2567 การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกระเหรี่ยงโปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17563]

กิจกรรมการผลิตเครื่องเขิน (อยู่ในระหว่างดำเนินการ)

อุปกรณ์และขั้นตอนการจักสาน

ขั้นตอนการจักสาน

1.วัสดุอุปกรณ์

   1.1 ไม่ไผ่ ชาวกระเหรี่ยงบ้านแม่ต๋อม ใช้ไม้ไผ่บงที่มีอายุ 2-3  ปี  โดยเลือกลำที่มีข้อยาวในการนำมาจักสาน เนื่องจากอายุของไม้ 2 ปีขึ้นไปเป็นช่วงที่เนื้อไม่มีความเหนียว แต่แข็งแรงและยากต่อการกัดกินของแมลง

   1.2 มีดตัดและมีดจักตอก

        มีดตัดต้องเป็นมีดขนาดใหญ่ คมและหนัก เพื่อใช้ตัดลำต้น ผ่า ฝานเนื้อไม้ให้ได้ขนาดตามต้องการ

        มีดจักตอกจะเป็นมีดขนาดเล็ก สั้นและมีด้ามยาวเพื่อให้ถนัดต่อการหนีบไกล้ตัว มีดจักตอกจะมีขนาดบางเพื่อให้จักตอกออกมาได้บาง เส้นเล็ก ง่ายต่อการจักสาน

  1.3 ต้นแบบไม้หรือโมลต้นแบบสร้างจากไม้กลึง กลึงเป็นรูปทรงต่างๆ

2. ขั้นตอนการจักสาน

   2.1 เส้นหลักหรือเส้นแกน ไม้ไผ่เส้นนี้จะเป็นไม้ไผ่ที่มีขนาดเส้นหนาและแข็งแรง เนื่องจากจะเป็นเส้นที่คอยพยุงรูปทรงของเครื่องจักสานให้คงรูปและแข็งแรง ส่วนใหญ่เส้นแกนจะมีจำนวนคู่และวางทับกันจำนวนตั้งแต่ 8 เส้นขึ้นไป ก่อนที่จะสานเส้นนอน ความยาวของเส้นแกนนับจากจุดศูนย์กลางจะเป็นตัวกำหนดความกว้างและความสูงของภาชนะหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ หากต้องการผลิตภัณฑ์หรือภาชนะที่มีขนาดใหญ่เส้นแกนต้องใหญ่ขึ้นและมีขนาดความยาวที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

2.2 เส้นรองหรือเส้นนอน เส้นนอนจะเป็นตอกเส้นที่มีขนาดเล็กและละเอียด ยิ่งเล็กทำไรจะทำให้เครื่องจักสานสวยงามและมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น การใช้เส้นนอนในการสานของบ้านแม่ต๋อมจะใช้เส้นนอนสานสลับและไขว้กันทั้งหมด 3 เส้น เพื่อยึดให้เส้นตอกไม่หลุดหรือดีดออกจากวงของภาชนะ จนถึงด้านบนของตัวภาชนะจะเป็นการสานด้วยลายขัด

 



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 24/09/2567 [17563]
50000 10
4 [17562]

กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจักสานและเครื่องเขิน

ชาวกระเหรี่ยงโปว์ยังมีความรู้ความชำนาญในการเจาะเก็บยางรักที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นภูมิปัญญาชนเผ่า ซึ่งในปัจจุบันนี้ภูมิปัญญานี้มีผู้สืบทอดรุ่นสุดท้ายเป็นวัยกลางคน อายุตั้งแต่ 45 ปี ชุมชนจากดอยสูงแห่งนี้รู้จักใช้ประโยชน์จากยางรักและไม้ไผ่ไว้จักสาน ผลิตเครื่องใช้และภาชนะต่างๆ ภายในครัวเรือน โดยการทาเคลือบภาชนะเพื่อไม่รั่วซึม ไว้ใส่น้ำหรือทาเคลือบไว้ให้แข็งแรงทนทานใช้งานได้นานขึ้น โดยชาวบ้านจะเจาะกรีดยางรักในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยยางรักสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายปี

วิธีการเจาะกรีด

รูปแบบการเจาะกรีดยางรักเป็นรูปตัวไอ (Ishape) เป็นการเจาะกรีดยางรักที่มีแบบแผนมาจากชาวกระเหรี่ยงโปว์ ซึ่งชาวกระเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการเจาะกรีดยางรักเพื่อนำมาใช้กับสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องจักสานและงานไม้ต่างๆ

การเจาะกรีดเป็นรูปตัวไอ (Ishape) ใช้วิธีกรีดแนวตั้งทางเดียวกับความสูงของลำต้นเป็นแผลลึกจนถึงเนื้อไม้ แผลยาวประมาณ 30 เซนติเมตร กว้างไม่เกิน 2 เซนติเมตร และติดกระบอกไม้ไผ่เพื่อรองรับน้ำยางรักที่ไหลลงมา เรียกกระบอกไม้ไผ่นี้ว่า ลี่

ช่วงฤดูกาลกรีดและจัดเก็บยางรักจะเริ่มต้นช่วงต้นฤดูฝนจนถึงปลายหนาว คือ ช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ช่วงที่ต้นรักจะให้น้ำยางดีที่สุดคือ ช่วงกลางฤดูฝน แต่ช่วงที่ให้น้ำยางที่มีคุณภาพดีที่สุดคือ ช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาวและช่วงหนาว เนื่องจากจะไม่มีน้ำเข้ามาปนในเนื้อน้ำรัก

        อุปกรณ์การเก็บยางรัก

การเจาะและจัดเก็บยางรักใช้อุปกรณ์ไม่มากนักเพื่อให้สะดวกต่อการเดินในพื้นที่ที่มีความลาดเอียงเชิงเขาและขึ้นต้นไม้ อุปกรณ์เจาะและเก็บยางรักประกอบด้วย

1.        มีดเจาะ

2.        กระบอกรองน้ำยาง

3.        บันได

4.        ไม้บ่วงกวาดยางรักออกจากกระบอก

5.        กระป๋องเก็บยางรักเบื้องต้น

การกรีดยางของชาวกระเหรี่ยงโปว์ จะทำการกรีดแต่ละแผลเพียง 1 ครั้ง (ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการเจาะกรีดของชนหลุ่มไต) และทิ้งไว้ให้น้ำยางไหลลงกระบอกเป็นเวลา 7-10 วัน และจัดเก็บยางรักเพื่อทำการกรีดยางในแผลใหม่ต่อไป



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 24/09/2567 [17562]
40000 5
4 [17560]

การดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 กรกฏาคม - 16 กันยายน 2567
1. 
การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจักสานและเครื่องเขิน
2.  
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน



รายงานโดย นายวันโชค  มณีเดช วันที่รายงาน 24/09/2567 [17560]
0 0