [17600]

 

7 กันยายน  2567 

1. ติดตามประเมินผลการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจป่าแลวคราฟท์  พบว่า มีการดำเนินงานผ่านแล้วเมื่อวันที่ 2 กันยายน  2567 

2. กลุ่มสามารถเป็นวิทยากรให้กับโรงเรียนบ้านศรีนาม่าน ในการทำผ้า Ecoprint ให้กับนักเรียนในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยวิทยากรจากกลุ่มมีจำนวน 2 คน ได้แก่ นายณัฐสิทธิ์  วุฒิ  และนายณัชพล  พรมคำ

3. ประชุมวางแผนงานเพื่อดำเนินงาน เช่น จัดเตรียมผ้าเพื่อขอรับการตรวจมาตรฐาน มผช. หลังจากอบรมการขอมาตรฐานในวันที่ 14-16 กย. 2567

4. เนื่องจากมีฝนตกชุก อาจส่งผลกระทบต่อการทำผ้า Ecoprint  การวางแผนของกลุ่มจึงนำผ้าที่เคยทำในครั้งก่อนนำไปแปรรูป เป็นเสื้อสูท โดยจะส่งให้ช่างที่ชำนาญตัด ส่วนกลุ่มน่าจะเป็นการตัดเย็บแบบง่าย ๆ หรือการด้น การเย็บต่อเติม เนื่องจากถึงแม้จะอบรมการตัดเย็บ แต่ความชำนาญในการตัดเย็บยังไม่ดีพอ



รายงานโดย ดร. น้ำฝน รักประยูร วันที่รายงาน 24/09/2567 [17600]
5000 12
4 [17595]

กิจกรรม อบรมความรู้เรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมและโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ในวันที่ 14-16 กันยายน 2567 ณ บ้านนาสวนสามขา ต.ป่าแลวหลวง อ.สันติสุข จ.น่าน

14 กันยายน 2567  วิทยากรอบรมความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผ้าพิมพ์ลายจากพืช  ใบคำขอ  แบบตรวจเอกสาร แบบขอรับการประเมิน 

15  กันยายน 2567 วิทยากรอบรมความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายจากพืช  ใบคำขอ  แบบตรวจเอกสาร แบบขอรับการประเมิน  การตรวจประเมินศักยภาพสถานที่ทำผลิตภัณฑ์

16  กันยายน 2567  การเตรียมความพร้อมและวิธีการทำผ้าพิมพ์ลายจากพืชเพื่อให้ได้รับรองมาตรฐาน 



รายงานโดย ดร. น้ำฝน รักประยูร วันที่รายงาน 24/09/2567 [17595]
54300 15
4 [17209]

11 สิงหาคม 2567  การประชุมติดตามการทำงานกลุ่ม และการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนป่าแลวคราฟท์ เพื่อนำไปยื่นขอขึ้นทะเบียน OTOP  เพื่อจะดำเนินการยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. ในปีงบประมาณ 2568

นอกจากนี้กลุ่มยังได้จัดทำผ้าคลุมไหล่  ผ้าชิ้นขนาดกว้าง 45 นิ้ว ยาว 2 เมตร ไว้เพื่อนำมาแปรรูป  และจัดจำหน่ายต่อไป

อีกทั้งการจัดทำสีธรรมชาติได้แก่ สีจากกากกาแฟที่นำมาใช้ในการห่มสี



รายงานโดย ดร. น้ำฝน รักประยูร วันที่รายงาน 14/08/2567 [17209]
3000 8
4 [17208]

การวางแผนการตลาดผลิตภัณฑ์และเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานคิดธุรกิจเพื่อสังคม ในวันที่ 7-9 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุม อบต.ป่าแลวหลวง อ.สันติสุข จ.น่าน

1. ผอ.ททท. สำนักงานน่าน และประธานเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดสำหรับการท่องเที่ยว  สถิติการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน  ตัวอย่างการทำเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน

2. กิจกรรมการอภิปรายกลุ่มย่อย เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวใน ต.ป่าแลวหลวง และพื้นที่ใกล้เคียง คือ ต.อวน

