2567 บริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17766]
มื่อวันอังคาร ที่ 10 กันยายน 2567
 
          ทีมคลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ ทีมอาจารย์จากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองปทุมรัตน์ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เนื่องจากผู้ประกอบการได้แปรูกล้วยทอดกรอบ แล้วมีปัญหาเรื่องการเหม็นหืน อาจารย์ได้สอบถามพูดคุยถึงกระบวนการผลิต และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการผลิต ตั้งแต่ต้น จนจบกระบวนการผลิต เพื่อวิเคราะห์ว่าปัญหาเกิดจากกระบวนการไหน และจะแก้ปัญหาอย่างไรต่อไป เบื้องต้นนัดลงพื้นที่อีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคม 


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 27/09/2567 [17766]
0 1
4 [17765]

เมื่อวันพุธ ที่ 28 สิงหาคม 2567

              คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี พร้อมด้วยทีมอาจารย์จาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร ลงพื้นที่แปลงใหญ่ทุเรียนป่าขะ อ.บ้านนา จ.นครนายก พบ นายสมหมาย วันเพ็ญ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าขะ  และเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อรับฟังปัญหา จากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในพื้นที่ และให้คำปรึกษา เรื่องการปลูกทุเรียนแบบครบวงจร รวมถึงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับต้นทุเรียน 



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 27/09/2567 [17765]
0 10
4 [17767]
วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2567
 
              คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี พร้อมทีมบริการวิชาการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจจัดงานพิธีปิดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567  ณ ห้องประชุมสงค์ธนาพิทักษ์ สำนักงานอธิการบดี มทร.ธัญบุรี  โดย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รศ.ดร.กฤษณ์ชนม์  ภูมิกิตติพิชญ์) เป็นประธาน และ ทีมงานผู้บริหารจากธนาคารออมสิน โดย ผู้อำนวยการเขต ธนาคารออมสินเขตปทุมธานี2 (คุณชรัชญาภรณ์ ต่างใจ) จัดกิจกรรมการนำเสนอผลสัมฤทธิ์  ภายใต้ โครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 โดยมีตัวแทนนักศึกษาแต่ละโครงการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการย่อยจำนวน 6 โครงการ ดังนี้
               1. โครงการ วิสาหกิจชุมชนนานาผักตบบ้านลาดด้วน
               2. โครงการ วิสาหกิจชุมชนปัญญาไทยสมุนไพรบางเตย
               3. โครงการ วิสาหกิจชุมชนมูลไส้เดือนบ้านคลองอ้ายจาม
               4. โครงการ กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง
               5. โครงการ กลุ่มขนมเงินล้านบึงสนั่นรักษ์
               6. โครงการ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์
             


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 27/09/2567 [17767]
0 20
4 [17696]

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567   คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์  แสงประดิษฐ์  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา/ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhallเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 26/09/2567 [17696]
0 3
4 [17695]

เมื่อวันพุธ ที่ 4 กันยายน 2567  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี และทีมอาจารย์จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร ลงพื้นที่ชุมชน กลุ่มพืชผักอินทรีย์และต้นอ่อนผัก ร่วมกับ ทีมงานพัฒนาชุมชน ต.บ้านม้า อ.บางไทร จ.อยุธยา ให้คำปรึกษาเบื้องต้นด้านเกษตรอินทรีย์ ณ หมู่ 1 ต.บ้านม้า อ.บางไทร จ.อยุธยา 



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 26/09/2567 [17695]
0 5
4 [17691]
ในวันพุธ ที่ 22 สิงหาคม 2567  คลินิกเทคโนโลยีมทร.ธัญบุรี ร่วมจัดกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น "ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" ประจำปี 2567 กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มภูมิปัญญาไทยสมุนไพรบางเตย 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำมันนวดสมุนไพร และ การให้บริการนวดเพื่อสุขภาพ โดย คณะนักศึกษา และอาจารย์ให้คำปรึกษา จากคณะการแพทย์บูรณาการ และคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.ธัญบุรี


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 26/09/2567 [17691]
9750 10
4 [17531]

ในวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2567 

สถาบันวิจัยและพัฒนา คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดโครงการ "งานมหกรรมวิจัยและนวัตกรรม มทร.ธัญบุรี เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน (Rmutt Research and Innovation Fair for Sustainable Change 2024)  ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 โดย รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) มทร.ธัญบุรี ในฐานะหน่วยงานหลักที่จัดโครงการ กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักคือการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่วงวิชาการและสาธารณชน การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือเชิงสาธารณะ หรือการพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรม สามารถกระตุ้นให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี จึงได้จัดมหกรรมวิจัยและนวัตกรรมต่อเนื่องขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี 2024 นี้ มีจุดเน้นสำคัญเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนที่ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs เช่น ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและงานที่มีคุณค่า –การจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ รวมถึงสร้างงานที่มีคุณค่าและยั่งยืน การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน –โดยผลงานวิจัยและนวัตกรรมมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสีย ส่งเสริมการรีไซเคิล ช่วยส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน และที่สำคัญยังกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน –สร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ผู้ให้ทุนจากแหล่งต่าง ๆ ภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ ซึ่งช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 
          ซึ่งในโครงการนี้มีกิจกรรมหลัก คือ การประกวดผลงานวิจัยนวัตกรรม และการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ระดับอุดมศึกษา มทร.ธัญบุรี และ มีบูธจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการชุมชน ที่เคยได้งบประมาณผ่านคลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี มาร่วมออกร้าน อีกทั้ง คลินิกเทคโนโลยีได้จัด กิจกรรมสาธิตการนวดเพื่อผ่อนคลาย(คอ บ่า ไหล่) โดยวิทยากรจาก วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรบางเตย และกิจกรรม การทำเหลือสปาอโรมาขัดผิว โดยวิทยากรจาก ทีมงานคณะการแพทย์บูรณาการ ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างดี


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 23/09/2567 [17531]
20000 60
4 [17504]

วันพุธ ที่3 กรกฎาคม 2567

                    ทีมงานจากคลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี พร้อมด้วยทีมงานจากคณะการแพทย์แผนไทย และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ธัญบุรี ได้เข้าพบ ผศ.ดร.สุภัทรา  โพธิ์พ่วง และผู้ประกอบการ ผู้บริหาร จากบริษัท AP 99 Technology co. ที่ DD Mall เนื่องด้วย ผู้ประกอบการ เห็นถึงความสำคัญในการต่อยอดงานวิจัย ด้านสมุนไพร ที่มีผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายแล้ว นำไปขยายตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว เวียดนาม จีน 

                    ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย ที่ผู้ประกอบการมีความสนใจและต้องการ OEMกับทางคณะการแพทย์แผนไทย

 ได้แก่

          1.ผลิตภัณฑ์จากฟ้าทะลายโจร

          2.ผลิตภัณฑ์ยากษัยเส้น

          3.ผลิตภัณฑ์ยาที่ช่วยให้นอนหลับง่าย

          4.ผลิตภัณฑ์ยาระบาย

          5.ผลิตภัณฑ์น้ำมันงาดำ

                    และในส่วนของงานวิจัยที่สนใจนำไปต่อยอดธุรกิจ จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้แก่

           1.เต้าหู้แข็งจากดักแด้ไหนอีรี่

           2.อาหารเสริมชะลอวัยแบบแคปซูล

           3.เครื่องลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือก

           4.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเม็ดฟู้จากสารสกัดจากใบชะพลู



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 20/09/2567 [17504]
15000 5
3 [17051]

วันที่  25 มิถุนายน  2567

            สถาบันวิจัยและพัฒนา  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประมงจาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าพบ ประมงจังหวัดนครนายก และผู้ประกอบการประมงในเขตจังหวัดนครนายก ร่วมประชุมและวางแผนการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เนื่องจากพบว่า มีปัญหาในกระบวนการด้านต่างๆ ที่ทำให้ผู้ประกอบขาดทุน หรือได้กำไรน้อย 

            ทั้งนี้ ได้เก็บข้อมูล ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องการให้ช่วยเหลือ และวางแผนการของบสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาช่วยพัฒนาและผลักดัน ให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถทำประมงน้ำจืด มีกำไรที่เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน ต่อไป

            



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 05/07/2567 [17051]
3000 20
3 [17050]

วันที่  25 มิถุนายน  2567

            สถาบันวิจัยและพัฒนา  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประมงจาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร เข้าพบ ประมงจังหวัดนครนายก และผู้ประกอบการประมงในเขตจังหวัดนครนายก ร่วมประชุมและวางแผนการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เนื่องจากพบว่า มีปัญหาในกระบวนการด้านต่างๆ ที่ทำให้ผู้ประกอบขาดทุน หรือได้กำไรน้อย 

            ทั้งนี้ ได้เก็บข้อมูล ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ผู้ประกอบการต้องการให้ช่วยเหลือ และวางแผนการของบสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาช่วยพัฒนาและผลักดัน ให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถทำประมงน้ำจืด มีกำไรที่เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน ต่อไป

