2567 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [16576]

กิจกรรมที่ 11 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปรรูปอาหารจากผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น”ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ลอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

           วันที่ 12 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีฯ ภายใต้งานบริการวิชาการและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปรรูปอาหารจากผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น” ภายใต้โครงการ "การบริการวิชาการการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมจากผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และวิชาชีพแก่ชุมชน" ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่ลอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

           ได้รับเกียรติจากวิทยากร  อาจารย์ภูริวัจฐ์ ชีคำ พร้อมทีมผู้ช่วยวิทยากร ได้สอนแปรรูปอาหารจากกล้วย  ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่มีในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้ในการพัฒนาและเสริมทักษะด้านการแปรรูปอาหารจากผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนท้องถิ่น ให้มีความหลากหลาย เสริมสร้างอาชีพ และชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/clinictech.cmru/posts/pfbid0tRQAZgMvdxh4XViYDkWE1fNjTcQF26qiEuAvR9C64yumywm4VmnS8X4pLNBB6oiVl



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16576]
5000 30
2 [16557]

กิจกรรมที่ 2 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง)

           เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่พบประชาชนในพื้นที่ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชน ซึ่งจะนำข้อมูลมาประกอบการวางแผนและดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาและหาแนวทางการสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน ณ อาคารอเนคประสงค์ ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16557]
0 30
2 [16559]

กิจกรรมที่ 3 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวปลอดภัย)

          เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญคลินิกเทคโนโลยี
คือ ผศ.ดร.นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ เพื่อให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีแก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวปลอดภัย ซึ่งได้ให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. การปรับปรุงสถานที่การผลิต เพื่อขอมาตรฐาน GMP

2. การแปรรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวพองเพื่อสุขภาพ

3. การสร้างแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ เพื่อส่งเสริมช่องทางการขายสินค้า

ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวปลอดภัย ตำบลวังน้ำลัด อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16559]
0 10
2 [16561]

กิจกรรมที่ 4 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผึ้งโพรงไทย)

         เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแก่วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผึ้ง
โพรงไทย ในเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาขายสินค้าแต่ละรายการ และการสร้างคอนเทนต์การขายของบนตลาดออนไลน์ ณ โรงเรียนชุมชนบ้านสี่แยก
ตำบลทุ่งสง อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16561]
0 15
2 [16562]

กิจกรรมที่ 5 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรบ้านปีระกา)

          เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่พบนางวัชรี ชัยชมภู
ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรบ้านปีระกา เพื่อให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่ธรรมชาติจากสมุนไพรของท้องถิ่น
เพื่อเพิ่มมูลค่า และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อนำปัญหาที่ผู้ประกอบการประสบพบเจอในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ
คลินิกเทคโนโลยี เพื่อหาแนวทางการแก้ไข ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรบ้านปีระกา ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16562]
0 3
2 [16563]

กิจกรรมที่ 6 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (ฝ้ายย้อมจากสีธรรมชาติ (Naphat Nature))

           เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ฝ่ายงานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ คลินิกเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยี
สู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และคณะทำงานสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ลงพื้นที่เข้าพบคุณนภัส ไชยสวัสดิ์
ผู้ประกอบการฝ้ายย้อมจากสีธรรมชาติ (Naphat Nature)  เพื่อเก็บข้อมูลและปรึกษาหารือถึงความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยมาร่วมพัฒนา
ต่อยอด ซึ่งนำไปสู่ความเป็นได้ในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัย และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยถ่ายทอดเพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการดังกล่าว

            นอกจากนี้ ทางคณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงงานแปรรูปมะม่วง และชุมชนท่องเที่ยวบ้านหนองครก ซึ่งเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมและสุขภาพ
โดยเป็นการนำเอาวัฒนธรรมและทรัพยากรภายในชุมชนมาต่อยอดเพื่อสร้างงานและรายได้ภายในท้องถิ่น เช่น การทำอาหารท้องถิ่น การแช่ออนเซ็นในโฮมสเตย์ การแสดง
ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การนวดผ่อนคลายแบบไทย เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำไปพัฒนาต่อยอดให้มีความสอดคล้องตามเป้าหมายการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อ
พัฒนาท้องถิ่นต่อไป ณ หมู่บ้านหนองครก ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/ird.cmru.ac.th/posts/pfbid033fHxWwwriYJmxaHHCovyrKdfqfkvRewwHnVBrkiM6NAbKtHLv7PgskCH83zwwdWkl



