2567 การพัฒนาผู้นำด้านการถ่ายทอดระบบผลิตก๊าซชีวภาพชุมชนผ่านดิจิทัลคอนเทนต์ 0
ผล 1. ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน วทน. (STI changemakers) ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้
ผล 1. ผู้นำความรู้สามารถนำทักษะที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ 2. สามารถลดต้นทุนในการใช้ชีวิตประจำวันในครัวเรือนได้
ผล ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ 1. รายจ่ายค่าก๊าซหุงต้มต่อครัวเรือนลดลงร้อยละ 50 2. มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในชุมชนเพิ่มขึ้น 1 เทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับขยะอินทรีย์ในชุมชน ผลกระทบด้านสังคม 1. เกิดเครือข่ายระหว่างชุมชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 1. ลดจำนวนขยะอินทรีย์ในชุมชน 20 กิโลกรัมต่อวันต่อครัวเรือน รวม 60 กิโลกรัมต่อวันต่อโครงการ หรือ 1,800 กิโลกรัมต่อเดือนต่อโครงการ 2. ปัญหาด้านมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมจากขยะอินทรีย์ลดลงจากการใช้ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ 3. มีการใช้พลังงานทางเลือกในชุมชนเพิ่มขึ้น 1 พลังงาน ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ 4. มีแนวทางการจัดการขยะอินทรีย์เพิ่มขึ้น 1 แนวทาง ได้แก่ การบำบัดขยะอินทรีย์ด้วยระบบผลิตก๊าซชีวภาพ
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17667] |
วันที่ 13-19 กรกฎาคม 2567 หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. รจพรรณ นิรัญศิลป์ พร้อมด้วยทีมงาน ได้จัดกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมออนไลน์ระบบก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ด้านการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยระบบผลิตก๊าซชีวภาพชุมชนผ่านการดูวิดีโอออนไลน์ วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รจพรรณ นิรัญศิลป์ พร้อมด้วยทีมงาน ได้จัดกิจกรรมที่ 3 ติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านก๊าซชีวภาพ โดยกล่าวต้อนรับ นางสวาท โกชุม นายกเทศมนตรีตำบลสันนาเม็ง และเปิดพิธี โดย ผศ.ดร. นิกราน หอมดวง คณบดีวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีรายการกิจกรรมบรรยายหัวข้อ เทคโนโลยีพลังงานทดแทนระบบผลิตก๊าซชีวภาพ, ระบบผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือนขนาด 1,000 ลิตร, ประสบการณ์และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยวิทยากรจากรุ่นที่ 1 สู่รุ่นที่ 2 และปฏิบัติการกลุ่ม จากนั้นวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 เป็นการติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ในการเรียนรู้โครงการและการเป็นต้นแบบ วันที่ 15 สิงหาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รจพรรณ นิรัญศิลป์ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาภรณ์ ชนะถาวรเป็นผู้รับผิดชอบโครงการและจัดกิจกรรมที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างทักษะ 5 ด้าน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมก้าวสู่การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง Training of The Trainer ทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่วิทยากร รวมถึงสามารถเขียนข้อเสนอโครงการ เพื่อช่วยให้เกิดการกระจายของการส่งเสริมให้ใช้พลังงานก๊าซชีวภาพในชุมชนต่อไปได้ ซึ่งจัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมเทศบาลสันนาเม็ง โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ 1. การอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อสร้าง ทักษะการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลง ทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21ภายใต้หัวข้อ การวางแผนประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ 2. การอบรมเชิงปฏิบัติ การวางแผนประกอบธุรกิจให้ประสอบความสำเร็จ และพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รจพรรณ นิรัญศิลป์ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาภรณ์ ชนะถาวรเป็นผู้รับผิดชอบโครงการและจัดกิจกรรมที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างทักษะ 5 ด้าน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมก้าวสู่การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง Training of The Trainer ทั้งสามารถปฏิบัติหน้าที่วิทยากร รวมถึงสามารถเขียนข้อเสนอโครงการ เพื่อช่วยให้เกิดการกระจายของการส่งเสริมให้ใช้พลังงานก๊าซชีวภาพในชุมชนต่อไปได้ ซึ่งจัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมเทศบาลสันนาเม็ง โดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ 2. จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติ จัดทำข้อเสนอโครงการอย่างไรให้โดนใจแหล่งทุนและหัวข้อน่าสนใจสำหรับการสร้างข้อเสนอโครงการด้านการพัฒนาการเกษตรในยุคใหม่ 1. การอบรมเชิงปฏิบัติ ทักษะการคิดเชิงออกแบบ ทักษะการเล่าเรื่อง ทักษะการเขียนข้อเสนอโครงการ ภายใต้หัวข้อ กลยุทธ์การขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การสร้างเนื้อหาเพื่อนำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พิธีมอบเกียรติบัตร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดดำเนินการโดย อ.นนท์ ปิ่นเงิน, อ.ดร.อุกฤษณ์ มารังค์, รองศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร บุญมาก และอ.พนมพร เฉลิมวรรณ์ รายงานโดย นางเรวดี ปุดอินทร์ วันที่รายงาน 26/09/2567 [17667] |
214500 | 25 |
3 [17079] |
วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1.พื้นที่ของสำนักงานเทศบาลตำบลสันนาเม็ง ซึ่งจะได้ดำเนินการเป็นต้นแบบอย่างเป็นรูปธรรม 2. พื้นที่โรงเรียนบ้านหลักปัน ซึ่งมีเรื่องเศษอาหารเป็นจำนวนมากและทางโรงเรียนมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 3. บ้านของผู้นำชุมชน (บ้านคุณแก้วภา)ซึ่งพบว่าทั้ง 3 สถานที่มีความพร้อมและความเหมาะสม ในการที่จะเป็นต้นแบบจุดติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพของโครงการ รายงานโดย นางเรวดี ปุดอินทร์ วันที่รายงาน 05/07/2567 [17079] |
0 | 10 |