            



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 05/07/2567 [17050]
3000 20
3 [16976]

วันที่ 3 เมษายน 2567

 

           คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี นำโดย รศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ ผศ.ดร.พุทธิวัต สิงห์ดง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และคณะผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เข้าพบ ผู้บริหาร บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้คำปรึกษาเบื้องต้นด้านการปรับกระบวนการผลิต เนื่องจากบริษัทฯ มีแผนปรับปรุงกระบวนการทางการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ของเสียลดลง โดยเฉพาะการผลิตแหนม ลูกชิ้น หมูยอ

 



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 04/07/2567 [16976]
0 10
3 [17013]

วันที่ 28 มิถุนายน 2567

 

               คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี  ร่วมกับ อบต.คลองสาม คลองหลวง จ.ปทุมธานี  จัดอบรมให้ความรู้ แก่ผู้สูงอายุในโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 66 คน ตามรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

             1.บรรยายให้ความรู้ เรื่อง ภูมิปัญญาพื้นบ้าน  โดย ผู้เชี่ยวชาญจากคณะการแพทย์บูรณาการ

             2.แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เรื่องศิลปะประดิษฐ์ "ประดิษฐ์ตะกร้ากระดุม  โดย ผู้เชี่ยวชาญจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

            



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 04/07/2567 [17013]
0 66
3 [17012]

วันที่ 14 มิถุนายน 2567

             คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ อบต.คลองสาม คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจาก คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เป็นวิทยากร จัดอบรมให้ความรู้ แก่ผู้สูงอายุในโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว 66 คน ตามรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

 

              1. การทำเกี๊ยวต้ม

              2. การทำแซนวิชเกาหลี

 

             



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 04/07/2567 [17012]
15000 66
3 [16909]
วันที่  19  เมษายน  2567
 
               คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี สถาบันวิจัยและพัฒนา โดย ผศ.ดร.พุทธิวัต สิงห์ดง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา  ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ จัดกิจกรรมการนำเสนอโครงการ  ภายใต้ โครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2567 โดย มีผู้บริหารจากธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอโครงการ และพิจารณาโครงการย่อย จำนวน 6 โครงการ ได้แก่
               1. โครงการ วิสาหกิจชุมชนนานาผักตบบ้านลาดด้วน
               2. โครงการ วิสาหกิจชุมชนปัญญาไทยสมุนไพรบางเตย
               3. โครงการ วิสาหกิจชุมชนมูลไส้เดือนบ้านคลองอ้ายจาม
               4. โครงการ กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง
               5. โครงการ กลุ่มเคหะ รังสิตคลอง 10/2
               6. โครงการ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์
              โดยมี  นักศึกษา ร่วมนำเสนอโครงการ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่กลุ่่ม ชุมชน ที่กระจายอยู่ในทุกท้องถิ่น โดยการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านต่างๆ ไปช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ ซึ่งจะสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับชุมชนอย่างอย่างยืน ต่อไป


รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 03/07/2567 [16909]
15000 30
3 [16924]

วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2567

              คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบรี  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค"  ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก  ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลียร์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ  



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 03/07/2567 [16924]
15000 3
3 [16918]

วันที่ 30 มีนาคม 2567

 

             คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ลงพื้นที่ กลุ่มแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี พบผู้ประกอบการ เพื่อให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การตลาดทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ ซึ่งหน่วยงานคลิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับคณะอาจารย์ นักศึกษาผู้เชี่ยวชาญจากคณะบริหารธุรกิจ ให้คำปรึกษาเรื่องการวางแผนการตลาดในอนาคต การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของกลุ่ม คณะศิลปศาสตร์ ช่วยให้คำปรึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ช่วยดูแลเรื่องการถ่ายทำคลิปต่างๆ และถ่ายภาพสินค้าต่าง เพื่อเตรียมนำเสนอโครงการ เพื่อของบประมาณในโครงการ "ออมสินยุวพัฒนารักษ์ถิ่น ปี2567" กับธนาคารออมสิน ต่อไป



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 03/07/2567 [16918]
0 10
3 [16880]