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16563]
0 10
2 [16564]

กิจกรรมที่ 7 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง)

          เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ โดยนางสาวสกุลรัตน์ คำเจริญ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่พบนางสาวณรดา
เกลื่อนเพชร วิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนฯ ซึ่งจะนำมาพิจารณาหาแนวทางและดำเนิน
กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการสร้างงานและอาชีพให้แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16564]
0 4
2 [16565]

กิจกรรมที่ 8  การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (ผู้นำชุมชน ต.ขี้เหล็ก)

            เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย ผศ.ว่าที่เรือตรี อภิสิทธิ์ ชัยมัง รองผู้อำนวยการ พร้อมด้วย บุคลากรฝ่ายงานบริการวิชาการฯ และคลินิก
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่เข้าพบผู้นำชุมชน นำโดยพ่อกำนันสงกรานต์ รูปแก้ว กำนันตำบลขี้เหล็ก อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และทีมงาน เพื่อรับ
ฟังปัญหาและความต้องการในพื้นที่ ตลอดจนได้ดำเนินการวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมการนำ วทน.เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาสร้างอาชีพ ตามความเชี่ยวชาญของคณาจารย์อละ
นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในพื้นที่ตำบลขี้เหล็กและชุมชนใกล้เคียงโดยรอบต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/ird.cmru.ac.th/posts/pfbid0GAzkC7xabWAgoJwSN3i3qTgS2PstgiRqFe9BX2wrQE2pM47f1F5gUrPYRR6fmoHol



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16565]
0 10
2 [16566]

กิจกรรมที่ 9 เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมโครงการพัฒนาส่งเสริมข้าวก่ำอินทรีย์ดอยสะเก็ด เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการพัฒนาระดับพื้นที่ระดับอำเภอ ประจำ
ปีงบประมาณ
2567 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาฯ วัดถาวรรังษี (วัดม่วงโตน) หมู่ที่ 4 ต.แม่ฮ้อยเงิน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

            วันที่ 25 ธันวาคม 2566 ผศ.ดร.หทัยทิพย์ สินธุยา คณบดีวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย (adiCET) พร้อมด้วย
อ.ดร.พันธ์ลพ สินธุยา อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร, ดร.สกลวัฒน์ เศวตรัตนกุล, น.ส.รุ่งนภา จุลศักดิ์ นักวิจัย adiCET พร้อมด้วยบุคลากรคลินิกเทคโนโลยี
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมโครงการพัฒนาส่งเสริมข้าวก่ำอินทรีย์ดอยสะเก็ด เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการพัฒนาระดับ
พื้นที่ระดับอำเภอ ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาฯ วัดถาวรรังสี   (วัดม่วงโตน) หมู่ที่ 4 ต.แม่ฮ้อยเงิน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

            อ.ดร.พันธ์ลพ สินธุยา และ ผศ.ดร.หทัยทิพย์ สินธุยา ได้รับเชิญให้บรรยายพิเศษ เรื่อง “คุณลักษณะ คุณประโยชน์ การแปรรูป และตลาดร่วมถึงช่องทางการจำหน่าย
สินค้า ของข้าวก่ำอินทรีย์ดอยสะเก็ด” และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยังได้ร่วมเป็นหนึ่งของการพัฒนาข้าวก่ำดอยสะเก็ด ที่เป็นพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของพื้นที่
ดอยสะเก็ด โดยได้จัดทำ “โครงการหมู่บ้านข้าวก่ำดอยสะเก็ดอินทรีย์พรีเมียม” ได้รับการสนับสนุนจากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โครงการนี้มีเป้าหมาย
ในการเพิ่มจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวก่ำดอยสะเก็ดอินทรีย์ เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและต่อยอดยกระดับผลิตภัณฑ์ข้าวก่ำอินทรีย์ให้ก้าวสู่ผลิตภัณฑ์พรีเมียม

