2567 การบริการให้คําปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3 [16662]

กลุ่ม/ชุมชน/ชื่อผู้ประกอบการ : เรือนจำจังหวัดภูเก็ต / เรือนจำชั่วคราว (บ้านบางโจ) 

ที่อยู่: 143 หมู่ที่ 4 ถนนบ้านเขาล้าน - บางโจ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

เบอร์ติดต่อ:  คุณไพศาล เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง / คุณอดุลย์ บุตรราช หัวหน้าเรือนจำชั่วคราว บ้านบางโจ

ผลิตภัณฑ์แมลงวันลาย

ปัญหาและความต้องการ :

1.ต้องการพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ 

2.ต้องการแปรรูปกล้วย ในพื้นที่เรือนจำ

การให้คำปรึกษา และข้อมูล :

1. ร่วมออกแบบในพื้นที่เลี้ยงเดิมจากขนาดพื้นที่ 3x3 ตารางเมตร (โรงเลี้ยงและโรงบิน) ขยายเพิ่มเติม อีก 1 โรงเลี้ยง ในขนาดพื้นที่ 3x9 ตารางเมตร โดยคลินิกเทคโนโลยี สนับสนุนตาข่ายสีฟ้า จำนวน 3 ผืน โดยใช้แรงงานการประกอบจากน้องๆ ผู้ต้องขัง 

2. คลินิกเทคโนโลยี ได้ขออนุเคราะห์ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้ภูเก็ต ที่เหลือใช้ (ตู้ใหม่) จำนวน 2 ตู้ ขนาด 2 x 2 เมตร เพื่อส่งมอบต่อให้เรือนจำ ใช้ประโยชน์

สรุปผลการทำงาน: 1. ได้โรงเรือนเลี้ยงเพิ่มเติม ขณะนี้ได้ใช้งานจริง นำเศษอาหารจากโรงครัวในเรือนจำมาให้อาหารแก่หนอนแมลงวันลาย และนำตัวหนอนที่ได้ มาเป็นอาหารปลาในกระชัง ลดต้นทุนค่าอาหารจากเดิม

2. เรือนจำมีตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้งาน 

รายชื่อคณะทำงาน:

1. อาจารย์ กิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ

2. คุณสมชาย สกุลชิต เกษตรกรในพื้นที่ 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 23/04/2567 [16662]
3000 2
2 [16599]

วันที่ 5 เมษายน 2566

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุม การจัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลก 2567 ณ สำนักงาน อบจ.ภูเก็ต 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16599]
500 12
2 [16465]

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566

คลินิกเทคโนโลยี ได้ร่วมให้บริการคำปรึกษา แก่วิสาหกิจชุมชนโกโก้ภูเก็ต เรื่อง แผ่นปะคบ จากเปลือกในโกโก้



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16465]
10000 20
2 [16453]

วันที่ 7-8 ตุลาคม 2566 

อาจารย์กิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่ ณ บ้านลิพอนใต้ ตำบลศรีสุนทร จังหวัดภูเก็ตเป็นวิทยากรร่วมกับคุณชฤทธิพร เม้งเกร็ด จัดการอบรมผู้ตรวจประเมินแปลงเกษตรอินทรีย์ แบบ PGS ทั้งนี้เพื่อสร้างผู้ตรวจประเมินเพิ่มเติม ในจังหวัดภูเก็ต

 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16453]
5000 17
2 [16454]

อาจารย์กิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่ ณ ชุมชนบ้านรมณีย์ ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา

 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16454]
4000 5
2 [16455]

อาจารย์กิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และคณะทำงาน ลงพื้นที่ ณ จังหวัดพังงา เพื่อร่วมกิจกรรมการประกวด ชุมชนอุดมสุข มีผู้ขอรับบริการข้อมูล จาก ธกส. 2 ท่าน 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16455]
3000 4
2 [16456]

วันที่ 25 ตุลาคม 2566

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่ ณ เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา จัดกิจกรรมเรื่อง การบริหารจัดการเปลือกมะพร้าวอ่อนหลังการบริโภค ครั้งที่ 1 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16456]
10000 21
2 [16457]

วันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2566

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่ ณ ชุมชนบ้านหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จัดกิจกรรมเรื่อง การทำเกษตรอินทรียืแบบชุมชนมีส่วนร่วม PGS แก่เกษตรกรในพื้นที่ 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16457]
20000 35
2 [16458]

