2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567 0
ผล ทางเศรษฐกิจ -ชุมชนสามารถสร้างอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ตามอัตภาพ มีความเข้มแข็งในการผลิตสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่ม มีมาตรฐานในการผลิตมากขึ้น ทางสังคม -กลุ่มชุมชนมีความเข้มแข็ง ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น มีความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ และร่วมมือในการปฏิบัติงาน ประสานงานกันมากขึ้น
ผล จากการดำเนินโครงการให้บริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อชุมชน เพื่อเป็นตัวกลางและประสานการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างเครือข่าย และเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและสนับสนุนงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในพื้นที่กลุ่มภาคกลางตอนบน พบว่าผลการดำเนินการที่ผ่านมาสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในระดับมากที่สุด ร้อยละ 84 แสดงให้เห็นว่าโครงการให้บริการให้คำปรึกษาข้อมูลเทคโนโลยี เพื่อชุมชนของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี สามารถตอบโจทย์และช่วยแก้ไขปัญหาให้กลุ่มชุมชนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี กลุ่มชุมชนต่างๆ ที่ได้รับการให้บริการจากคลินิกเทคโนโลยีดังกล่าว มีความพึงพอใจ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งสามารถนำความรู้และข้อมูลเทคโนโลยีที่ได้รับมาพัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ปัญหา เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สามารถเลี้ยงตัวเอง นำไปเป็นแนวทางเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพรวมทั้งนำไปสู่ความเข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป
ผล ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ 1.รายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 2.รายจ่ายที่ลดลงของกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 3.ผู้บริโภคที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพมีผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น 4.ผู้ประกอบการได้รับผลและพัฒนาธุรกิจของตนเอง ผลกระทบด้านสังคม 1.จำนวนผู้ได้รับการจ้างงานเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 4 คน 2.ผู้รับบริการมีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10 ผลกระทบด้าสิ่งแวดล้อม 1.ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร 2.เกษตกรมีทางเลือกในการใช้สารชีวภัณฑ์ที่ปลอดภัยทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 3.พืชได้ดูแลและอารักขากันเองโดยไม่ต้องใช้สารเคมี
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [17413] |
รายงานไตรมาส 4 เรื่องการบริการให้คำปรึกษาการทดสอบความปลอดภัยทางเคมีและจุลินทรีย์ของวัตถุดิบสมุนไพร บริษัท สมุนไพรเทพรักษา จำกัด ที่รับซื้อจากชุมชน ในวันที่ 12-17สิงหาคม พ.ศ.2567คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย อาจารย์ ผศ.ดร.ภาราดร งามดีผู้ประสานงานและผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งทีมวิทยากร ได้ดำเนินการลงพื้นที่ ณ บริษัท สมุนไพรเทพรักษา จำกัด. 99หมู่6ตำบลห้วยบง. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ. จังหวัดสระบุรี เนื่องจาทางบริษัท สมุนไพรเทพรักษา จำกัด ติดต่อมาทางผู้ประสานงานของสำนักงานคลินิกเทคโนโลยีมีความต้องการให้ทางคลินิกเทคโนโลยีส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการทดสอบความปลอดภัยทางเคมีและจุลินทรีย์ของวัตถุดิบสมุนไพร บริษัท สมุนไพรเทพรักษา จำกัด ที่รับซื้อจากชุมชน ทางคลินิกเทคโนโลยีจึงได้ติดต่อไปทาง ผศ.ดร.ภาราดร งามดี ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและการวิเคราะห์ เพื่อให้คำแนะนำและลงพื้นที่ ดังกล่าว พร้อมทั้งทำการเก็บตัวอย่างสมุนไพรมาทำการวิเคราะห์หาค่าทางเคมีและจุลินทรีย์ตามลำดับ โดยตัวอย่างที่นำมาจะต้องมาวิเคราะห์หาค่าที่ห้องแลปของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี หลังจากที่ทราบผลวิเคราะห์แล้ว ทางอาจารย์ ผศ.ดร.ภาราดร งามดี พร้อมทั้งทีมวิทยากร นำผลที่ทราบทั้งหมดมานำเสนอผลการวิเคราะห์และให้คำปรึกษาถึงแนวทางการป้องกันและกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ให้แก่ บริษัท สมุนไพรเทพรักษา จำกัด ได้รับทราบถึงปัญหา หมายเหตุ : เนื่องจากการรายงานลงในระบบ CMO ล่าช้า เพราะต้องรายงานรอผลจากการวิเคราะห์หาค่าต่างๆจากห้องแลปครับ รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 17/09/2567 [17413] |