พร้อมทั้งการขอมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS: Participatory Guarantee Systems) การตรวจวิเคราะห์คุณค่าสารอาหาร และคุณภาพเมล็ดข้าวสำหรับใช้เป็น
ข้อมูลจุดเด่นของข้าว เพื่อสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้สามารถสร้างกำไรจากการปลูกข้าวได้มากขึ้น ตลอดจนการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวก่ำ อาทิ โลชั่นทาผิว
จากสารสกัดข้าวก่ำ ข้าวตัง และไอศรีม เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/cmrufans/posts/pfbid02zdTtmRBcChoWHVoYeo2rcrexSdte16yf5xFPGJqy5udyjQRe2fSJ6re1uPquRKD8l



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16566]
0 30
2 [16555]

กิจกรรมที่ 1 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง)

           เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่พบ
นางจิราพรรณ ทิมทอง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับฟังปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ พร้อมให้คำแนะนำเบื้องต้นในเรื่องการสร้าง เพื่อนำไปสู่
การถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของท้องถิ่น ประชาชนมีอาชีพและสามารถสร้างรายให้แก่ตนเองและครอบครัว ณ องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16555]
0 4
2 [16574]

กิจกรรมที่ 10 เข้าร่วมโครงการค่ายเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ฐานการเรียนรู้แต้มสี ลีลามัด (ศรร.) จัดโดย งานคลินิกเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลหนองป่าครั่ง       

           วันที่ 10 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) ภายใต้งานบริการวิชาการและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา
นำโดย ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการฯ เข้าร่วมจัดแสดงผลงาน ร่วมกับ เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี (มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ม.เชียงใหม่ และม.แม่โจ้)

           โดย นำตัวอย่างผลงานที่ได้การพัฒนาและให้คำปรึกษา จากอาจารย์ นักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด และ
ผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์น้ำพริกข่า ตรา ยายบัวจันทร์ ผลิตภัณฑ์ขิงชงผสมหญ้าหวาน และชาผักเชียงดาชนิดแห้ง ตรา เศรษฐีเรือทอง
เทคโนโลยีการพิมพ์ลายใบไม้บนผืนผ้า (Eco-Printing) ของ ผศ.ดร.จินตนา อินภักดี เทคโนโลยี    สารชีวภัณฑ์ ECOA ของ อ.ดร.ภัทธนาวรรณ์ ฉันท์รัตนโยธิน

           ทั้งนี้ ภายในงานได้มีกิจกรรมโครงการพัฒนาผู้เรียนด้านการศึกษา โครงการค่ายเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ฐานการเรียนรู้แต้มสี ลีลามัด (ศรร.)
จัดโดย งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาร่วมกับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลหนองป่าครั่ง และเยี่ยมชมบูธแสดงผลงานของเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/clinictech.cmru/posts/pfbid02oNH9eVkfTujw4TnBjhw43t7Gwbmuer6RhxyRGHpfnEfy66pKufXpDVqd3TSao2k9l

 

 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16574]
2000 30
2 [16646]

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนมกราคม - มีนาคม เดือนละ 14,000 บาท



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16646]
42000 0
2 [16578]

กิจกรรมที่ 12 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างระบบฟอกอากาศพร้อมระบบตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM แบบแสดงผลออนไลน์ และการสร้างความตระหนักใน
ด้านการลดการเผาทำลายขยะ"

          วันที่ 24 มกราคม 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างระบบฟอกอากาศพร้อมระบบตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM แบบแสดงผลออนไลน์ และการสร้าง
ความตระหนักในด้านการลดการเผาทำลายขยะ" ภายใต้โครงการ การบริการวิชาการการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมจากผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และวิชาชีพ
แก่ชุมชน ณ ห้องประชุมแม่ริม อาคารอำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล รองอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับและเปิดการอบรม โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัย รองผู้อำนวยการ
ศูนย์ AiroTEC และอาจารย์สังกัด adiCET

           ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ข้อมูลทั่วไปและปัญหาของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ระบบตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อัจฉริยะ และสาธิตการจัดทำเครื่องฟอกอากาศ
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ การจัดทำห้องแรงดันบวก ซึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนตำบลขี้เหล็ก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างระบบ
ฟอกอากาศพร้อมระบบตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM แบบแสดงผลออนไลน์ และแนวทางการจัดทำห้องแรงดันบวก ตลอดจนการสร้างความตระหนักในด้านการลดการเผาทำลายขยะ
มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นตัวแทนกลุ่มผู้นำในชุมชนตำบลขี้เหล็ก ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน รวมจำนวนผู้เข้าร่วม 50 คน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/ird.cmru.ac.th/posts/pfbid022HnjJdQ6JBFfonz5d52pHnRXS7KjipwRa3NKZGzFme7GVotkeUqbjT6mX34gDZgFl

 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16578]
0 50
2 [16583]

กิจกรรมที่ 13 ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาและเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การจัดการให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(
PM2.5)" ภายใต้ โครงการรณรงค์ลดมลพิษหมอกควันและไฟป่า ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่ง ดำเนินการจัดกิจกรรมโดยเทศบาลตำบลป่าแดดร่วมกับร่วมกับ
โรงเรียนวัดป่าแดด

           วันที่ 25 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาและเป็นวิทยากรการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การจัดการให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบ
ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)" ภายใต้ โครงการรณรงค์ลดมลพิษหมอกควันและไฟป่า ประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่ง ดำเนินการจัดกิจกรรมโดยเทศบาลตำบลป่าแดดร่วมกับโรงเรียน
วัดป่าแดด

           โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ร่วมลงพื้นที่
บริการวิชาการให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และสาธิตการจัดทำระบบฟอกอากาศพร้อมระบบตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM แบบแสดงผล
ออนไลน์ และแนวทางการจัดทำห้องแรงดันบวก

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/clinictech.cmru/posts/pfbid02AMs41GC9HgkzfiCjDKW4fPpBPi3jqGYXBFousB81A4AQYuL6ZJ9zgUFxdHrDrpahl

 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16583]
0 30
2 [16585]

กิจกรรมที่ 14เข้าร่วมจัดแสดงผลงานและร่วมประชุมวางแผนการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้านเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของศูนย์การเรียนรู้
ตำบลเวียง (ศกร.) ณ กลุ่มวิสาหกิจบ้านขามสุ่มเวียง ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

           วันที่ 26 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี ภายใต้งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการฯ และบุคลากร เข้าร่วม
จัดแสดงผลงานและร่วมประชุมวางแผนการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้านเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของศูนย์การเรียนรู้ตำบลเวียง (ศกร.) ณ กลุ่มวิสาหกิจ
บ้านขามสุ่มเวียง ตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

           โดย นำตัวอย่างผลงานที่ได้การพัฒนาและให้คำปรึกษา จากอาจารย์ นักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด และผลิตภัณฑ์
พร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย

เทคโนโลยีระบบฟอกอากาศพร้อม ระบบตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM แบบแสดงผลออนไลน์ และชุดจัดทำห้องแรงดันบวก ของ ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท เทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์
ECOA ของ อ.ดร.ภัทธนาวรรณ์ ฉันท์รัตนโยธิน ผลิตภัณฑ์ขิงชงผสมหญ้าหวาน และชาผักเชียงดาชนิดแห้ง ตรา เศรษฐีเรือทอง เทคโนโลยีการพิมพ์ลายใบไม้บนผืนผ้า (Eco-Printing)
ของ ผศ.ดร.จินตนา อินภักดี

          ทั้งนี้ ภายในงานได้มีกิจกรรมโครงการฝึกอบรมเทคโนโลยีการทำกระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยเครื่องอัดกระถางแบบไฮโดรลิค จัดโดย งานคลินิกเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ตำบลเวียง (สกร.)

