2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [16493]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนมกราคม 2567 – มีนาคม 2567

1. ตามที่ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีกำหนดการเข้าเยี่ยมชมและ นำเสนอภาพรวมของอุทยานวิทยาศาสตร์ ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก (RSP First Miles) โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพรวม การดำเนินแผนงานต่าง ๆ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแต่ละแผนงานภายใต้การเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ขั้น 2อาคารศูนย์การเรียนรู้การเงินและการลงทุน ธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เข้าร่วมดังนี้

         1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี   ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับและดูแลงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัย

          2. นายพันศักดิ์  สุทธิสวัสดิ์ ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ เป็นตัวแทนเข้าร่วม เครือข่ายหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator: UBI)

          3. นายคฑาวุธ  สว่างดี ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เป็นตัวแทนเข้าร่วม เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี (Clinic Technology) 

          4. นางสาวกนกวรรณ  คงสวน ตำแหน่ง ผู้จัดการหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อสุขภาพและความงาม

          โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำเสนอภาพรวมของอุทยานวิทยาศาสตร์ นำเสนอภาพรวมการเชื่อมโยง และส่งต่อผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) และโครงการยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยีฯ /และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นฯ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี ตำแหน่ง ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับและดูแลงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัย ได้สอบถามประเด็นในที่ประชุม เรื่องการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัย ว่าจะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อการพัฒนารูปแบบความร่วมมือ กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาคีในพื้นที่ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้ประโยชน์ จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วมในเชิงพาณิชย์และสังคม ต่อไปในอนาคต

 

2. โรงเรียนเตรียมศึกษานายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 – 3 เข้าเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารและพืชสมุนไพร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี  ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก เทคโนโลยีการเกษตร คณะคลินิกเทคโนโลยี ได้ดำเนินการดังนี้

      1. บริการข้อมูลเทคโนโลยี คือแจกเอกสารแผนพับเทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด และองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสินค้าเกษตร อันจะนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียน  บรรยายให้ความรู้โดย ผศ.ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ

     2. การบริการให้คำปรึกษา ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

          2.1 SHAKE & ENJOY เรียนรู้การแปรรูปเครื่องดื่มจากสมุนไพร (ไซเดอร์กระวาน)

          วิทยากร          1. ผศ.จิพร  สวัสดิการ

                  2. อาจารย์ขนิษฐา  รัตน์ประโคน

                  3. นางสาวสุวนันท์ เนื่องแนวน้อย

          2.2 HERBS & BEAUTY เรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปเครื่องดื่มสมุนไพรชนิดผง เพื่อความงามและการบำรุง (ผง Shake สมุนไพรจากกระวาน)

          วิทยากร          1. ผศ.สุพร  สังข์สุวรรณ์

                               2. นายคฑาวุธ  สว่างดี

                               3. นางสาวจันจิรา  จินโนรส

                              4. นางสาวปารณีย์  สร้อยสรี

          2.3 ห้องปฏิบัติการ (การวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระจากกระวาน)

          วิทยากร          1. รศ.ดร.วริศชนม์  นิลนนท์

   2. ผศ.กุลพร  พุทธมี

                               3. นางสาวกรรณิการ์  แสงภู่

                               4. นางสาวนัดกานต์  สมบูรณ์ธรรม

          2.4 ผลิตภัณฑ์ แปรรูปอาหาร (ผลิตภัณฑ์จากผลัม)

          วิทยากร          1. ผศ.ดร.หยาดรุ้ง  สุวรรณรัตน์    (การแปรรูป)

                               2. ผศ.ดร.พรพรรณ  สุขุมพินิจ     (การเลี้ยงผลัม)

                               3. นายจิตติภัทร์  จาตุภัทร์

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 42 คน

 

3. คลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก ศูนย์บริการวิชาการเทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม และฝึกอบรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในการเข้าศึกษาดูงาน หน่วยงานคลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อยกระดับและพัฒนาการบริหารงาน การเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ทักษะใหม่ๆ และแนวคิดในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรศูนย์บริการวิชาการเทคโนโลยี วิจัยนวัตกรรม และฝึกอบรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก

มีผู้เข้าศึกษาดูงานจาก คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 8 ท่าน คือ

