2567 โครงการบริการให้คําปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 0
ผล -ประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกเทคโนโลยีโครงการบริการให้คำปรึกษา เเละบริการข้อมูลเทคโนโลยี โดยเน้นปัญหาเชิงพื้นที่จากการรับโจทย์ - ประสานงาน อว.ส่วนหน้า จังหวัดชลบุรี เพื่อรับทราบปัญหาความต้องการ เชิงพื้นที่ของเเต่ละตำบลเพื่อนำมาปรับใช้ -วิเคราะห์ผลกระทบ เพื่อนำมาคำนวณมูลค่าทางเศรษฐกิจที่คว่าจะ เกิดขึ้นหลังดำเนินการ
ผล โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคดนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567โดยเริ่มดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 30 กันยายน พ.ศ. 2567 ซึ่งในกระบวนการ บริการให้คำปรึกษานั้นได้มีการกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการดังนี้ 1. จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี จำนวน 35 คน (ค่าเป้าหมายคือ 30 คน) 2. จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 165 คน (ค่าเป้าหมายคือ 120 คน) 3. จำนวนรวมผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการบริการ ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับบริการจำนวน 165 คน พบว่า ภาพรวมของระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.7
ผล มูลค่าทางเศษฐกิจที่เกิดจาการให้บริการ ให้คำปรึกษา ในรอบ 1 ปีนับจากวันมารับบริการ ให้คำปรึกษาไม่น้อยกว่า 300,000 บาท
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17365] |
คลินิกเทคโนโลยี ม.บูรพา จัดโครงการอบรม “การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สร้างอาชีพเพิ่มรายได้สู่ชุมชนที่ยั่งยืน”
…………………………………………
เมื่อวันที่ 10 ก.ย.67คลินิกเทคโนโลยี กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการอบรมเรื่อง “การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สร้างอาชีพเพิ่มรายได้สู่ชุมชนที่ยั่งยืน” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดโครงการฯ
พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพทูล แก้วหอม รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี กล่าวรายงาน การจัดโครงการอบรมในครั้ง นี้ได้รับเกียรติจาก นายระพีภัทร เสริมสุขจิระโชติ เกษตรอำเภอบ้านบึง กล่าวให้การต้อนรับ
โครงการดังกล่าว มีการบรรยายในหัวข้อ “ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน การผลิตผักไฮโดรโปนิกส์” Workshop การจัดทำแผงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ต้นทุนต่ำ เพื่อสร้างอาชีพ สู่ชุมชน ที่ยั่งยืน และการแปรรูปผักสลัดเพื่อเพิ่มมูลค่า
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนากานต์ ลักษณะ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเกษตรคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป ที่มีความสนใจการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
นำความรู้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มโอกาสทางการตลาดและการแข่งขันในธุรกิจยกระดับชุมชนให้มีความมั่นคงยั่งยืน ในอนาคตต่อไป ณ สุภญาออร์แกนิคฟาร์ม ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 11/09/2567 [17365] |
150250 | 85 |
4 [17364] |
คลินิกเทคโนโลยี ม.บูรพา เข้าร่วมโครงการอบรม “การบริหารจัดการธุรกิจไผ่ไม้เศรษฐกิจชุมชน Carbon Net zero
…………………………………..
เมื่อวันที่ 7 ส.ค.67 กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการ การบริหารจัดการธุรกิจไผ่ไม้เศรษฐกิจชุมชน Carbon Net zero ภายใต้แผนงานวิจัย การจัดการความรู้และเพิ่มศักยภาพการจัดการเทคโนโลยีและธุรกิจไผ่ไม้เศรษฐกิจชุมชน งบประมาณสนับสนุนจาก วช.