วันที่ 3 เมษายน 2567

           คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ลงพื้นที่เทศบาลตำบลบางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี  พบนักพัฒนาชุมชนของเทศบาล และ ผู้ประกอบการในชุมชน "กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนานาผักตบบ้านลาดด้วน" ซึ่งเป็นการต่อยอดจาก การลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งได้ทราบถึงความต้องการที่ผู้ประกอบการต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญ ไปช่วยเหลือในหลายๆด้าน ซึ่งหน่วยงานคลิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะบริหารธุรกิจ ให้คำปรึกษาเรื่องการวางแผนการตลาดในอนาคต การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของกลุ่ม  คณะศิลปกรรมศาสตร์และคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ช่วยให้คำปรึกษาด้านการออกแบบกระเป๋าเพื่อให้ตรงกับลูกค้าเป้าหมายในอนาคต รวมถึงคุณภาพการใช้งาน  คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมช่วยดูแลเรื่องการถ่ายทำคลิปต่างๆ และถ่ายภาพสินค้าต่าง เพื่อเตรียมpitching กับธนาคารออมสิน  ต่อไป 

            ทั้งนี้  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจ และนักศึกษาในคณะต่าง และมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ คอยให้คำปรึกษา และช่วยผลักดัน ผู้ประกอบการให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือกับ ธนาคารออมสิน ในการเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2567” ต่อไป



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 01/07/2567 [16880]
45000 10
3 [16882]

วันที่ 29 - 30  มีนาคม  2567

                วันที่ 29  มีนาคม 2567

                คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ลงพื้นที่เทศบาลตำบลบางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี  พบนักพัฒนาชุมชนของเทศบาล และ ผู้ประกอบการในชุมชน "กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปัญญาไทยสมุนไพรบางเตย" ซึ่งเป็นการต่อยอดจาก การลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งได้ทราบถึงความต้องการที่ผู้ประกอบการต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญ ไปช่วยเหลือในหลายๆด้าน ซึ่งหน่วยงานคลิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะบริหารธุรกิจ ให้คำปรึกษาเรื่องการวางแผนการตลาดในอนาคต การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของกลุ่ม  คณะการแพทย์บูรณาการ ช่วยให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำมันที่ใช้เกี่ยวกับการนวดในแบบต่างๆ ให้ตรงกับลูกค้าเป้าหมายในอนาคต รวมถึงคุณภาพการใช้งาน  คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ช่วยดูแลเรื่องการถ่ายทำVTR และถ่ายภาพสินค้าต่าง เพื่อเตรียมpitching กับธนาคารออมสิน  ต่อไป 

                วันที่ 30  มีนาคม 2567

                คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ลงพื้นที่เทศบาลตำบลบางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี  พบนักพัฒนาชุมชนของเทศบาล และ ผู้ประกอบการในชุมชน "วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยหอมทองปทุมรัตน์" ซึ่งเป็นการต่อยอดจาก การลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งได้ทราบถึงความต้องการที่ผู้ประกอบการต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญ ไปช่วยเหลือในหลายๆด้าน ซึ่งหน่วยงานคลิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะบริหารธุรกิจ ให้คำปรึกษาเรื่องการวางแผนการตลาดในอนาคต การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของกลุ่ม  คณะศิลปศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร   คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ช่วยดูแลเรื่องการถ่ายทำVTR และถ่ายภาพสินค้าต่าง เพื่อเตรียมpitching กับธนาคารออมสิน  ต่อไป 

 

            ทั้งนี้  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจ และนักศึกษาในคณะต่าง และมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ คอยให้คำปรึกษา และช่วยผลักดัน ผู้ประกอบการให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือกับ ธนาคารออมสิน ในการเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2567” ต่อไป

              



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 01/07/2567 [16882]
0 10
2 [16601]

วันที่ 22 มีนาคม 2567

      คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี  ร่วมกับ อบต.คลองสาม คลองหลวง จ.ปทุมธานี  จัดอบรมให้ความรู้ แก่ผู้สูงอายุในโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว 66 คน ตามรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

    1.บรรยายให้ความรู้ เรื่องยา อาหาร และโภชนาการ

    2.แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เรื่องอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ได้แก่

              2.1 เต้าฮวยธัญพืช

              2.2 เมี่ยงกลีบบัว



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 05/04/2567 [16601]
3000 60
2 [16494]

วันที่  5 - 20  กุมภาพันธ์  2567

               คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี เข้าร่วม การนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน(Pitching) ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมีผู้ประกอบการ และที่ปรึกษาโครงการเข้าร่วมPitching) จำนวน 15 กลุ่มผู้ประกอบการ โดยมีกรรมการให้คำแนะนำ เพื่อนำไปปรับใช้กับการส่งข้อเสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อไป



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 04/04/2567 [16494]
15000 15
2 [16492]