3900 | 5 |
4 [17345] |
รายงานไตรมาส 4 ค่าใช้จ่ายในสำนักงานคลินิกเทคโนโลยีและค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคลิกเทคโนโลยี
ค่าใช้จ่ายประจำสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี
ค่าโทรศัพท์สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือนมิถุนายน 2567 - กันยายน 2567 จำนวน 404 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ประจำสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี ค่ากระดาษ,ค่าหมึกเครื่องปริ๊น,ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์และอื่นๆ จำนวน 10,265 บาท ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี
ค่าจ้างตอบแทนเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือนกรกฎาคม 2567 - กันยายน 2567 จำนวน 3 เดือน เดือนละ 15,000 บาท รวมทั้งหมด 45,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 55,669 บาท
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 10/09/2567 [17345] |
55669 | 2 |
4 [17344] |
รายงานไตรมาส 4 เรื่องการเข้าร่วมงานมหกรรมเทพสตรี 104 ปี
วันที่ 2-6 กันยายน 2567 สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ร่วมมือกับทางศูนย์วิทยาศาสตร์ ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการการลดคาร์บอนฟุตปริ๊นภายในองค์กรให้แก่ผู้เข้าร่วมและมีเสวนาเรื่องการลดคาร์บอนที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 10/09/2567 [17344] |
0 | 6 |
4 [17228] |
รายงานไตรมาส 4 เรื่อง การเข้าร่วมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2567 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ในวันที่ 19-21 สิงหาคม 2567 สำนักงานคลินิกเทคโนโลยีร่วมมือกับศูนย์วิทยาศาสตร์ จัดบูทแสดงอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ให้แก่ผู้เยี่ยมชมและประชาสัมพันธ์บริบทการทำงานทั้งการให้บริการให้คำปรึกษาของทางคลินิกเทคโนโลยีและการบริการงานด้านวิชาการของทางศูนย์วิทยาศาสตร์
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 22/08/2567 [17228] |
0 | 3 |
4 [17184] | 0 | 1 | |
4 [17174] |
รายงานไตรมาส 4 เรื่อง การเข้าร่วมงาน อว.แฟร์และเข้าร่วมประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้เข้าร่วมงาน อว.แฟร์และเข้าประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall ณ ห้องประชุม 211 ชั้น 2 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 31/07/2567 [17174] |
840 | 2 |
4 [17136] |
รายงานไตรมาส 4 การประชาสัมพันธ์เตรียมความพร้อมการเขียนยื่นข้อเสนอโครงการ (Project Brief) ประจำปีงบประมาณ 2568 $$$$$$$$ ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ข่าวดีนะครับ $$$$$$$
สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ขอเชิญชวน อาจารย์ นักบริการวิชาการ เตรียมความพร้อมการเขียนยื่นข้อเสนอโครงการ (Project Brief) ประจำปีงบประมาณ 2568
กำหนดส่งรอการยืนยันจากทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอีกครั้งหนึ่ง
งบประมาณไม่เกิน 250,000 บาท
โดยมีแผนภาพรวมของโครงการ ในแต่ละแพลตฟอร์ม
พร้อม วีดีโอนำเสนอผ่านช่อง YouTube ไม่เกิน5 นาที ดังนี้
แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน(Building Community Enterprise : BCE)
แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (Science Community Incubator : SCI)
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานคลิกนิกเทคโนโลยี โทร. 036-427384
อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน โทร. 083-0606682
หรือติดต่อ ว่าที่ ร.ต.กฤษดา จำปาทิพย์ โทร. 098-4436399
อาจารย์ นักบริการวิชาการ และผู้วิจัย ท่านใดมีความประสงค์ยื่นข้อเสนองบโครงการประจำปีงบประมาณ 2568 ขอความอนุเคราะห์ส่งร่างโครงการให้กับสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี (ศูนย์วิทยาศาสตร์ ห้อง 9/110 ชั้น 1) เพื่อพิจารณาตรวจสอบก่อนยื่นของบประมาณตามวันและเวลาที่ สป.อว. ระบุต่อไป