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ธรรมวิริยสติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเสริมสร้างความเข้มแข็งและใช้ประโยชน์งานวิจัย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ณ ห้องประชุม PJ301
อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยบูรพา (อาคารศาสตราจารย์ประยูร จินดาประดิษฐ์) กิจกรรมภายในงานช่วงเช้าได้รับเกียรติจาก คุณนันทพัชร ณ สงขลา Business Development Manager & Assistant to president บริษัท FDI Accounting and Advisory
จำกัด บรรยายหัวข้อ การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการกับ Net zero ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ข้อมูลที่ควรรู้ Carbon Footprint, Carbon Credit, Carbon Neutrality, Carbon Net Zeo ช่วงบ่ายได้รับเกียรติจาก คุณภาคภูมิ โกนุทาภรณ์ CEO
บริษัท Bamboo Solution Garden (บริษัทผู้ปลูกไผ่ ผลิตและจำหน่ายไม้ไผ่แปรรูป มีผลิตภัณฑ์ไผ่ที่หลากหลาย เช่น ลำไผ่กันปลวกมอด แผ่นพื้นผนัง และเฟอร์นิเจอร์) และ คุณณัฏฐ์ธน สาตรจีนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “กลไกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO)
กับการดำเนินการธุรกิจไผ่ เป็นไปได้จริงหรือ?” พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Carbon neutrality, Carbon credit, Carbon footprint แนวทางคิดและการคำนวณตลาดคาร์บอน การใช้กลไกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO)
ให้กับผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ และสามารถใช้กลไก net zero ในการบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ
รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 11/09/2567 [17364] |
0 | 50 |
4 [17181] |
คลินิกเทคโนโลยี ม.บูรพา เข้าร่วมประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall
.....................................................
🕛เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพทูล แก้วหอม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและพันธกิจสังคม เข้าร่วมประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
📌กิจกรรมภายในงานช่วงเช้า กล่าวเปิดงาน และ ปาฐกถาพิเศษ“THE POWER OF SRI NETWORK” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิธีมอบโล่
SRI ENGAGEMENT NETWORK โดยมี ดร.ทนงศักดิ์ เทพสนธิ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออก ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยบูรพาขึ้นรับรางวัล
📌กิจกรรมภายในงานช่วงบ่ายประชุมแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี แล
ะโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า ชุมชน (คูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
กรอบแนวทางการทำงานของแพลตฟอร์มภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน
ภายในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) จัดขึ้นโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เพื่อยกระดับทักษะองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแก่ประชาชนไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมนานาชาติ พร้อมแสดงศักยภาพของไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนเป็นเวทีให้ผู้เข้าร่วมงานได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
ระหว่างวันที่ 22 – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์กรุงเทพมหานคร
รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 02/08/2567 [17181] |
0 | 2 |
3 [16885] |
ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2567 ณ โรงเเรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 02/07/2567 [16885] |
6000 | 2 |
3 [16709] |
ม.บูรพา จัดโครงการอบรมเรื่อง “การเลี้ยงผึ้งชันโรง สร้างอาชีพเพิ่มรายได้สู่ชุมชนที่ยั่งยืน”
…………………………………………
เมื่อวันที่ (29 เม.ย. 67) คลินิกเทคโนโลยี กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการอบรมเรื่อง “การเลี้ยงผึ้งชันโรง สร้างอาชีพเพิ่มรายได้สู่ชุมชนที่ยั่งยืน”
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา เจริญพานิช ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ธรรมวิริยสติ รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี
กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการ บุคคลทั่วไป ที่มีความสนใจในการเลี้ยงผึ้งชันโรง นำความรู้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้สร้างอาชีพ สร้างรายได้
เพิ่มโอกาสสร้างธุรกิจยกระดับชุมชน ณ สวนชาญพฤกษ์ ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง ชลบุรี ซึ่งสวนชาญพฤกษ์เป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้โครงการที่ดินปันสุขของ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
เป็นส่วนที่มีการพัฒนาจัดการที่ดินอย่างเป็นระบบการจัดโครงการอบรมในครั้ง นี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพทูล แก้วหอม อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมเกษตรคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา
บรรยายในหัวข้อ “ ผึ้งชันโรง ดีและแตกต่างจากผึ้งทั่วไปอย่างไร” และ คุณคชาชาญ อัครชาญปรีชา ผู้จัดการโครงการสวนชาญพฤกษ์ บรรยายในหัวข้อ “สถานการณ์การเลี้ยงผึ้งชันโรงในปัจจุบัน
