2567 บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเกษตรและแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17825]

9. โครงการผลิตสื่อให้บริการคำปรึกษาและเทคโนโลยีด้านเกษตรและแปรรูป

ภายใต้งานคลินิกเทคโนโลยีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ณ วิทยาลัยชุมชนตราด ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

ผลการดำเนินงาน

งานคลินิกเทคโนโลยีได้ให้บริการคำปรึกษาแก่ประชาชนด้านเกษตรและการแปรรูปที่หลากหลาย มีการพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นถิ่น แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์และเข้าถึงผู้รับบริการไม่เพียงพอ การผลิตสื่อให้บริการคำปรึกษาและเทคโนโลยีด้านเกษตรและแปรรูปมีความสำคัญอย่างมากในหลายด้าน ทั้งด้านการสื่อสาร การศึกษา การสร้างความเข้าใจ และการพัฒนาเชิงสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม สื่อให้บริการคำปรึกษาและเทคโนโลยีด้านเกษตรและแปรรูปนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกร ชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17825]
13000 0
4 [17823]

2. บริการให้คำปรึกษาและส่งเสริมองค์ความรู้เกษตรปลอดภัย

ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา

ณ ชุมชนบ้านคลองขัด ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

วันที่ 10 - 12 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2567

ผลการดำเนินงาน

งานคลินิกเทคโนโลยี ได้รับการประสานงานจากชุมชนบ้านคลองขัด ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด ให้บริการคำปรึกษาเรื่องการจัดทำพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย ทางงานคลินิกเทคโนโลยีจึงขอน้อมนำแนวคิดศาสตร์พระราชาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ดำเนินไปบนทางสายกลางเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงซึ่งปรัชญานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ทั้งระดับบุคคล องค์กร และชุมชน ทำให้มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ความมีเหตุผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง อีกทั้งองค์ความรู้การทำการเกษตรที่เลียนแบบธรรมชาติที่ไม่ใช้สารเคมี เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ในการบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถ ต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอานวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ ให้บริหารจัดการพืชและสามารถบริโภคผลผลิตพืชผักผลไม้ที่ไม่มีสารเคมีตกค้างและรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมด้วย

คลินิกได้จัดกิจกรรมให้คำปรึกษาและลงมือภาคปฏิบัติร่วมกับชุมชนในเรื่อง ภาคปฏิบัติร่วมกับชุมชน การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง สูตรวิศวกรรมแม่โจ้ , ชีวภัณฑ์และการทำเครื่องมือในการกำจัดศัตรูพืชสำหรับผัก , การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ด้วยเตาเผาถ่านไร้ควันและเก็บน้ำส้มควันไม้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17823]
32500 30
4 [17822]

5. บริการคำปรึกษาพัฒนาระบบแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว

ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

8 , 10 กุมภาพันธ์ และ 20 กันยายน 2567

ผลการดำเนินงาน

คณะทำงานโครงการพัฒนาระบบแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวภายใต้แผนบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี วิทยาลัยชุมชนตราด ดำเนินกิจกรรมศึกษาความต้องการระบบสารสนเทศสำหรับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว กิจกรรมพัฒนาระบบแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวและกิจกรรมทดสอบระบบแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยดำเนินการนำร่องที่วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยวตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เพื่อรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจผู้เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว มาวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวต่อไป

กิจกรรมนี้มีสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม 30 คน



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17822]
30080 30
4 [17821]

8. บริการให้คำปรึกษาการวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้าและขออนุญาต

ติดตั้งโซลาเซลล์ในบ้านเรือน

วันที่ 22 เดือน กันยายน พ.ศ. 2567

ณ วิทยาลัยชุมชนตราด ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

ผลการดำเนินงาน

งานคลินิกเทคโนโลยีได้รับทราบความต้องการของประชาชนในเรื่องการคำนวณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน เพื่อหาแนวทางลดค่าไฟฟ้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งในปัจจุบันได้มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการติดตั้งระบบโซลาเซลล์ในครัวเรือนเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น การอบรมในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งโซลาเซลล์ โดยผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้วิธีคำนวณพลังงานที่บ้านใช้ เพื่อเลือกขนาดของโซลาเซลล์ที่เหมาะสม รวมทั้งยังเป็นการสร้างความรู้และความตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน เช่นโซลาเซลล์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดและยั่งยืน