หมายเหตุ : หากมีกำหนดการส่งยื่นข้อเสนอโครงการจาก สป.อว.ที่แน่นอนแล้วทางสำนักงานคลินิกเทคโนโลยีจะแจ้งให้ทราบครับและอาจารย์ท่านใดที่มีข้อสงสัยในการเขียนยื่นข้อเสนอโครงการ Project Brief รบกวนแอดไลน์กลุ่มคลินิกเทคโนโลยีเพื่อขอรับการให้คำปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
https://www.facebook.com/share/p/5GPGEUXH2TdLeziB/ รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 12/07/2567 [17136] |
0 | 2 |
3 [16841] |
รายงานไตรมาส 3 ค่าใช้จ่ายในสำนักงานคลินิกเทคโนโลยีและค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคลิกเทคโนโลยี
ค่าใช้จ่ายประจำสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี
ค่าจัดส่งเอกสารราชการทางไปรษณีย์ไปยัง สนง.ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 - มิถุนายน 2567 จำนวน 306 บาท
ค่าโทรศัพท์สำนักงานคลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือนมิถุนายน 2566 - พฤษภาคม 2567 จำนวน 1,225 บาท
ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี
ค่าจ้างตอบแทนเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือนตุลาคม 2566 - มิถุนายน 2567 จำนวน 9 เดือน เดือนละ 15,000 บาท รวมทั้งหมด 135,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 136,531 บาท
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 27/06/2567 [16841] |
136531 | 2 |
3 [16713] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง การอบรมหน่วยงานภายในองค์กร
วันที่ 13,15 พฤษภาคม 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร โดยมีหน่วยงานทุกภาคส่วนของทั้งมหาวิทยาลัยและคลินิกเทคโนโลยีมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมในครั้งนี้ด้วย ในการฝึกอบรมมีวิทยากรจาก บริษัท กรีนลีฟส์ เซอร์วิสเซ็ส จำกัด เป็นผู้บรรยายและให้ความรู้ พร้อมทั้งมีแบบทดสอบให้ทำหลังจากให้ความรู้ครับ
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 14/05/2567 [16713] |
0 | 35 |
3 [16707] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง การเข้าร่วมประชุมการทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 นำโดย อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้เข้าร่วมประชุมการทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ 2567 พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 13/05/2567 [16707] |
1480 | 2 |
3 [16698] |
รายงานไตรมาส3 เรื่อง การประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ เป็นการร่วมมือระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการและคลินิกเทคโนโลยี
วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นำโดย ผศ.ดร.วัลย์ลิกา สุขสำราญ และอาจารย์ ดร.รัติยาพร ใจดี ได้จัดทำโครงการการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้เชิญขอให้ทางคลินิกเทคโนโลยีและผู้ประสานงานเข้าร่วมประชุมปรึกษาและวางแผนการดำเนินงานโครงการ ที่จะดำเนินการในวันที่ 13 มิถุนายน 2567 มีการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับชาวบ้าน ณ โรงเรียนสุธีวิทยา จังหวัดสระบุรี
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 07/05/2567 [16698] |
0 | 9 |
3 [16659] |
รายงานไตรมาส3 เรื่อง การประชุมคณะกรรมการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
วันที่ 22 เมษายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี นำโดย ผศ.ดร.กันยา บาร์นท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และ อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ได้จัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยีเพื่่อชี้แจงการดำเนินกิจกรรมโครงการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้การดำเนินงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ของทางมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งประชุมการเตรียมความพร้อมการเขียนเพื่อยื่นข้อเสนอโครงการ Project Brief 2568 และประชาสัมพันธ์ให้ทางอาจารย์ผู้วิจัยได้รับรู้และเตรียมยื่นข้อเสนอโครงการ Project Brief 2568
รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 22/04/2567 [16659] |
840 | 13 |
3 [16657] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง การบริการให้คำปรึกษา (walk in) ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2567 ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่ม บริษัท 224 จำกัด ได้ติดต่อประสานงานมาทาง ผศ.ดร.ภาราดร งามดี ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี เรื่อง อยากให้คิดผลิตภัณฑ์น้ำดื่มผมวิตามินแต่งกลิ่นขนนมอะลัว ทางคลินิกเทคโนโลยีนำโดย อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญทางด้าวิทยาศาสตร์การอาหารมาให้ความรู้และแนวทางการผลิตน้ำผสมวิตามิน ทางผู้ประกอบการได้รับความรู้และแนวทางในการผลิตน้ำวิตามินและจะนำไปใช้ในการผลิตต่อยอดต่อไป รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 18/04/2567 [16657] |
0 | 5 |
3 [16654] |
รายงานไตรมาส 3 เรื่อง การบริการให้คำปรึกษา (walk in) ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2567 ผู้แทนกลุ่มแม่บ้านท่าศาลา walk in ติดต่อผ่านทาง อาจารย์ ดร.จิราวรรณ ฉายาวัฒน์ มีความต้องการปรึกษา เรื่อง การแปรรูปปลาเพื่อสุขภาพ เพื่อต่อยอดยกระดับผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ให้แก่กลุ่มโอทอปในชุมชน ทางอาจารย์ ดร.จิราวรรณ ฉายาวัฒน์ จึงได้แนะนำผงข้าวแดงต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นผลิตภัณฑ์งานวิจัยให้กับกลุ่มแม่บ้านท่าศาลาโดยให้มีการผสมผงข้าวแดงลงในผลิตภัณฑ์จากปลาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ทางกลุ่มแม่บ้านได้รับความรู้และนำไปใช้ต่อยอดต่อไป รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 11/04/2567 [16654] |
0 | 3 |
3 [16653] |
รายงานไตรมาส3 ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย อาจารย์ ดร.จิราวรรณ ฉายาวัฒน์ ผู้ประสานงานและผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งทีมวิทยากรกลุ่ม ได้ดำเนินการลงพื้นที่ ณ กลุ่มแม่บ้านท่าศาลา ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เนื่องจากกลุ่มแม่บ้านท่าศาลามาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลากับทางคลินิกเทคโนโลยีโดยติดต่อผ่านทาง อาจารย์ ดร.อาจารย์ ดร.จิราวรรณ ฉายาวัฒน์ ผู้ประสานงาน ทางคลินิกเทคโนโลยีจึงมีการวางแผนและดำเนินโครงการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบริการให้คำปรึกษาการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มฟักเสริมข้าวแดง การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยกลุ่มแม่บ้านท่าศาลา จำนวนรวม 22 คน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ (20 คน) ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่าผู้เข้าร่วมมีความสนใจ มีความตั้งใจในการฝึกปฏิบัติ ร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนานได้ความรู้ตรงตามความต้องการ และจากการประเมินกิจกรรมโครงการพบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจระดับมาก - มากที่สุด และจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ โดยการผลิตสินค้าจำหน่ายแก่ผู้บริโภค เป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาที่เป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ต่อไป นอกจากนี้กลุ่มแม่บ้านยังได้ขอคำปรึกษาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มเติมและขอให้จัดโครงการบริการให้คำปรึกษาต่อไปในอนาคตอีกด้วย รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 11/04/2567 [16653] |
13000 | 22 |
2 [16221] |
รายงานไตรมาส 2
ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย อาจารย์ ดร.จิราวรรณ ฉายาวัฒน์ ผู้ประสานงานและผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งทีมวิทยากรกลุ่ม ได้ดำเนินการลงพื้นที่ ณ กลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมลพบุรี
ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยจัดกิจกรรมอบรมและเผยแผร่เทคโนโลยี ดังนี้ -การบริการให้คำปรึกษาและอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ปุ๋ยแหนแดงปรับปรุงบำรุงดิน -การบริการให้คำปรึกษาและอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตและการใช้จุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการจัดการศัตรูพืช -การบริการให้คำปรึกษาและอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตและการใช้จุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการจัดการศัตรูพืช -พร้อมทั้งคุณไพวัลย์ แจ่มแจ้ง (เกษตรกรดีเด่นระดับเขต 1 สาขาพืชสวน) ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ในการทำอาชีพการเกษตรแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมถึง 41 คน เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ จำนวน 30 คน ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรสวนกล้วยหอมและปุ๋ย เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา เพื่อนำมาดูแลสวนจากผู้เชี่ยวชาญที่ทางคลินิกเทคโนโลยี จัดหาและลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมครับ รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 14/03/2567 [16221] |
17000 | 41 |
2 [16167] |
รายงานไตรมาส 2 สืบเนื่องจากการลงพื้นที่เมื่อวันที่ 24กุมภาพันธ์ 2567ในวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2567คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย ผศ.ดร.ภาราดร งามดี ได้นำตัวอย่างปลายข้าวและขนมจีนที่จัดเก็บมาจากโรงงานขนมจีน วิสาหกิจชุมชนเขาวงขนมจีน มาทำการวิเคราะห์และหาสาเหตุความผิดปกติของขนมจีนที่ยังไม่ทราบสาเหตุ วิธีดำเนินการ 1.วิเคราะห์ปริมาณอะไมโลสเป็นปัจจัยคุณภาพทาเคมีที่สำคัญของปลายข้าวที่จะส่งผลต่อขนมจีน วิทยากรได้วางแผนวิเคราะห์ปริมาณอะไมโลสของตัวอย่างข้าวทั้งหมด ซึ่งมีตัวอย่างประมาณ 9อย่าง ได้ผลและสันนิษฐานได้ว่าสาเหตุผิดปกติของขนมจีนนั้นเกิดจากกระบวนการการผลิต วิทยากรจึงได้อธิบายผลการทดลองทั้งหมดและการแก้ปัญหาให้ทางผู้ประกอบการได้รับทราบ 2.วิเคราะห์คุณภาพทางจุลินทรีย์ของตัวอย่างขนมจีนที่เกิดปัญหาพบว่ามีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด เท่ากับ 1x10 CFU/G ตรวจพบยีสต์และรา และอีโคไร (E. coli) แสดงให้เห็นว่าเกิดปัญหาในกระบวนการผลิตซึ่งอาจเกิดจากสถานที่ผลิตเกิดการปนเปื้อนหรือสุขลักษณะไม่ดีของผู้ผลิตอาหาร ทางวิทยากรจึงได้นำเสนอข้อมูลและแนวทางการแก้ไขให้แก่ผู้ประกอบการได้รับทราบ รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 28/02/2567 [16167] |
2040 | 2 |
2 [16166] |
รายงานไตรมาส 2 ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย ผศ.ดร.ภาราดร งามดี ผู้ประสานงานและผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งทีมวิทยากร ได้ดำเนินการลงพื้นที่โรงงานขนมจีน วิสาหกิจชุมชนเขาวงขนมจีน เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานขนมจีนเขาวงได้ประสานงานมาทาง ผศ.ดร.ภาราดร งามดี เพื่อขอให้ทางคลินิเทคโนโลยี ดำเนินการจัดอบรมเพื่อขอรับบริการการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผลิตขนมจีนของวิสาหกิจฯ ได้แก่1.การวิเคราะห์คุณภาพวัตถุดิบปลายข้าวเนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบปลายข้าวไม่คงที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขนมจีน2.การหาสาเหตุความผิดปกติของผลิตภัณฑ์ขนมจีนที่ยังไม่ทราบสาเหตุทาง ผศ.ดร.ภาราดร งามดี ได้ทราบถึงปัญหาและทำการจัดเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุที่ ห้องแลปมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ต่อไป รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 28/02/2567 [16166] |
6200 | 4 |
2 [16111] | 0 | 2 | |
2 [16108] |
รายงานไตรมาส 1 วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี นำโดย อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ พานเทียน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี พร้อมทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการที่ได้รับงบประมาณและอาจารย์ที่สนใจต้องการหาแนวคิดเพื่อขอเสนอโครงการในการของบประมาณเพื่อไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนตามแนวทาง คูปองวิทย์เพื่อโอทอป ประจำปีงบประมาณ 2567 รายงานโดย ว่าที่ร้อยตรี กฤษดา จำปาทิพย์ วันที่รายงาน 31/01/2567 [16108] |
0 | 8 |