วันที่ 30-31 มกราคม 2567

              คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมออกบูธในงานBusiness Dayนำผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับงบประมาณผ่านแพลตฟอร์มภายใต้ คลินิกเทคโนโลยี ออกบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์และผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น เพื่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำมาจำหน่ายในงาน ออกบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ในงาน Business Dayของคณะบริหารธุรกิจ

 



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 04/04/2567 [16492]
0 5
2 [16227]

วันที่ 22 มกราคม 2567

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี พร้อมผู้บริหารหน่วยงาน นำโดย รองอธิการบดี ผศ.ดร.พงพิชษ์ ต่วนภูษา และคณะผู้บริหารจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี ในนาม อว.ส่วนหน้าจังหวัดนครนายก เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก และหัวหน้าหน่วยงานต่างๆในจังหวัดนครนายก เพื่อร่วมกันวางแผนการพัฒนาจังหวัด ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาที่จังหวัดได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ทางหน่วยงานต่างๆในจังหวัดนครนายกมีประเด็นต่างๆที่ต้องการพัฒนาจังหวัดอยู่แล้ว ซึ่ง มทร.ธัญบุรีมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่จะเข้าไปช่วยกันพัฒนาจังหวัดให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 18/03/2567 [16227]
0 20
2 [16223]

วันที่ 17 – 23 มกราคม 2567 

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี  ร่วมกับ อบต.คลองสาม คลองหลวง  จัดอบรมสร้างอาชีพ ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ คลองสาม คลองหลวง โดย จัดอบรม  โครงการฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาศักยภาพให้กับประชาชนในตำบลคลองสาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว 50 คน ตามรายละเอียดการอบรม ดังนี้

วันที่ 17-19 มกราคม 2567  ร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยี การฝึกอบรมอาชีพ “หลักสูตรขนมไทย, เบเกอรี่ และน้ำสมุนไพร” ตามนโยบายของนายก อบต.คลองสาม ต้องการให้การอบรมครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการสร้างงานสร้างรายได้ ได้จริงๆ โดยต้องการสูตรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งใช้วัตถุดิบที่มีในจังหวัด โดยแบ่งเป็น 6 สูตร ดังนี้

1.การแปรรูปน้ำสมุนไพรจากรากบัวและใบเตย

2.การแปรรูปซาลาเปาเม็ดบัว

3.การแปรรูปขนมตะโก้ใบเตยเม็ดบัว

4.การแปรรูปขนมถ้วยใบเตยเม็ดบัว

5.การแปรรูปคุกกี้เม็ดบัว

6.การแปรรูปบราวนี่เม็ดบัว

        วันที่ 22 มกราคม 2567  ร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.ธัญบุรี เป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝึกอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และฉลาก สำหรับ ผลิตภัณฑ์ที่ได้อบรมมาทั้ง 6 หลักสูตร

         วันที่ 23 มกราคม 2567  ร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะบริหารธุรกิจ และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝึกอบรมการวางแผนการตลาด ทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการฝึกคิดคอนเทนต์ ที่เหมาะสมในแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อการตลาดที่ขายได้จริงรวมถึงการฝึกทำบัญชีเบื้องต้น เพื่อจะได้รู้รายได้ที่แท้จริงจากการทำธุรกิจ

 



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 14/03/2567 [16223]
30000 50
2 [16215]

วันที่ 4 มกราคม 2567 

            คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ลงพื้นที่เทศบาลตำบลบางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี  พบนักพัฒนาชุมชนของเทศบาล และ ผู้ประกอบการในชุมชน จำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งเป็นชุมชนที่คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ที่เคยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้ประกอบการต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆเพิ่มเติม รวมถึงต้องการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด ต้องการขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นและรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต 

            ทั้งนี้  คลินิกเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจ และนักศึกษาในคณะต่าง และมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ คอยให้คำปรึกษา ช่วยกันพัฒนาและผลักดัน ผู้ประกอบการเหล่านี้ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือกับ ธนาคารออมสิน ในการเข้าร่วมโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2567” ต่อไป



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 13/03/2567 [16215]
15000 4
2 [16210]

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566  ลงพื้นที่งานตลาดชุมชน ในพื้นที่ตลาดกรีน คลอง 11 ธัญบุรี เพื่อเก็บข้อมูลผู้ประกอบการOtop พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เรื่องการรับสมัครผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป และติดตามให้คำปรึกษาด้านการตลาดกับกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับงบประมาณ ปี 2566



รายงานโดย น.ส.นรภัทร เทพทอง วันที่รายงาน 12/03/2567 [16210]
30000 10