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/clinictech.cmru/posts/pfbid02NvjPQdeuPFcR6UHhG36mpxjeNMoXrxAY7uQiiZKaVRm64XwFd7ceuURDGizJ9Kyml

 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16585]
2000 20
2 [16588]

กิจกรรมที่ 15ร่วมจัดนิทรรศการ “งานของดี ตำบลขี้เหล็ก ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ.2567” ณ สำนักงานเทศบาล ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

           วันที่ 7 -9 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) ภายใต้งานบริการวิชาการและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา
ได้ร่วมจัดนิทรรศการ “งานของดี ตำบลขี้เหล็ก ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ.2567” ณ สำนักงานเทศบาล ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  โดยนำตัวอย่างผลงานที่ได้รับการพัฒนาและ
ให้คำปรึกษา จากอาจารย์ นักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เทคโนโลยีที่พร้อมถ่ายทอด และผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย

- เครื่องฟอกอากาศ AiroCare
- น้ำพริกข่า ยายบัวจันทร์
- ข้าวเกษตรอินทรีย์ บ้านเย็นตา
- กาแฟเนอมู Nermu Coffee  
- เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทอมัดย้อมสีธรรมชาติ Nakorn
- ผลิตภัณฑ์ขิงชงผสมหญ้าหวาน และชาผักเชียงดาชนิดแห้ง ตรา เศรษฐีเรือทอง
- เทคโนโลยีการพิมพ์ลายใบไม้บนผืนผ้า (Eco-Printing) ของ ผศ.ดร.จินตนา อินภักดี
- เทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ ECOA ของ อ.ดร.ภัทธนาวรรณ์ ฉันท์รัตนโยธิน

           ในวันที่ 7 มีนาคม 2567 ได้รับเกียรติจาก นายวัชระ เทพกัน นายอำเภอแม่ริม เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน และเยี่ยมชมผลงานนิทรรศการร่วมกับนายเกียรติศักดิ์ มาลา
นายกเทศมนตรีตำบลขี้เหล็ก พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม :



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16588]
2000 20
2 [16592]

กิจกรรมที่ 16 จัดอบรมให้ความรู้ให้นักศึกษาจิตอาสา เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการช่วยเหลือติดตั้งเครื่องระบบกรองฝุ่น ระบบห้องแรงดันบวก ป้องกันฝุ่น PM 2.5
ให้กับชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่มีความต้องการ ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

          วันที่ 8 มีนาคม 2567คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดอบรมให้ความรู้ให้นักศึกษาจิตอาสา เพื่อเตรียม
ความพร้อมในการให้บริการช่วยเหลือติดตั้งเครื่องระบบกรองฝุ่น ระบบห้องแรงดันบวก ป้องกันฝุ่น PM 2.5ให้กับชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่มีความต้องการ ในเขตพื้นที่จังหวัด
เชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

          โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ นักศึกษาสาขาพลศึกษาและนันทนาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 90 คน ณ ห้องประชุมแม่ริม อาคารอำนวยการและ
บริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ศูนย์แม่ริม)

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://www.facebook.com/clinictech.cmru/posts/pfbid025yRN3DcBvsuVyPY4G6oxuzLhzwQ2Qzz6idWC8AUgyzVxJGuUHqNBMi7z7SizVCNml

 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16592]
0 90
2 [16593]

กิจกรรมที่ 17 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี

           เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดยอาจารย์ ดร.วิภาวี ศรีคะ รองผู้อำนวยการงานบริการ
วิชาการฯ และนางสาวอันสุดารี กันทะสอน หัวหน้างานบริการวิชาการฯ ลงพื้นที่พบนางณัฐกฤตา ยิ้มแย้ม เลขานายกเทศมนตรีฯ เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ซึ่งจะนำมาพิจารณาหาแนวทางแก้ไขและดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างงานและอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่
สามารถสร้างรายได้ และมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ณ ห้องประชุมเทศบาลจอมแจ้ง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16593]
0 5
2 [16595]