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ออกรายวิทย์ คิด คุย ทาง สวท. FM. 96.75 MHz. เพื่อประชาสัมพันธ์ ตลากนัดคนดี ร่วมกับ เรืนจำชั่วคราว บ้านบางโจ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16458]
0 3
2 [16460]

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

คลินิกเทคโนโลยี ได้รับบริการคำร้องขอการสนับสนุนการนำ วทน. เข้าสู่การบริหารจัดการแก่วิสาหกิจชุมชน Phangha Well be ด้านฟักข้าว



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16460]
3000 5
2 [16461]

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 

คลินิกเทคโนโลยี ได้รับบริการคำร้องขอการบริการให้คำปรึกษา การจัดการขวดน้ำพลาสติก หลังจากนั้น คลินิกเทคโนโลยีได้นำอุปกรณ์บีบอัดขวดพลาสติก มามอบให้



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16461]
5000 12
2 [16462]

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566

คลินิกเทคโนโลยี ได้ร่วมให้ข้อมูลแนวทางการจัดการขยะ กับ อบต.เชิงทะเล 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16462]
8000 50
2 [16464]

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566

คลินิกเทคโนโลยี ได้ร่วมให้บริการคำปรึกษา แก่ผู้ค้าในตลาดนัดคนดี ศรีสุนทร เพื่อจะที่นำผลผลิตและการแปรรูปแนวทางอินทรีย์ PGS เข้ามาจำหน่ายในตลาดนัด



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16464]
10000 27
2 [16466]

วันที่ 2 ธันวาคม 2566

คลินิกเทคโนโลยี ได้ร่วมให้บริการคำปรึกษา การผลิตของที่ระลึกจากยางพารา แก่สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านในโตน พังงา

 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16466]
5000 5
2 [16467]

วันที่ 7 ธันวาคม 2566

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่ ณ เกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา จัดกิจกรรมเรื่อง การบริหารจัดการเปลือกมะพร้าวอ่อนหลังการบริโภค ครั้งที่ 2 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16467]
10000 15
2 [16468]

วันที่ 11 ธันวาคม 2566

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่ ณ เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ จัดกิจกรรมเรื่อง การผลิตของที่ระลึกจากยางพารา 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16468]
10000 15
2 [16469]

วันที่ 11 ธันวาคม 2566

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (PKRU) ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และ ภาคีเครือข่ายในจังหวัดภูเก็ต Grand Opening "ตามรอย...โอ้เอ๋ว เอกลักษณ์แห่งความอร่อยของภูเก็ต" One of The Most Mysterious Foods 

นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการแถลงข่าวตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาหารพื้นถิ่นแบบบูรณาการสู่การท่องเที่ยว กิจกรรมย่อย Grand Opening "ตามรอย...โอ้เอ๋ว เอกลัษณ์แห่งความอร่อย" One of The Most Mysterious Foods ซึ่งจัดขึ้น ณ บริเวณสวนหย่อม สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต,ผศ.ดร.ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน บริการวิชาการ และวิจัย,ดร.พจมาน ท่าจีนรองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ,นางอาภาพร สินธุสารผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชุมชน,ผศ.รังสรรค์ พลสมัคร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,นางสาวขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์ นักวิจัย และ ดร.อนิตทยา กังแฮ นักวิจัย ร่วมแถลงข่าว

โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (PKRU) ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) และภาคีเครือข่ายในจังหวัดภูเก็ต เปิดตัวผลงาน "ตามรอย...โอ้เอ๋ว เอกลักษณ์แห่งความอร่อยของภูเก็ต" One of The Most Mysterious Foods ผลงานนี้เป็นผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กับกรมวิทยาศาสตร์บริการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี โดยค้นพบสิ่งที่วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ ดังนี้ โอ้เอ๋ว หรือ โอ๊ะเอ๋ว (O – Aew) เป็นขนมหวานพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง ที่มีสูตรลับและกรรมวิธีการผลิตถ่ายทอดผ่านคนในครอบครัวนานกว่าร้อยปี ด้วยตัววุ้นของโอ้เอ๋วมีความพิเศษที่แตกต่างจากวุ้นทั่วไป คือ มีลักษณะเป็นวุ้นใส เนื้อนิ่ม ไม่มีรส

