2567 ให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี 0
ผล 1. ผู้รับบริการคำปรึกษา จำนวน 274 คน 2. ผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี จำนวน 184 คน 3. ข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด จำนวน 23 รายการ 4. ข้อมูลการบริการให้คำปรึกษาที่ลงในระบบ จำนวน 20 รายการ 5. ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วย วทน. จำนวน 24 รายการ 6. ข้อมูลผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงาน จำนวน 20 รายการ
ผล 1. จำนวนผู้นำไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 96.26 2. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 97.25
ผล ทางเศรษฐกิจ 1. เพิ่มรายได้ของผู้รับบริการและชุมชน ร้อยละ 70.88 2. ลดรายจ่ายของผู้รับบริการและชุมชน ร้อยละ 26.21 3. มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ 1.61 เท่า
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17425] |
ข้อมูลรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี พร้อมทั้งการประเมิน และการติดตามผล รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้ รายงานโดย ดวงฤทัย แก้วคำ วันที่รายงาน 17/09/2567 [17425] |
0 | 0 |
4 [17424] |
ดร.ชลากร อุดมรักษาสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้คำปรึกษาแก่นายวิเชษฐ เตียนมีผล ในการพัฒนาด้วยการติดตั้งชุดเซนเซอร์เพิ่มเติม เพื่อให้สะดวกต่อการพัฒนาระบบและสามารถตรวจสอบอุณหภูมิที่แท้จริงได้ เพื่อลดของเสียที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของเตาเผา เนื่องจากเตาเผามีการควบคุมด้วยเซนเซอร์ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่ามีการควบคุมอุณหภูมิที่ถูกต้อง และพัฒนาด้วยการเพิ่มระบบ IoT เพิ่มเติม เพื่อช่วยเรื่องการแจ้งเตือนหากเตาเผามีปัญหาความร้อนมากเกินหรือน้อยเกินไป สามารถตรวจสอบการทำงานย้อนหลังของเตาเผาได้ ทำให้ลดภาระงานของผู้ใช้งาน เนื่องจากมีการแจ้งเตือนผ่านระบบ IoT แสดงผ่าน Dashboard ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องคอยควบคุมเตาเผาอย่างใกล้ชิด และสามารถทำงานอื่นระหว่างที่เตาเผาทำงานได้ อีกทั้งยังสามารถวางแผนการผลิต ของแต่ละผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี และอาจารย์คณิต อยู่สมบูรณ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ให้คำปรึกษาในการพัฒนาเป็นกล่องกระดาษพิมพ์ลาย เคลือบกันน้ำ ใส่เบญจรงค์ โดยเปลี่ยนจากวัสดุผ้าไหมเป็นการห่อกระดาษพิมพ์ลาย เคลือบกันน้ำ ในรูปแบบ Setup Box เพิ่มวัสดุป้องกันความชื้น พร้อมแถบวัดความชื้น เพื่อให้แจ้งเตือนในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ถูกวางอยู่ในสถานที่ที่มีความชื้นมากจนเกินไป และระบุวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้องลงบนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือผู้บริโภคสามารถเก็บรักษาบรรจุภัณฑ์ให้มีความคงทนถาวรมากขึ้น รศ.ดร.วิไลวรรณ ลีนะกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาแก่นางรัชดา หนองบัว ในการพัฒนาด้วยการตรวจสอบและวิเคราะห์สารตกค้างหรือสารปนเปื้อนตามมาตรฐานอุตสาหกรรมภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร เพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 32-2546. ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาแก่นางกรองจิตต์ ขจรภัย ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารกับลูกค้า และสามารถให้ลูกค้าสัมผัสกับตัวสินค้าประกอบการตัดสินใจก่อนการซื้อ นอกจากนี้ ความแปลกใหม่และเอกลักษณ์ของสบู่ที่นอกจากจะสามารถใช้งานเป็นสบู่เป็นของฝากของขวัญได้ ตัวบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และสบู่จากสารสกัดจากรังไหมที่ทำการหุ้มใยไหมที่ย้อมสีจากสมุนไพรไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตแบบ hand made มีคุณค่าและเอกลักษณ์ ควรพัฒนาย้อมเส้นใยไหมเหลือทิ้งจากสารสกัดสมุนไพรที่ให้สีต่าง ๆ พัฒนาและทดสอบการย้อมสีเส้นไหมเหลือทิ้งด้วยสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณในเรื่อง ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาแก่นางชลยา เขื่อนประเสริฐ ในการพัฒนาโลชั่นในรูปแบบของสติ๊กที่มีความแปลกใหม่ สะดวกในการพกพา มีประสิทธิภาพในการบำรุงผิวที่ดีจากองค์ประกอบต่าง ๆ และผู้ประกอบการสามารถผลิตได้จริง ณ สถานประกอบการ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบของสติ๊กพลาสติก ทนทาน สวยงาม หรูหรา พกพาได้สะดวก โดยมีฉลากที่บ่งบอกถึงองค์ประกอบ และสรรพคุณของโลชั่นอย่างครบถ้วน รายงานโดย ดวงฤทัย แก้วคำ วันที่รายงาน 17/09/2567 [17424] |
0 | 4 |
4 [17403] |