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 30 คน



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17821]
39650 30
4 [17820]

7. บริการให้คำปรึกษาการผลิตปุ๋ยน้ำ การตรวจสอบสารละลายธาตุอาหาร

สำหรับการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

วันที่ 4 - 5 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ณ วิทยาลัยชุมชนตราด ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

ผลการดำเนินงาน

งานคลินิกเทคโนโลยีได้พัฒนานวัตกรรมจากองค์ความรู้ในพื้นที่เป็นชุดความรู้พร้อมเผยแพร่ เรื่องระบบไฮโดรโปนิกส์น้ำนิ่งสำหรับประชาชนที่สนใจเรียนรู้ ณ แปลงปฏิบัติการสาขาเกษตรและการแปรรูป วิทยาลัยชุมชนตราด ซึ่งการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์เป็นเทคนิคการเกษตรที่มีการพัฒนาและแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น การใช้พื้นที่ปลูกน้อย, การควบคุมสภาพแวดล้อมการปลูกได้ง่าย, การใช้น้ำน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการปลูกในดิน และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีในพื้นที่จำกัด อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ต้องการการจัดการสารละลายธาตุอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้พืชได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์   ผู้เข้าร่วมอบรมการผลิตปุ๋ยน้ำสำหรับการปลูกไฮโดรโปนิกส์จะได้รับความรู้และทักษะในการผลิตปุ๋ยน้ำอย่างถูกต้อง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน เปิดโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการจำหน่ายปุ๋ยน้ำที่ผลิตเอง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17820]
32650 25
4 [17819]

6. บริการคำปรึกษาการปลูกสมุนไพรและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

ชุมชนบ้านคลองขัด ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ผลการดำเนินงาน

บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้กับประชาชน หมู่ 7 บ้านคลองขัด ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ในการพัฒนาแหล่งปลูกพืชและสมุนไพรของชุมชน ในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน ซึ่งในชุมชนมีบุคคลภูมิปัญญาการทำน้ำมันเหลือง ลูกประคบ และนวดแผนไทย รวมทั้งมีความสนใจที่จะเป็นแหล่งปลูกสมุนไพรคุณภาพเพื่อการพึ่งพาตนเองและจำหน่ายสมุนไพรให้แก่โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือผู้ประกอบการในอนาคต ซึ่งพืชสมุนไพรที่ชุมชนให้ความสนใจ ได้แก่ ขมิ้นชันไพล และว่านเหลืองเป็นพืชหลักกิจกรรมนี้นำมาสู่การวางผังปลูกในแปลงศาสตร์พระราชาของชุมชนอีกด้วย คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีได้แนะนำชุมชนจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อต่อยอดการดำเนินงานต่อไปกิจกรรมนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 15 คน



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17819]
0 15
4 [17817]

4. บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีพัฒนาเส้นเชือกจากต้นกล้วย

ณ โรงเรียนประณีตวิทยาคม หมู่ 2 บ้านตลุง ตำบลประณีต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2567

ผลการดำเนินงาน

บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้กับนักศึกษา ประชาชนภาคีเครือ ข่ายภาครัฐภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดตราดซึ่งในปีงบประมาณที่ผ่านมา คลินิกเทคโลยีวิทยาลัยชุมชนตราดได้ดำเนินการกับชุมชนบ้านตลุง หมู่ 2 ตำบลประณีตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุผลไม้ตามฤดูกาล (ทุเรียน เงาะ มังคุด หรืออื่นๆ) ซึ่งมีเป้าหมายคือการใช้วัสดุในท้องถิ่นที่ชุมชนทำเองได้ รวมทั้งยังเป็นการลดการใช้พลาสติกในการบรรจุผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย ซึ่งในปีงบประมาณนี้ได้รับโจทย์จากความต้องการของชุมชนในการพัฒนาเส้นเชือกจากต้นกล้วยที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับเชือกกล้วยได้ในลำดับต่อไป มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 20 คน



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17817]
18920 20
4 [17816]