การเพาะเลี้ยงและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของผึ้งชันโรง” พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถามการนำความรู้จากโครงการอบรมฯ ไปใช้ประโยชน์สร้างาชีพในอนาคตต่อไป
รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 13/05/2567 [16709] |
52500 | 54 |
3 [16660] |
วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา ลงพื้นที่สำรวจ ตรียมความพร้อมเพื่อจัดโครงการอบรมเรื่อง “การเลี้ยงผึ้งชันโรง สร้างอาชีพเพิ่มรายได้สู่ชุมชนที่ยั่งยืน” ในวันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 22/04/2567 [16660] |
0 | 4 |
2 [16302] |
คลินิกเทคโนโลยี ม.บูรพาเข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้และเพิ่มศักยภาพการจัดการเทคโนโลยีและธุรกิจไผ่ไม้เศรษฐกิจชุมชนกิจกรรม การปลูก การจัดการสวนไผ่และการขยายพันธุ์ไผ่ .............................................................................. เมื่อวันที่ 23 มี.ค.67 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นิรมลธรรมวิริยสติรองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ในฐานะตัวแทนมหาวิทยาลัยบูรพาที่เป็นแม่ข่ายเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกได้รับเกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัจภัค สุขสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออกเป็นผู้กล่าวรายงาน โครงการการจัดการความรู้และเพิ่มศักยภาพการจัดการเทคโนโลยีและธุรกิจไผ่ไม้เศรษฐกิจชุมชน กิจกรรม การปลูก การจัดการสวนไผ่และการขยายพันธุ์ไผ่ และได้รับเกียรติจากดร.กัมปนาท พรพรหมวินิจ นายก อบต.เกษตรสุวรรณ นางธารารัตน์ โพธิ์ศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์ โดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ประจำปี 2566 โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี การขยายพันธุ์ไผ่และวัสดุเพาะชำพันธุ์ไผ่ การใช้ประโยชน์จากไผ่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์และสร้างบุคลากรด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรให้เป็นผู้บริหารจัดการธุรกิจการเกษตร ส่งเสริมการเรียนรู้ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายธุรกิจจากไผ่ในชุมชน โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม 2567ณ ศูนย์วิจัยชุมชนพันธุ์ไผ่เศรษฐกิจตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 27/03/2567 [16302] |
0 | 35 |
2 [16203] |
วันที่ 7 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูพา เข้าร่วมกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มทักษะด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่สำหรับสินค้าไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ในงานเทศกาล Bangsaen Gallery 2024ระหว่างวันที่ 7 – 8 มีนาคม 2566 ณ Way Coffee Houseโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. บุญชู บุญลิขิตศิริ รองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการฯ และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ธรรมวิริยสติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรวิจัยและความสัมพันธ์เครือข่าย รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รสา สุนทรายุทธ รองคณบดีฝ่ายวิชาการนวัตกรรม และประกันคุณภาพการศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดดังกล่าว กิจกรรมภายในงาน ได้รับเกียรติจากคุณสมพันธ์ ราชรักษา สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง Begindy Architectural Design Studio "บรรยายหัวข้อหลักการเขียนแบบและอ่านแบบผลิต (working drawing)"พร้อมกิจกรรม Workshop การวางแผน แบ่งงาน และการขึ้นผลงานจากแบบ (Coffee Driper) โดยคุณสันติหมวกสีปาน และคุณรรินทิพย์ สมงาม ช่างฝีมือหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่จากชุมชนจักสานไม้ไผ่ไร่หลักทอง เพื่อให้ช่างหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ยุคใหม่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักออกแบบ และผู้ที่สนใจในการพัฒนาทักษะด้านการออกแบบงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่สามารถใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดและถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มชุมชนของตนเองได้ กิจกรรมนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก วช. โครงการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์ โดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ประจำปี 2566 ภายใต้ “โครงการการจัดการความรู้และเพิ่มศักยภาพการจัดการเทคโนโลยีและธุรกิจไผ่ไม้เศรษฐกิจชุมชน” รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 11/03/2567 [16203] |
0 | 30 |
2 [16165] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมโครงการอบรมการสร้างมูลค่าสินค้าของไทยด้วยการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์"
-------------------------------------------------------------------
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมโครงการอบรม การสร้างมูลค่าสินค้าของไทยด้วยการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงสาระสำคัญการสร้างมูลคำสินค้าของไทยด้วยการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (G) ให้แก่ บุคลากรวิจัย นิสิต/นักศึกษา และชุมชน รวมถึงมหาวิทยาลัยเครือข่าย
