2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17460]

วันที่ 7-8 กันยายน 2567 โครงการอบรมพัฒนาทักษะและสร้างอาชีพเพื่อสร้างรายได้หลักสูตรระยะสั้น ประจำปีงบประมาณ 2567 หลักสูตรคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเชิงพาณิชย์เพื่อการสร้างรายได้ออนไลน์ ณ สาขาการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 19/09/2567 [17460]
0 40
4 [17427]

วันที่ 15-16 กันยายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพเส้นใยผักตบชวาและการออกแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อการขนส่ง ณ วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมศิลป์ ถิ่นเจ้าพระยา ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 17/09/2567 [17427]
0 25
4 [17408]

วันที่ 16 กันยายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ลงพื้นที่ชี้แจงแนวทางการรับสมัครผู้ประกอบการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุมอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 16/09/2567 [17408]
6878 25
4 [17382]

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่วุฒิปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง (1คน × 15,000 บาท × 8เดือน) (รวมประกันสังคมและอื่นๆ)



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 12/09/2567 [17382]
120000 1
4 [17381]

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ลงพื้นที่ชี้แจงแนวทางการรับสมัครผู้ประกอบการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องจันทร์สุดา โรงแรมสตาร์ คอนเวนชั่น จังหวัดระยอง



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 11/09/2567 [17381]
6872 60
4 [17380]

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางด้านการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม กับจังหวัดระยอง โดย นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง และตัวแทนคณะทำงาน ณ ศาลากลางจังหวัดระยอง ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 11/09/2567 [17380]
0 20
4 [17371]

วันที่ 6-8,10 กันยายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับผ้ามัดย้อมด้วยนวัตกรรมการออกแบบและการย้อมสี ณ วิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติบ้านโคกขาม อําเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีกิจกรรมการบรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ประเภทเครื่องแต่งกาย หลักการสร้างแบบตัดโครงเสื้อ และการตัดเย็บโครงเสื้อ



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 11/09/2567 [17371]
0 25
4 [17370]

วันที่ 3-5 กันยายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ลงพื้นที่ดำเนินการจัดโครงการการพัฒนาเครื่องจักรและบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ไม้กวาดดอกหญ้าบ้านทุ่งวัวแดง ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านทุ่งวัวเเดง ตำบลวังตะเคียน อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท โดยมีกิจกรรมการบรรยายและฝึกปฎิบัติ เรื่อง “ส่วนประกอบและโครงสร้างของโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ” โดยปฏิบัติการติดตั้งส่วนประกอบและโครงสร้างของโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ และการสร้างบรรจุภัณฑ์สินค้าสำหรับการขนส่ง



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 11/09/2567 [17370]
0 37
4 [17360]

วันที่ 29-31 สิงหาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ดำเนินการจัดโครงการการยกระดับผ้ามัดย้อมด้วยนวัตกรรมการออกแบบและการย้อมสี ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติบ้านโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีกิจกรรมการบรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การทดสอบผ้าที่ใช้ในการทำผ้ามัดย้อมและการศึกษาพืชที่ให้สีในท้องถิ่น โดยปฏิบัติการทดสอบคุณสมบัติเส้นใยผ้า



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 10/09/2567 [17360]
0 25
4 [17354]

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เข้าร่วมประชุมในงานประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI)Network Townhall ณ เวทีกลาง ภายในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ชั้น G ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ  



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 10/09/2567 [17354]
0 6
3 [16964]

วันที่ 29-30 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชุมชนในพื้นที่หุบป่าตาด
จ.อุทัยธานี ด้านการท่องเที่ยว การสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ในท้องถิ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างแบรนด์/บรรจุภัณฑ์
 



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 04/07/2567 [16964]
100000 40
3 [16737]

วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้เข้าร่วมกิจกรรม"Appropriate Technology MATCHING DAY 2024 เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน ประจำปี 2567 โซนภาคกลาง” ภายใต้แผนงาน RU การขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและแก้หนี้ครัวเรือน ประจำปี 2567 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฎ 38 แห่ง และเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ณ ห้องประชุม CONVENTION CENTER โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ 



รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 29/05/2567 [16737]
0 100
2 [16607]
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้กวาดดอกหญ้าบ้านทุ่งวัวแดง ตั้งอยู่เลขที่ 31บ้านทุ่งวัวแดง หมู่ 1ต.วังตะเคียน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท มีนางสาวสุธน กรองใจ เป็นประธานกลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านทุ่งวัวแดง รวมตัวจากกลุ่มสตรีที่ว่างงานหลังฤดูทํานา โดยในหมู่บ้านมีไม้โมกมันจํานวนมาก จึงมีความคิดที่จะประดิษฐ์ไม้กวาดเริ่มแรกมีสมาชิกในกลุ่ม 7คน ต่อมามีผู้สนใจเพิ่มมากขึ้นจึงมีสมาชิกเพิ่มตลอดเวลา จนถึงปัจจุบันนี้มีสมาชิกรวมกันทั้งสิ้น 133คน เอกลักษณ์ในการถักไม้กวาดของกลุ่มจะถักเป็นลักษณะหางหงส์ทําให้ดูพริ้วสวยงามโดยการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น มีความประณีตในการประดิษฐ์ไม้กวาดเป็นอย่างดีเป็นที่ต้องการของคนในชุมชนและท้องถิ่นใกล้เคียง แต่เดิมได้ใช้ไม้หวายสําหรับถักร้อยแต่ปัจจุบันหายากจึงต้องใช้ปอพลาสติกแทนซึ่งได้คุณภาพเหมือนกันเพียงแต่เป็นวัสดุที่ต้องสั่งซื้อ จากการลงพื้นที่และได้สอบถามถึงปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการพบว่าปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้กวาดดอกหญ้าบ้านทุ่งวัวแดง ได้มีการผลิตไม้กวาดดอกหญ้าออกมาจำหน่ายโดยมีผลิตภัณฑ์อยู่ 3 แบบ ได้แก่ ไม้กวาดดอกหญ้าแบบหางหงษ์ ไม้กวาดดอกหญ้าแบบหางช้างและไม้กวาดดอกหญ้จิ๋วแจ๋ว (แบบหางช้าง) ซึ่งเคยได้รับมาตรฐาน มผช. ปัจจุบันมีลูกค้าบางกลุ่มที่มีความต้องการซื้อสินค้าจำนวน 10-20 ด้ามและต้องการให้ทางกลุ่มทำการจัดส่งให้แต่เนื่องจากทางบริษัทขนส่งนั้นจะต้องให้มีการบรรจุสินค้าลงในกล่องเท่านั้นและทางบริษัทไม่มีขนาดกล่องที่สามารถรองรับสินค้าได้พอดีและรักษาป้องกันสินค้าให้กิดการเสียหายได้ นอกจากนั้นในส่วนของการผลิตตั้งแต่การรับซื้อดอกหญ้ามาจากเชียงรายและต้องทำการตากให้แห้งรวมทั้งการทำด้ามที่จะต้องทำการตัด ปลอก เหลาและดัดให้มีความโค้งเป็นรูปทรงด้ามหางหงษ์ซึ่งเป็นรูปทรงที่มีความนิยมพบว่าการตากนั้นจะต้องตากบนลานปูนบนพื้นที่ตากข้าวซึ่งต้องใช้พื้นที่อีกทั้งในช่องฤดูฝนทำให้ไม่มีเนื้อที่ในการตากและจัดเก็บ ในการผลิตด้ามไม้กวาดเริ่มจากการคัดและตัดไม้โมกมาทำการปลอกเปลือกก่อนที่จะนำไปเหลาทั้งนี้เพื่อลดการชำรุดและการเปลี่ยนของใบมีดที่ปล่อยเกินไป ซึ่งทำให้เสียเวลาในการผลิต ดังนั้นจากที่กล่าวมาข้างต้นทาง คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จึงสรุปปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาโดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทางได้แก่ 1) แนวทางการพัฒนาทางด้านบรรจุภัณฑ์ โดยการออกแบบและพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ขนส่งไม้กวาดดอกหญ้าที่สามารถบรรจุได้มากถึง 20 ด้าม ที่สามารถป้องกันไม่ให้ตัวด้ามไหลมากองรวมกันและป้องกันดอกหญ้าเกิดการเสียหาย 2) แนวทางการพัฒนาทางด้านเครื่องจักร โดยการพัฒนาโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ที่แบ่งเป็นชั้นได้หลายชั้นสามารถอบได้ทั้งดอกหญ้าและด้ามไม้กวาด และการพัฒนาเครื่องเหลากลึงทำด้ามไม้กวาดที่สามารถทั้งปลอกและเหลากลึงได้

รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 05/04/2567 [16607]
0 10
2 [16606]
วันที่ 24 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ “คุณกัญญา วงษ์สวรรค์ หรือพี่แหม่ม” ประธานกลุ่มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติแห่งบ้านโคกขาม เป็ผู้ประกอบการ OTOP ที่อยู่ปัจจุบัน 44/7 หมู่ที่ 9 ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์ 062-962-3921 ชุมชนแห่งนี้มีวัตถุดิบในการนำมาทำผ้ามัดย้อมค่อนข้างเยอะ เพราะด้วยพื้นที่อยู่ติดกับคลอง มีต้นไม้เยอะ ทั้งโกงกาง และต้นจากจึงได้นำวัตถุดิบเหล่านั้นมาลองเรียนรู้โดยการทดลองทำโดยข้อดีของสีมัดย้อมที่ได้จากธรรมชาติ คือ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถใส่ผลิตภัณฑ์มัดย้อมจากที่นี่ได้ เพราะวัตถุดิบเหล่านี้ล้วนทำมาจากธรรมชาติทั้งสิ้นและสามารถลดต้นทุนในการผลิต ผลิตภัณฑ์:วิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติบ้านโคกขาม เป็นที่ผลิตผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ อาทิ เปลือกลูกจาก,เปลือกมะพร้าว,ใบหูกวาง,ฝาง

รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 05/04/2567 [16606]
0 6
1 [15977]
วันที่ 5 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จัดกิจกรรมออกบูธประชาสัมพันธ์สินค้าเพื่อเพิ่มยอดขายและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าOTOPรองเท้าTEENTB(จากผักตบชวา)ณ ตลาดนัดหลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 19/01/2567 [15977]
0 10
1 [15981]
วันที่ 8-18 ธันวาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ออกบูธประชาสัมพันธ์สินค้าเพื่อเพิ่มยอดขาย และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เส้นทุเรียนอบธัญพืช และผลิตภัณฑ์รองเท้าTEENTB(จากผักตบชวา)ในงาน "กาชาด 100 ปี" ณ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจากกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)

รายงานโดย น.ส.อัจฉรา จินดาจำนง วันที่รายงาน 19/01/2567 [15981]
0 10