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภชัย แก้วจันทร์    ตำแหน่งรองคณบดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัตรา วะยะลุน

  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุเมศวร์ สุขศรีศิริวัชร

  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศ์ไกร วรรณตรง

  5. นายพงศกร เดชศิริ

  6. นายวัชระ แหวนเงิน

  7. นายภานุวัฒน์ ธรรมเจริญ

  8. นางสาวนลินี พฤฒิพันธ์พิศทธิ์

และทีมบริหารจากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ดังนี้

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทธินันท์   โสตวิถี             ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ

  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ       ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี

  3. อาจารย์สามารถ    จันทนา                              รองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ

  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพร    สวัสดิการ              คณะกรรมการ

  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงรัตน์  สวัสดิ์มงคล         คณะกรรมการ

  6. อาจารย์ขนิษฐา     รัตน์ประโคน                      คณะกรรมการ

  7. นายพันธุ์ศักดิ์   สุทธิสวัสดิ์                              ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ

  8. นางสาวณัฐยาน์     ถวิลวงษ์                            รักษาการหัวหน้าสำนักงาน สำนักบริการวิชาการ

  9. นายคฑาวุธ  สว่างดี                                        เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

        ในระหว่างการศึกษาดูงาน ศูนย์บริการวิชาการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้สอบถาม โครงสร้างองค์กร การบริหารงานภายใน ขั้นตอน กระบวนการทำงาน การยื่นขอข้อเสนอโครงการ และแนวคิดการดำเนินงานร่วมกับชุมชนให้ยั่งยืน กับคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยมีทีมบริหารนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทธินันท์   โสตวิถี ได้ตอบคำถามพร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิดการทำงานร่วมกัน   

 

ไตรมาส 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนมกราคม 2567 – มีนาคม 2567คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีผู้มารับบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลนี จำนวน 50 คน มีความพึงพอใจร้อยละ 84.25 ดังข้อมูลต่อไปนี้

1. ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดกิจกรรมฝึกอบรม                               คิดเป็นร้อยละ    100.00

2. ความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการในระหว่างการฝึกอบรม  คิดเป็นร้อยละ    95.00

3. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกอบรม                                           คิดเป็นร้อยละ    80.00

4. ความเหมาะสมของหัวข้อในการฝึกอบรม                                                 คิดเป็นร้อยละ    92.50

5. การให้บริการและการอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่                             คิดเป็นร้อยละ    92.50

6. ความรู้ความสามารถของวิทยากร                                                             คิดเป็นร้อยละ    95.00

7. ประโยชน์ที่ได้จากการนำองค์ความรู้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้      คิดเป็นร้อยละ    80.00

8. ความพึงพอใจของท่านต่อกิจกรรมในภาพรวม                                           คิดเป็นร้อยละ    90.00

9. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมก่อนการเข้าฝึกอบรม          คิดเป็นร้อยละ    42.50

10. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมหลังการเข้าฝึกอบรม        คิดเป็นร้อยละ    75.00

                                                                                        ค่าเฉลี่ยรวม      คิดเป็นร้อยละ    84.25



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/04/2567 [16493]
62250 50
2 [16491]

รายงานผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566

          1. คลินิกเทคโนโลยี สำนักบริการวิชาการ เข้าร่วมงาน ”ตลาดนัดงานวิชาการสัปดาห์ วิทยาศาสตร์” ที่จัดโดยหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ระว่างวันที่ 18 - 19 ธันวาคม 2566 ณ พื้นที่บริเวณ ทางเดิน Cover-way ด้านหลังกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อบริการด้านวิชาการ ให้กับผู้ร่วมงาน สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิดวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต สิ่งแวดล้อม และสังคม BCG เรียน เล่น งาน อาชีพ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          2. ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ดำเนินงานด้านบริการวิชาการ วิจัยลพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบสินค้าเกษตรและอาหาร รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบการ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเทคโนโลยี และยกระดับมาตรฐาน ผลผลิตทางการเกษตรให้ ชาวบ้าน เกษตรกร ชุมชน วิสาหกิจ SMEs หน่วยงานราชการ และเอกชล โดยมีคลินิกเทคโนโลยี เป็นสื่อกลางในการประสานงาน การจัดการอบรม และวิทยากร ในการดำเนินโครงการต่างๆ นั้น ซึ่งกิจกรรมในไตรมาศที่ 1 ประจำปี 2567 ได้มีการจัดหลักสูตรการอบรมขึ้นมา ตามความต้องการของผู้ประกอบการ จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้    