กิจกรรมที่ 18 ดำเนินการจัดอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตรการอบรม เรื่อง "การจัดชุดอาหารว่างด้วยขนมไทย"

           เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินการจัดอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอด
เทคโนโลยี หลักสูตรการอบรม เรื่อง "การจัดชุดอาหารว่างด้วยขนมไทย" ภายใต้โครงการการบริการให้คำปรึกษา และข้อมูลเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้คน ในชุมชนมีอาชีพ สามารถสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัว

           การจัดอบรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.วิภาวี ศรีคะ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นผู้กล่าวเปิดโครงการ และอาจารย์ภูริวัจน์
ชีคำ อาจารย์ประจำ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้
เทคโนโลยีดังกล่าว การถ่ายทอดองค์ความรู้ในครั้งนี้มาจากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากมะขามป้อมสู่ชุมชน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้
จากขนมไทยที่พัฒนาให้มีส่วนผสมของมะขามป้อม เพื่อเป็นการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบในท้องถิ่น ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน   
ณ อาคารคหกรรมศาสตร์ (SCI11) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ศูนย์แม่ริม)

รายละเอียดเพิ่มเติม :

https://web.facebook.com/clinictech.cmru/posts/pfbid02fgHmWmNgu1X3NrFkZKVPvy8MDshKEnERqb7dJ3Dk1FZL56tCkkFQHfbWSMRiVmakl

 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16595]
19600 40
2 [16596]

กิจกรรมที่ 19 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี

          เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยนางสาวสกุลรัตน์ คำเจริญ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษา
และข้อมูลเทคโนโลยีแก่นางเนตรนภา ทากาฮาชิ ประธานวิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าใบไม้ ดังนี้

1. เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร

2. การพัฒนาน้ำพริกขนมจีนและเส้นขนมจีนกึ่งสำเร็จรูป

3. การพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า

4. แนวทางการสร้างสถานที่ผลิต เพื่อขอมาตรฐาน อย.

ณ วิสาหกิจชุมชนสร้างป่าสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าใบไม้ ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

 


รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16596]
0 5
2 [16573]

สรุปผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1

1)กิจกรรมที่ 1 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (อบต.กื้ดช้าง ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่)

2) กิจกรรมที่ 2 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (ประชาชนในพื้นที่ ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่)

3) กิจกรรมที่ 3 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าวปลอดภัย ต.วังน้ำลัด อ.ไพศาลี
จ. นครสวรรค์)

4) กิจกรรมที่ 4 การบริการให้คำปรึกษาแก่รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผึ้งโพรงไทย ต.ทุ่งสง อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช)

5) กิจกรรมที่ 5 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรบ้านปีระกา ต.ริมไต้ อ.แม่ริม
จ.เชียงใหม่)

6) กิจกรรมที่ 6 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (ฝ้ายย้อมจากสีธรรมชาติ Naphat Nature)

7) กิจกรรมที่ 7 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (วิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน)

8) กิจกรรมที่  8 การบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการคลินิกเทคโนโลยี (ผู้นำชุมชน ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)

9) กิจกรรมที่ 9 เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมโครงการพัฒนาส่งเสริมข้าวก่ำอินทรีย์ดอยสะเก็ด เพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการพัฒนาระดับพื้นที่ระดับอำเภอ ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาฯ วัดถาวรรังษี (วัดม่วงโตน) หมู่ที่ 4 ต.แม่ฮ้อยเงิน อ.ดอยสะเก็ด
จ.เชียงใหม่

 

การใช้จ่ายงบประมาณโครงการฯ ไตรมาสที่ 1 รวมทั้งสิ้น 36,000 บาท
1) ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2566 เดือนละ 12,000 เป็นเงิน 36,000 บาท

สามารถเข้าดูรายงานไตรมาสที่ 1 ได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/15d6YAu3fmmlxeWKyV94TMKeUU-kea3In/view?usp=drive_link



รายงานโดย นายศรัญญู มูลน้ำ วันที่รายงาน 05/04/2567 [16573]
36000 116