แตกต่างจากวุ้นทั่วไปที่มีความแข็งมากกว่าเพราะวุ้นทั่วไปทำจากผงวุ้นที่ผลิตมาจากสาหร่าย วุ้นโอ้เอ๋ว เกิดจากเพคตินที่เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพ (biopolymer) โดยทั่วไปแล้วเพคตินจะไม่สามารถเซ็ตตัวเป็นก้อนได้ เนื่องจากอันตรกิริยาระหว่างสายโซ่ เพคตินเป็นแรงอย่างอ่อนที่ทำให้วุ้นไม่คงรูปและอุ้มน้ำได้น้อย ซึ่งวุ้นสามารถเซ็ตตัวได้ดีขึ้นด้วยการใช้แคลเซียมไอออน (Ca2+) เป็นสารก่อเจลที่ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมด้วยพันธะไอออนิก (ionomer crosslink) ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลของสายโซ่เพคติน (egg box model) ทั้งนี้ความสามารถในเชื่อมด้วยพันธะไอออนิกยังขึ้นกับปริมาณหมู่คาร์บอกซิลในสายโซ่เพคตินที่จะถูกแทนที่ด้วยหมู่เมทอกซิลอีกด้วย โดยชนิดของเพคตินสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด ตามระดับเมทอกซิล (degree of methoxyl : DM) คือ เพคตินที่มีเมทอกซิลสูง (High Methoxyl Pectin : HMP) จะมีปริมาณ DM ตั้งแต่ 8.16% ขึ้นไป และเพคตินที่มีเมทอกซิลต่ำ (Low Methoxyl Pectin : LMP) จะมีปริมาณ DM น้อยกว่า 8.16% โดย LMP จะสามารถเกิดเจลกับแคลเซียมไอออนได้ดีกว่า HMP เพราะมีหมู่คาร์บอกซิลเยอะกว่า จากการศึกษาพบว่า วัตถุดิบหลักที่มีผลต่อการเกิดเจลของโอ้เอ๋ว คือ 1. เมล็ดอ้ายหยู หรือ พืชตระกูลมะเดื่อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ficus pumila var. awkeotsang ที่ถูกนำมาบีบสกัดกับน้ำในอัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ได้เพคตินและเอนไซม์เพคตินเมทิลเอสเทอเรส (pectin methylesterase : PME) ที่สามารถเปลี่ยนหมู่เมทอกซิลในสายโซ่เพคตินให้เป็นหมู่คาร์บอกซิลที่เชื่อมขวางระหว่างสายโซ่เพคตินได้ดีขึ้น 2. กล้วยน้ำว้าที่ถูกนำมาสกัด เพื่อเพิ่มปริมาณเพคตินและแคลเซียม (Ca2+) สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับเจลและลดต้นทุนด้วยราคาที่ต่ำกว่าเมล็ดอ้ายหยู ต้องระมัดระวังเรื่องกลิ่น (ester) จากกล้วยเมื่อใส่ในปริมาณที่มากเกินไป 3. สารก่อเจลที่ถูกใช้ในกระบวนการผลิต "โอ้เอ๋ว" มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงลักษณะของวุ้นนี้ เช่น การเพิ่มความคงตัวและลดการเคลื่อนตัวของน้ำในเจล (Syneresis) ได้โอ้เอ๋วที่มีลักษณะเจลอ่อนนุ่มแบบthermoreversible gel และจับตัวเป็นวุ้นนิ่มใสที่มีเอกลักษณ์ นำไปใช้รับประทานเป็นของหวานจากการผสมผสานภูมิปัญญาของชาวจีนฮกเกี้ยนกับขนมหวานไทยในลักษณะคล้ายน้ำแข็งไส แบบใส่เครื่องมีกลิ่นนมแมวรับประทานเพื่อแก้ดับกระหายคลายร้อน ประเด็นสำคัญของการ ตามรอย...โอ้เอ๋ว ปัจจุบันความเป็นเอกลักษณ์ขนมพื้นถิ่นสูญหาย เนื่องจากขาดช่วงสืบทอดและไม่มีการเปิดเผยองค์ความรู้ ทั้งด้านวัตถุดิบที่ใช้และกรรมวิธีการผลิตอย่างชัดเจน โดยอ้างอิงตำรับมาตรฐานขนมพื้นถิ่นจากบริบทชุมชนโดยอาศัยพื้นฐานวัฒนธรรมและวางแนวทางสูตร กรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์โอ้เอ๋วที่คงความเป็นอัตลักษณ์ขนมพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต และเพื่อสนับสนุนและยกระดับจังหวัดภูเก็ตให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy) คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จึงร่วมกับกองเทคโนโลยีชุมชม กรมวิทยาศาสตร์บริการ นำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาศึกษาวิจัยและพัฒนากรรมวิธีการผลิตโอ้เอ๋วเป็นรูปธรรม โดยใช้องค์ความรู้จากภูมิปัญญาของชุมชนเป็นแกนหลัก