3. บริการคำปรึกษาการผลิตน้ำปลาจากหอยพอก

แก่วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านท่าระแนะ

ณ ศูนย์การเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชนท่าระแนะ ตำบลหนองคันทรง อำเภอเมือง จังหวัดตราด

ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ผลการดำเนินงาน

บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดตราด ซึ่งในปีงบประมาณที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยีวิทยาลัยชุมชนตราดได้ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบทชุมชน ความต้องการ และศักยภาพของกลุ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านท่าระแนะเป็นชุมชนชายทะเล ทรัพยากรที่มีมากคือสัตว์น้ำมีพื้นที่ 2,000 ไร่ ผลิตภัณฑ์แรกที่เคยทำร่วมกันกับวิทยาลัยชุมชน คือ น้ำพริกหอยพอก วัตถุดิบที่ทางกลุ่มสนใจคือ น้ำปลาจากหอยพอก แต่ยังไม่เคยได้ลงมือทำ ซึ่งหอยพอกมีปริมาณมากในช่วงเดือนมีนาคม ถึง เมษายน ถือเป็นฤดูกาลหอยพอก แต่ก็สามารถเก็บได้ตลอดทั้งปี ชาวประมงใช้เวลาเก็บ 1 วัน ได้หอยประมาณ 500 กิโลกรัม ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ทางกลุ่มจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำปลาหอยพอกขึ้น เนื่องจากมีอยู่ตามธรรมชาติในปริมาณมาก    สมาชิกกลุ่มและประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ทราบกระบวนพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำปลาจากหอยพอก ข้อดี ข้อจำกัด กระบวนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐานอาหาร ได้ทดลองหมักน้ำปลาจำนวน 4 กระปุก และแบ่งให้ชุมชนนำไปทดลองเก็บรักษาต่อ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 คน



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17816]
26750 25
4 [17813]

1. บริการคำปรึกษาทดสอบตลาดอาหารจากผลิตภัณฑ์พริกแกงอัดก้อน

(ปรับปรุงสูตร) ณ วิทยาลัยชุมชนตราด ตำบลเนินทราย อำเภอเมือง จังหวัดตราด

วันที่ 9 มีนาคม 2567

ผลการดำเนินงาน

บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีประจำปี แก่ประชาชนทั่วไปในพื้นที่จังหวัดตราด ซึ่งในปีงบประมาณที่ผ่านมา คลินิกเทคโนโลยีวิทยาลัยชุมชนตราดได้ดำเนินการพัฒนาน้ำพริกแกงแบบสด เป็นพริกแกงแห้งอัดก้อน แบรนด์ “พริกแกงเฮียต๋อย” ซึ่งพริกแกงเฮียต๋อย มี 3 สูตร ได้แก่ พริกแกงเผ็ด พริกแกงส้ม และพริกแกงป่าเพื่อการเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น จากนั้นได้ทำการทดสอบความชอบในการนำมาประกอบอาหาร พบว่ายังคงต้องปรับสูตรการใช้พริกแกงแห้งอัดก้อนการปรุงอาหาร โดยให้สัดส่วนเพิ่มขึ้นจากเดิม เป็น 3 เท่า แล้วนำมาทดสอบความชอบของผู้บริโภคอีกครั้ง จึงได้จัดกิจกรรมทดสอบความชอบในผลิตภัณฑ์ขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคและสัดส่วนการประกอบอาหารที่เหมาะสมสำหรับนำไปผลิตเป็นฉลากในลำดับต่อไป

การปรับสูตรพริกแกงในการนำมาประกอบอาหารเป็นเมนูต่างๆ ได้มีการเพิ่มปริมาณพริกแกงขึ้นเป็น 3 เท่า ในเมนู แกงหมูหน่อสับปะรด แกงส้มผักรวมกุ้งสด แกงคั่วหอยใส่สับปะรด มีปริมาณส่วนประกอบสำหรับรับประทาน 20 คนผลความชอบ ได้แก่ 1. พริกแกงกะทิ แกงคั่วหอยสับปะรด 2. พริกแกงเผ็ด หมูผัดหน่อสับปะรด 3.พริกแกงส้ม แกงส้มผักรวมกุ้งสด

กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 20 คน

 



รายงานโดย นางสาวกรกนก ปานอำพันธ์ วันที่รายงาน 28/09/2567 [17813]
26450 20