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ธรรมวิริยสติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรวิจัยและความสัมพันธ์เครือข่าย รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์
ณ ห้องประชุม 406 อาคาร ภปร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ในปัจจุบัน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) คือ เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจงซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนแบรนด์ของท้องถิ่นที่บอกคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า การคุ้มครองสิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ช่วยส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรยั่งยืน โดยอาศัยจุดเด่นทั้งเอกลักษณ์และความโดดเด่นของสินค้าเกษตรเฉพาะพื้นที่ ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของสินค้าที่เชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ยกตัวอย่างสินค้า GI ของจังหวัดชลบุรี เช่น ครกหินอ่างศิลา เครื่องจักสานพนัสนิคม เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของสินค้าในท้องถิ่นนั้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่านจะได้รับประโยชน์ ได้รับความรู้และความเข้าใจในเรื่องการเตรียมข้อมูลและวิธีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ขอขอบคุณท่นวิทยากรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่กรุณาให้เกียรติมาบรรยายให้
ความรู้ และขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้
กิจกรรมภายในงาน ได้รับเกียรติจาก นางสาวญาดา เปสลาพันธ์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ วิทยากรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
บรรยายหัวข้อการอบรม เรื่อง “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์”
-สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์คืออะไร
-ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
-ขั้นตอนการเตรียมข้อมูลและขั้นตอนการขอรับคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
และหัวข้อการอบรม เรื่อง “กลยุทธ์ของการขอรับคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์”
-ตัวอย่างการยกยกระดับสินค้า GI ของประเทศไทย
-ความแตกต่างของสินค้าที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กับ สินค้าโอทอป
-กรณีศึกษาของผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการปรับรูปแบบธุรกิจด้วยกลยุทธ์ของการขอรับคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 28/02/2567 [16165] |
0 | 50 |
2 [16164] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมจัดโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา
เพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
หลักสูตรที่ 2 เส้นทางสู่ผลกระทบงานวิจัย (Impact Pathway) และมุมมองการตลาด
…………………………………………………………………………………………….
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
หลักสูตรที่ 2 เส้นทางสู่ผลกระทบงานวิจัย (Impact Pathway) และมุมมองการตลาด เพื่อให้บุคลากรวิจัย ประเมินผลกระทบการวิจัย ที่จะทำให้ได้ทราบถึงการบริหารจัดการโครงการของนักวิจัยในระยะเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงระยะสิ้นสุด ทำให้ได้ทราบความสำคัญ ประโยชน์ที่จะได้รับ และคุ้มค่าการลงทุนวิจัยมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcomes) และ ผลกระทบ (Impacts) วิเคราะห์ ขยายผล และสร้างมูลค่าให้กับ ผลิตภัณฑ์ / บริการ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กิจกรรมภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม (ที่ปรึกษาอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย และผู้จัดการ โปรแกรม Food Tech Accelerator และ Food Innopolis Global Network, Food Innopolis) บรรยายในหัวข้อ “Impact Pathway & Technology Evaluation” แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม Workshop การเขียน Impact Pathway หรือ เส้นทางสู่ผลกระทบจากงานวิจัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาธุรกิจ การตลาด และได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา แก้วแก่น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารการวิจัย กล่าวปิดโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม PJ301 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยบูรพา (อาคารศาสตราจารย์ประยูร จินดาประดิษฐ์)
รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 28/02/2567 [16164] |
8000 | 65 |
2 [16163] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมจัดโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา
เพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
หลักสูตรที่ 1 การออกแบบโมเดลธุรกิจและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (Value Proposition Design & Business Model Generation)
..................................................................................................................