3. การจัดทำโปรแกรมสำหรับการท่องเที่ยว  Ecoprint  Ecotourism แบบแพ็คเก็จครึ่งวัน   1  วันและ 2 วัน 1 คืน  รวมถึงการเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน จุดแวะพัก ร้านอาหาร



รายงานโดย ดร. น้ำฝน รักประยูร วันที่รายงาน 14/08/2567 [17208]
60900 35
4 [17207]

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตัดเย็บและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้า Eco print เช่น ผ้าม่าน ปลอกหมอน กระเป๋า เสื้อผ้า  ณ บ้านนาสวนสามขา ต.ป่าแลวหลวง อ.สันติสุข จ.น่าน ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2567

1. การออกแบบลวดลายใบไม้ในผืนผ้า เพื่อนำมาออกแบบตัดเย็บ

2. การจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ กระเป๋า  ปลอกหมอน  เสื้อผ้า



รายงานโดย ดร. น้ำฝน รักประยูร วันที่รายงาน 14/08/2567 [17207]
85780 15
3 [16801]

ลงพื้นที่หารือแนวทางในการออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้า  การแปรรูป ในวันที่ 10 มิถุนายน 2567 ณ บ้านนาสวนสามขา ต.ป่าแลวหลวง อ.สันติสุข จ.น่าน

ทางโครงการได้แจ้งการดำเนินงาน ดังนี้

1. การติดต่ออุตสาหกรรมจังหวัดน่าน พบว่า ปีงบประมาณ 2567 มีจำนวนผู้ยื่นขอมาตรฐานเต็มแล้ว แต่อาจมีการขยายเพิ่มเติม  อย่างไรก็ตามกิจกรรมของโครงการจะมีการจัดอบรมเรื่องมาตรฐานจากผ้าพิมพ์ลายจากพืชให้กับทางกลุ่มโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากอุตสาหกรรมจังหวัดน่านมาให้ความรู้ในเดือนกรกฎาคม กำหนดการจะแจ้งอีกที

2. การจัดทำผ้าพิมพ์ลายใบไม้โดยปีนี้จะแน้นในเรื่องของสีธรรมชาติ ในชุมชน เช่น กากกาแฟ และดินภูเขา รวมถึงพืชหรือใบไม้อื่น ๆ ในชุมชน และแนวทางการวางลวดลายเพื่อให้เกิดความสวยงาม

3. การอบรมเส้นทางท่องเที่ยวและการแปรรูปสินค้าจะกำหนดจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากจได้เป็นการวางแผนต้อนรับนักท่องเที่ยวในฤดูหนาวได้ด้วย



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 17/06/2567 [16801]
5000 16
2 [16421]

ประชุมกลุ่มเพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการและกิจกรรมในปีที่ 2  ในวันที่ 30 มีนาคม 2567 โดยแจ้งให้ทราบกิจกรรมของโครงการ ดังนี้

1. กิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการตัดเย็บและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากผ้า Eco print

2. อบรมความรู้เรื่องการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมและโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม

3. การวางแผนการตลาดผลิตภัณฑ์และเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานคิดธุรกิจเพื่อสังคม

โดยมีข้อหารือเรื่องการสำรวจผู้ที่มีฝีมือตัดเย็บ การปัก การแปรรูปสินค้าเบื้องต้น พบว่ามีจำนวน คนตัดเย็บ 3 คน คนที่สามารถฝึกฝนด้านการแปรรรูปสินค้า 3 คน นอกจากนี้อาจหาแนวร่วมคนอื่น ๆ ในชุมชนเพิ่มขึ้น 

การขอมาตรฐานอาจต้องเร่งดำเนินการก่อนเพื่อให้ทันรอบของการยื่น มผช. ตามที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมได้กำหนดรอบการยื่นเอาไว้



รายงานโดย นายพิทญาธร  อิ่นแก้ว วันที่รายงาน 03/04/2567 [16421]
5000 20