สิ่งที่ได้จากการตามรอย...โอ้เอ๋ว 1. องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สูตร และกรรมวิธีการผลิตโอ้เอ๋วของคนภูเก็ต ที่คงความเป็นอัตลักษณ์ขนมพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพของอาหารพื้นเมือง อาหารโบราณให้มีคุณภาพมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 2. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ที่ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์โอ้โอ๋วและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ 3. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ตเป็น City of Gastronomy โดยมีเป้าหมายกลยุทธ์เพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยการจัดการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม ในด้านอาหาร ท้องถิ่น รักษาอัตลักษณ์และรสชาติดั้งเดิมของอาหารท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต 4. การประสานงานกับฟาร์มในต่างประเทศ นำต้นโอ้เอ๋ว มาปลูกในจังหวัดภูเก็ต เพื่อการอนุรักษ์และเพื่อการวิจัย

การดำเนินงานต่อไป มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (PKRU) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมทำข้อตกลงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัย พัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาของชุมชนเป็นแกนหลักในการต่อยอดการวิจัยและพัฒนาด้านตำรับและกรรมวิธีการผลิตอัตลักษณ์ขนมพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ต โดยขนมพื้นเมืองที่ได้เลือกไว้ถัดจาก โอ้เอ๋ว คือ อาโป้ง

 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16469]
20000 50
2 [16472]

วันที่ 6 มกราคม 2567 

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอน หัวหาร-บ่อแร่ ร่วมให้ข้อมูลการเพาะเห็ดแก่ประชาชนทั่วไป งบประมาณโดย ธกส.ภูเก็ต



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16472]
0 20
2 [16473]

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ออกรายวิทย์ คิด คุย ทาง สวท. FM. 96.75 MHz. เพื่อประชาสัมพันธ์ การเพาะเห็ด เชิงพาณิชย์ 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16473]
0 2
2 [16475]

วันที่ 25 มีนาคม 2567

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับบุคลากร โรงเรียนลันตาราชประชาอุทิศ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ หารือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากฝาขวดพลาสติก



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16475]
10000 8
2 [16477]

วันที่ 25 มีนาคม 2567

คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ร่วมส่งเสริมให้วิทยากรชุมชน นายสมชาย สกุลชิต เข้าร่วมเป็นวิทยากรอบรม การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและแปรรูปขยะอาหาร 

งบประมาณโดย สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 15 ภูเก็ต



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16477]
1000 20
2 [16482]

ดำเนินการจัดซื้อวัสดุสำนักงาน 5,000 บาท



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16482]
5000 0
2 [16463]

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566

คลินิกเทคโนโลยี ได้ให้บริการคำปรึกษา การเลี้ยงหนอนแมงวันลาย แก่คุณสมชาย สกุลชิต 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 04/04/2567 [16463]
3000 1
2 [16117]

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 / วันที่ 24 ธันวาคม 2566

อาจารย์ปกรณ์ พรหมแก้ว อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก้ต ลงพื้นที่ร่วมกับอาจารย์กิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนอู่ข้าวอู่น้ำนาหัวนอน คุณโรจนินทร์ ม่วงเพชร ประธานกลุ่มฯ เพื่อบริการให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาเตาเผาข้าวหลาม เพื่อสามารถลดความสูญเลีย ที่ปล่อยพลังงานทิังออก ในระหว่างเผา และหารือแนวทางการทำเตาเผาที่ทันสมัยมากขึ้น กลังจากนั้นจึงนำมาสู่การให้บริการผ่านโครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนยั่งยืนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ด้วยการเน้น การพัฒนาและออกแบบเทคโนโลยีการผลิต ในระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นเทคโนโลยีขั้นสูง โดยร่างประเด็น คือ การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาเผาข้าวหลามด้วยระบบกักเก็บความร้อนจากวัสดุพรุน 

 



รายงานโดย นายกิตติศักดิ์ จิตต์เกื้อ วันที่รายงาน 05/02/2567 [16117]
2000 2