21 พฤษภาคม 2567 ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นำคณะอาจารย์ นักบริการวิชาการ และนักวิจัย จากคณะต่าง ๆ ได้แก่ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน พร้อมทั้ง วิทยาลัยการบริหารแห่งรัฐ ร่วมกับเทศบาลเมืองบางคูรัด จังหวัดนนทบุรี ตัวแทนกลุ่มชุมชน/วิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการ ได้แก่ เครื่องหนังธัญสุดา (กระเป๋าหนังวัว) คุ้มก้าวหน้า (ข้าวไรเบอรี่) กลุ่มประดิดประดอย (กระเป๋าจากถุงน้ำยาซักผ้า) และกลุ่มนวดแผนไทย เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ "การพัฒนาการบริการวิชาการและพัฒนาอาชีพอย่างมีคุณภาพตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และการดำเนินงานตามแผนพัฒนาจังหวัดนนทบุรี" และ “การดำเนินการบริการวิชาการ วิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพและต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ชุมชน” รวมถึงสำรวจประเด็นปัญหาและความต้องการของกลุ่มชุมชน เพื่อหาโจทย์วิจัยร่วมกัน และวางแนวทางการดำเนินงานในการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยกิจกรรมดังกล่าว ณ เทศบาลเมืองบางคูรัด จังหวัดนนทบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 47 คน รายละเอียด link ด้านล่างนี้
27-28 พฤษภาคม 2567 แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยี ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา มทร.พระนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์การเรียนรู้อดิตยา เบอร์ล่า อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีสมาชิกในชุมชน เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
30-31 พฤษภาคม 2567 ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ลงพื้นที่ดำเนินโครงการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ นายอุเทน พรหมมิ และ นายศักดิ์เทพ จำนงค์ลาภ และวิทยากรจากสถาบันวิจัยและพัฒนา คือ นางสาวหนึ่งฤทัย แก้วคำ บรรยายและฝึกปฏิบัติ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพสินค้า การเตรียมข้อมูลสินค้าสำหรับนำเข้า Page Facebook การแต่งภาพสินค้า การสร้าง Page Facebook การจัดการข้อมูลสินค้า และการส่งเสริมการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ แก่กลุ่มชุมชนและผู้ประกอบการในตำบลชะอำ ณ เทศบาลเมืองชะอำ จ.เพชรบุรี จำนวน 32 คน รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
7 มิถุนายน 2567 ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ลงพื้นที่ดำเนินโครงการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 3 โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริรัตน์ พานิช และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ บรรยายและฝึกปฏิบัติ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปข้าวเป็นชาข้าว และการตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของชาข้าว แก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพบ้านหนองขุม จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 33 คน รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
14 มิถุนายน 2567 ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ดำเนินโครงการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ครั้งที่ 4 โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์อินท์ธีมา หิรัญอัครวงศ์ และอาจารย์ศศิธร ป้อมเชียงพิณ บรรยายและฝึกปฏิบัติถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการทำมาการองและทิมเบอร์ริง ณ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 21 คน รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
18 มิถุนายน 2567 ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยีภายใต้กิจกรรมรับการตรวจประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ณ ห้องประชุมรพีพัฒน์ ชั้น 3 อาคารรพีพัฒนศักดิ์ ศูยน์เทเวศร์ โดยนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากงานคลินิกเทคโนโลยี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษฟางข้าวและเปลือกไข่เหลือทิ้ง จากโครงการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS) ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร จากโครงการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรี แพลตฟอร์มแพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และชาข้าวสมุนไพร จากโครงการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (TCS) รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