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 กองบริหารการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
หลักสูตรที่ 1 การออกแบบโมเดลธุรกิจและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (Value Proposition Design & Business Model Generation) เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา เตรียมความพร้อมทักษะด้านการตลาด การประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness Level) ความเข้าใจถึงแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ การตลาด และนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ธรรมวิริยสติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรวิจัยและความสัมพันธ์เครือข่าย รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ณ ห้องประชุม PJ301 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยบูรพา (อาคารศาสตราจารย์ประยูร จินดาประดิษฐ์)
กิจกรรมภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม (ที่ปรึกษาอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย และผู้จัดการ โปรแกรม Food Tech Accelerator และ Food Innopolis Global Network, Food Innopolis) บรรยายในหัวข้อ ความหมายและประโยชน์ของ“Value Proposition Design” การวิเคราะห์ลูกค้าเป้าหมาย แนวทางการเขียน VPC เพื่อวิเคราะห์และสร้างโมเดลธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม Workshop ร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาธุรกิจ การตลาด และการทำงานวิจัยในอนาคตต่อไป
รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 28/02/2567 [16163] |
10000 | 70 |
1 [15949] |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ธรรมวิริยสติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรวิจัยและความสัมพันธ์เครือข่าย รองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี ในฐานะแม่ข่ายเครือข่ายวิจัยภาคตะวันออก นำผลงานวิจัยนวัตกรรม "เซราสาน" ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างครบวงจรตามแนวทาง BCG รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการจัดการธุรกิจไผ่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ ร่วมแสดงในงาน WORLD BAMBOO DAY IN THAILAND2023 พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี และศูนย์เทคโนโลยีและธุรกิจไม้ไผ่จังหวัดกาญจนบุรี ณ ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก ดร.รสา สุนทรายุทธ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ นวัตกรรม และประกันคุณภาพการศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมบรรยายในหัวข้อ FINE ART AND PRODUCT DESIGN FROM BAMBOO วิจิตรศิลป์และการออกแบบผลิตภัณฑ์จากไผ่ รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 19/01/2567 [15949] |
2000 | 30 |
1 [15945] |
คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมกิจกรรมรักษาพัฒนามาตรฐานพันธุ์ไผ่และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ธรรมวิริยสติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรวิจัยและความสัมพันธ์เครือข่าย ในฐานะตัวแทนมหาวิทยาลัยบูรพาที่เป็นแม่ข่ายเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี ภาคีเครือข่าย BCG จังหวัดชลบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรสุวรรณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้ไผ่บ้านคลองปริง ศูนย์เทคโนโลยีและธุรกิจไผ่ชุมชน และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดชลบุรี (AIC) ร่วมจัดกิจกรรม การรักษาพัฒนามาตรฐานพันธุ์ไผ่และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ เกิดการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์พันธุ์ไผ่ การสร้างธุรกิจอาหารสัตว์จากไผ่ การจัดการบูรณาการชุมชนสู่ความยั่งยืน BCG MODEL การพัฒนาการจัดการธุรกิจพันธ์ไผ่ รวมถึงการเผยแพร่นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับไผ่และผลิตภัณฑ์ไผ่ไทย สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการ การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ณ ศูนย์วิจัยชุมชนพันธุ์ไผ่เศรษฐกิจตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี รายงานโดย น.ส.เบญจพร ชุมทอง วันที่รายงาน 19/01/2567 [15945] |
5000 | 40 |