              2.1 หลักสูตร การผลิตเครื่องดื่มเชิงธุรกิจ วันที่ 13 ธ.ค. 66  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 19 คน

              2.2 หลักสูตร การผลิตอาหารเสริมเพื่อธุรกิจ (แคปซูล) และการหมักคอมบูชาเพื่อสุขภาพและความงาม ในวันที่ 19 ธ.ค. 66        มีผู้เข้าร่วมจำนวน 17 คน

              2.3 หลักสูตร การวิเคราะห์ธาตุอาหารใบทุเรียน เพื่อพยากรณ์ผลผลิต ในวันที่ 20 ธ.ค. 66  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คน

ด้านการแปรรูปอาหารและเครื่องดื่มเพื่อธุรกิจ มีวิทยากร ดังนี้

- ผศ.ดร.เดือนรุ่ง  เบญจมาศ       - ผศ.จิพร  สวัสดิการ                     - รศ.ดร.วริศชนม์  นิลนนท์              - ผศ.กุลพร  พุทธมี                  - ผศ.สุพร  สังข์สุวรรณ์               - อาจารย์ขนิษฐา  รัตน์ประโคน            - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์                

- นายคฑาวุธ  สว่างดี                - นางสาวสุวนันท์ เนื่องแนวน้อย     - นางสาวจันจิรา  จินโนรส               - นางสาวปารณีย์  สร้อยสรี         - นางสาวกรรณิการ์  แสงภู่         - นางสาวนัดกานต์  สมบูรณ์ธรรม

การวิเคราะห์ธาตุอาหารใบทุเรียน เพื่อพยากรณ์ผลผลิต มีวิทยากร ดังนี้

          - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิกันยา ประทุมยศ               - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เลิศชัย จิตร์อารี             - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิศา ชัยกุล

ผู้ประสานงาน นางสาวสิริวิมล  วรรณโคตร

          องค์ความรู้ที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับคือ แนวทางแก้ปัญหาทางธุรกิจ, องค์ความรู้ที่ประยุกต์ใช้ได้จริง, เทคนิคและเคล็ดลับที่เกี่ยวข้องกับเกษตรและอาหาร, สูตรที่พร้อมผลิตและจำหน่าย และกระบวนการผลิตที่เหมาะสม

ไตรมาส 1 ประจำปีงบประมาณ 2567 เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีผู้มารับบริการให้คำปรึกษา จำนวน 48 คน มีความพึงพอใจร้อยละ 84.83 ดังข้อมูลต่อไปนี้

 

1. ความเหมาะสมของสถานที่ในการจัดกิจกรรมฝึกอบรม                               คิดเป็นร้อยละ    95.00

2. ความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการในระหว่างการฝึกอบรม  คิดเป็นร้อยละ    90.00

3. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการฝึกอบรม                                            คิดเป็นร้อยละ    63.33

4. ความเหมาะสมของหัวข้อในการฝึกอบรม                                                  คิดเป็นร้อยละ    88.33

5. การให้บริการและการอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่                              คิดเป็นร้อยละ    93.33

6. ความรู้ความสามารถของวิทยากร                                                              คิดเป็นร้อยละ    96.67

7. ประโยชน์ที่ได้จากการนำองค์ความรู้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้       คิดเป็นร้อยละ    88.33

8. ความพึงพอใจของท่านต่อกิจกรรมในภาพรวม                                            คิดเป็นร้อยละ    90.00

9. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมก่อนการเข้าฝึกอบรม         คิดเป็นร้อยละ    61.67

10. ความรู้และความเข้าใจของท่านในหัวข้อที่อบรมหลังการเข้าฝึกอบรม        คิดเป็นร้อยละ    81.67

                                                                                          ค่าเฉลี่ยรวม      คิดเป็นร้อยละ    84.83



รายงานโดย นายคฑาวุธ สว่างดี วันที่รายงาน 04/04/2567 [16491]
20000 48