21 มิถุนายน 2567 ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง “การเตรียมความพร้อมพัฒนาชุมชนและการเขียนข้อเสนอเพื่อยื่นขอทุนด้านการพัฒนาสังคม” โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนจัดโครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัย ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และเครือข่ายมหาวิทยาลัย มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่ และสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนด้านการพัฒนาสังคม ผ่านการประชุมออนไลน์ (Online) รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
20-21 มิถุนายน 2567 แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยี ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา มทร.พระนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 2 ณ วิสาหกิจชุมชนโลกยิ้ม ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 คน รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
22-23 สิงหาคม 2567 แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยี ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกและดอกไม้ใยบัว เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของชุมชนในตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ณ วิสาหกิจชุมชนผ้าบาติกและดอกไม้ใยบัว อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 46 คน รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
6–8 กันยายน 2567 แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยี ในโครงการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดสระบุรี ปี 2 ณ โรงเรียนศาสตร์พระราชา (วัดอู่ตะเภา) ต.หนองแซง อ.ม่วงหวาน จ.สระบุรี จำนวน 21 คน รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้ รายงานโดย ดวงฤทัย แก้วคำ วันที่รายงาน 16/09/2567 [17403] |
238750 | 260 |
3 [16766] |
8-9 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา และศูนย์คลินิกเทคโนโลยีโชติเวช เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค" ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งจัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้ https://clinictech.rmutp.ac.th/?p=2277#more-2277 รายงานโดย ดวงฤทัย แก้วคำ วันที่รายงาน 05/06/2567 [16766] |
0 | 0 |
2 [16451] |
13-14 มีนาคม 2567 แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยี ในโครงการส่งเสริมการบริการสังคมสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) รุ่นที่ 1 ณ ห้องศูนย์การเรียนรู้ Big Data Virtual Lab ชั้น 4 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มทร.พระนคร (ศูนย์เทเวศร์) โดยมีผู้เข้าอบรมประกอบด้วย บุคลากร จำนวน 18 ราย นักศึกษา จำนวน 2 ราย และบุคคลทั่วไป จำนวน 10 ราย รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 รายhttps://ird.rmutp.ac.th/?p=20981 19-20 มีนาคม 2567 แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยี ในโครงการส่งเสริมการบริการสังคมสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) รุ่นที่ 2 ณ เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นจำนวน 33 รายhttps://ird.rmutp.ac.th/?p=21046 26 มีนาคม 2567 แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์งานคลินิกเทคโนโลยี ในโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กิจกรรมที่ 2 ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปการเกษตรบ้านสวนลุงจ่า ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น จำนวน 40 คนhttps://ird.rmutp.ac.th/?p=21006 รายงานโดย ดวงฤทัย แก้วคำ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16451] |
0 | 103 |
2 [16122] |
9–12 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับงานพัฒนาบ่มเพาะธุรกิจ (UBI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นำผลงานเด่นเข้าร่วมจัดนิทรรศการในงาน Green Technology Investment Forum 2023 Green Technology Expo ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมกรุงเทพ (BITEC) Hall 98-99 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการค้าระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน และนานาชาติ รายละเอียดตาม link ด้านล่างนี้
29-30 มกราคม 2567 นำคณะอาจารย์ นักบริการวิชาการ และนักวิจัย จาก 9 คณะ และวิทยาลัยการบริหารแห่งรัฐ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสุพรรณบุรี และกลุ่มชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมทั้ง มทร.กรุงเทพ ซึ่งเป็น อว.ส่วนหน้าของจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมกิจกรรมฯ เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ รายงานโดย ดวงฤทัย แก้วคำ วันที่รายงาน 12/02/2567 [16122] |
0 | 91 |