2567 BUU Sakaeo academic service การบริการให้คำปรึกษาเทคโนโลยีสู่ชุมชน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [16357]

 

กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตเพื่อการยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น

ในหัวข้อโครงการ การถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปูนาสายพันธุ์พระเทพด้วยระบบเลียนแบบธรรมชาติในกลุ่มวิสาหิกจชุมชนที่สนใจ จังหวัดสระแก้ว

 

หลักการและเหตุผลของการจัดโครงการ

          “ปูนา” เป็นอาหารธรรมชาติที่เป็นอัตลักษณ์กลมกลืนกับวัฒนธรรมการกินของชุมชนชนบทมาช้านาน ซึ่งในอดีตปูนากับนาข้าวเป็นของคู่กันและหาจับได้ง่ายตามท้องนาหลังฤดูเก็บเกี่ยว และจัดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูกที่หาได้ง่ายในธรรมชาติ แต่เนื่องจากปัจจุบันการทำนาของเกษตรกรเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้สารเคมีและยากำจัดศัตรูพืชมากขึ้นเพื่อการเพิ่มผลผลิต ทำให้ระบบนิเวศในนาข้าวเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของปูนาจนเกือบสูญพันธุ์ ทำให้ปูนาตามธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลงและหาได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาข้อมูลพบว่า ปูนา ก็ยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและขายกันอย่างแพร่หลายมาโดยตลอด และมีการนำเข้าปูนาจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าปูนาจากประเทศเมียนมาปริมาณสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ มีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นปูที่หาได้จากในประเทศ

 

          โดยในปัจจุบันราคาปูนาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 80-100 บาท จึงมีเกษตรกรสนใจหันมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปูนาในเชิงพาณิชย์เพื่อการค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนปูนาได้เป็นอย่างดี ในปี 2562 อาชีพการเลี้ยงปูนาถือเป็นอาชีพใหม่ที่มีแนวโน้มคนให้ความสนใจมากขึ้น (เน็ตประชารัฐ, 2565) เพราะสามารถทำได้เองที่บ้าน อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้แก่ผู้เลี้ยง คือการเลี้ยงปูนาเพื่อนำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ไปจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงปูนา และการนำไปแปรรูปเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าให้ได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจาก ปูนา ถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมชั้นดี เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่อยู่ในวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ มักพบในเมนูท้องถิ่นของชุมชนภาคเหนือ ภาคอีสาน และขยายไปยังชุมชนเมืองเกือบทั่วประเทศ ดังนั้น การเพาะเลี้ยงปูนาจึงเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะรักษาปูนาให้คงไว้อยู่คู่คนไทย นอกจากอนุรักษ์รักษาพันธุ์แล้วชาวบ้านและเกษตรกรยังมีรายได้เสริมนำมาใช้จ่ายเลี้ยงครอบครัวอีกด้วย

 

          ใน จังหวัดสระแก้ว มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก แต่ในปัจจุบันเกษตรกรพืชไร่ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ จึงหันมาทำปศุสัตว์การเลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ โค กระบือ แต่ก็ยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยด้านต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ที่มีผลมาจากราคาอาหารสัตว์ที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมไปถึงปัญหาเรื่องระบบการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและเรื่องโรคระบาด ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านรายได้และความเป็นอยู่ที่แย่ลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งหากเกษตรกรมี “อาชีพทางเลือก” ที่สามารถทำผสมผสานร่วมกับการประกอบอาชีพหลักก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องรายได้ อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ดีขึ้นด้วย

 

ภาพการดำเนินโครงการ  https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1OCdBIGXl3O0xok30V5gPB-2eka9Ch56F

 

 



รายงานโดย ผศ.ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วันที่รายงาน 30/03/2567 [16357]
34000 40
1 [15976]

 

กิจกรรมที่ 1 โครงการ การประชาสัมพันธ์ศูนย์ให้คำปรึกษาและให้บริการวิชาการ ภายใต้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

          ในปีปัจจุบัน การบริหารจัดการการให้บริการต่าง ๆ ภายในคลินิกเทคโนโลยีมีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ BCG Economy Model ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆในการบริการให้คำปรึกษาและการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อชุมชนและผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน เช่น ด้านเกษตรและอาหารด้านพลังงานและวัสดุ ด้านสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยวและบริการและด้านความยั่งยืนทา'ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อก่อให้เกิด การสร้างอาชีพ การเพิ่มรายได้ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งในการบริการองค์ความรู้สู่ชุมชนมุ่งเน้นการบูรณาในศาสตร์ที่สอดคล้องกับ BCG Economy Modelด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ, ลดมลพิษ, การบริหารจัดการขยะ,การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืน

          จากการให้บริการชุมชนผ่านกิจกรรมจากเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เหล่านี้ ทำให้มหาวิทยาลัยเข้าใกล้กับชุมชนมากขึ้น เป็นที่พึ่งด้านวิชาการของประชาชน และเกิดความสัมพันธ์อันดีเยี่ยมในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงการสร้างโอกาสให้คณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากห้องเรียนสู้ชุมชน ผ่านกิจกรรมในโครงการบริการวิชาการภายใต้ชื่อของ “เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี”

          โครงการคลินิกเทคโนโลยี BUU Sakaeo academic service มีกิจกรรมการให้บริการคำปรึกษาตามองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยการประสานงานและการบริหารจัดการเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ชุมชน เพื่อสำรวจความต้องการในพื้นที่ให้บริการและวางแผนดำเนินการส่งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งกิจกรรมหลักที่วางแผนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน มีคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เป็นองค์ความรู้สำคัญด้านการเรียนการสอน โดยแบ่งศาสตร์ความเชี่ยวชาญของบุคลากรในคลินิกเทคโนโลยี ได้ดังนี้

1. ด้านเทคโนโลยีชีวภาพประยุกต์ เทคโนโลยีชีวภาพ จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม

2. ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

3. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และ การจัดการระบบเครือข่าย

4. ด้านพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน และวิสาหกิจชุมชน

5. ด้านการจัดการพลังงานและการประยุกต์ใช้พลังงาน

6. ด้านการพัฒนาเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมผู้สูงอายุ

7. ด้านเทคโนโลยีการเกษตร เช่น ด้านพืช ด้านสัตว์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร

 

ภาพการดำเนินโครงการ  https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1lRBYtxBikKfaVv38D8l9kwsc1BYPnnKv

 

กิจกรรมที่ 2 การลงพื้นที่พบกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่น เพื่อเตรียมถ่ายทอดองความรู้ในการให้บริการด้านเทคโนโลยีแก่ชุมชน

 

ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและให้บริการวิชาการ ภายใต้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ลงพื้นที่พบกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่น เพื่อเตรียมถ่ายทอดองความรู้ในการให้บริการด้านเทคโนโลยีในกลุ่มที่สนใจ และต้องการให้ช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิต การส่งเสริมการตลาด และการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

สถานการณ์ปัจจุบัน บริบทการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องมาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านทิศทางการพัฒนาประเทศที่มีกรอบนโยบายต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของการพัฒนาภาคเกษตรกรรม ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น จึงส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นต้องมีการ เรียนรู้ พัฒนา และปรับเปลี่ยนบริบทในการดำเนินชีวิตให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันด้วย ซึ่งประชาชนในจังหวัดสระแก้วส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก และมีพืชผลการเกษตรที่หลากหลาย รวมไปถึงมีผลิตภัณฑ์ที่ทำการแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดมากมาย เช่น อ้อย มันสำปะหลัง แคนตาลูป ชมพู่ ลำไย และพืชสมุนไพร เป็นต้น เมื่อภายหลังจากที่จังหวัดได้ประกาศให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็เกิดการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนาด้านเกษตรกรรมที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชน เกษตรกร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดความต้องการองค์ความรู้ใหม่ๆ และเกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีในพื้นที่เพื่อให้ประชาชน หน่วยงานต่าง ๆ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้เกิดการบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นตามมา นำไปสู่การสร้างแนวทางการพัฒนาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาชีพของประชาชนในชุมชน ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการพัฒนาของจังหวัดสระแก้ว

ดังนั้นมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จึงเป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาซึ่งมีพันธกิจในการให้ความรู้และการจัดโครงการบริการวิชาการแก่ประชาชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้าง การพัฒนา และการต่อยอดองค์ความรู้อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดสระแก้ว ซึ่งโครงการให้คำปรึกษาด้านวิชาการภายใต้แผนงานการบริการในนามของโครงการคลินิกเทคโนโลยี BUU Sakaeo academic service นั้น ถือเป็นศูนย์กลางสำคัญที่คอยให้คำปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ประชาชน และเป็นที่พึ่งของชุมชนในด้านวิชาการ นอกเหนือไปจากนั้น ยังให้บริการแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสระแก้วด้วย

ภาพการดำเนินโครงการ  https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1lRBYtxBikKfaVv38D8l9kwsc1BYPnnKv

 



รายงานโดย ผศ.ดร.ศิริประภา แจ้งกรณ์ วันที่รายงาน 19/01/2567 [15976]
26250 66