2567 การบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีในชุมชนภาคใต้ชายแดน   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [16506]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม KICK OFF โครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์ม และสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน

วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 13.30 - 14.30 น. อาจารย์ ดร.อัจฉราพร ยกขุน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนางสาวลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ประจำคลินิกเทคโนโลยี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลทิพย์ กรรไพเราะ หัวหน้าโครงการการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์และมาตรฐานสถานประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อบ้านนิบง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา เข้าร่วมการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรม kick off โครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จัดโดยหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคใต้ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting



รายงานโดย นางสาวลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว วันที่รายงาน 04/04/2567 [16506]
0 0
2 [16504]

กิจกรรมการบริการจัดการเครือข่าย และ กิจกรรมการให้บริการคำปรึกษาข้อมูลทั้งในและนอกสถานที่

/online/cmo/filemanager/1781/files/รายงานความก้าวหน้าไตรมาส_2_คลินิกเทคโนโลยี (TCS_67)(2).pdf



รายงานโดย นางสาวลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว วันที่รายงาน 04/04/2567 [16504]
49300 0
2 [16471]

งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดทำแบบสำรวจความต้องการบริการวิชาการของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต

สรุปผลสำรวจความต้องการบริการวิชาการของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตประจำปีงบประมาณ 2567 จากกลุ่มผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 28 ชุด เมื่อพิจารณาในประเด็นความต้องการด้านการเกษตรสมัยใหม่ อาหาร และผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบ เช่น อาหาร ผ้าบาติก ผึ้งชันโรง โคเนื้อ ฯลฯ คิดเป็นร้อยละ 64.23 ต่อมา คือ การพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับผู้ประกอบ และ การขอมาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์ เกษตร อาหาร เช่น อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 50.00 ต่อมา คือ การพัฒนากระยกดับมาตรฐานสถานที่ผลิตสำหรับผู้ประกอบ และ การพัฒนาและออกแบบเครื่องจักรสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 46.43



รายงานโดย นางสาวลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว วันที่รายงาน 04/04/2567 [16471]
0 28
2 [16340]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00 - 16.00 น. อาจารย์ ดร.อัจฉราพร ยกขุน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และคณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์มและสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลทิพย์ กรรไพเราะ หัวหน้าโครงการ เรื่อง การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์และมาตรฐานสถานประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อบ้านนิบง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา เข้าร่วมประชุมและหารือแนวทาง การดำเนินงานและการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งจัดโดยหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคใต้ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting



รายงานโดย นางสาวลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว วันที่รายงาน 28/03/2567 [16340]
0 0
2 [16339]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมประชุมนำเสนอแนวคิดการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (PITCHING) ภายใต้โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนตามแนวคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ซึ่งจัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ผ่านระบบออนไลน์ Zoom จำนวน 6 โครงการ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 10.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รอมลี เจะดอเลาะ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ พร้อมด้วยนางสาวรอฮีม๊ะ มะลี ประธานกลุ่ม Sweet Coconut จังหวัดยะลา ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศครีมกะทิสดจากวัตถุดิบพื้นถิ่นของกลุ่ม Sweet Coconut จังหวัดยะลา

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00 – 15.00 น. อาจารย์ย่ารอนะ ศรีอาหมัด อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ พร้อมด้วยนางแวเมาะ แวกาจิ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยะลา อาก้าร์วู้ด (คอมพานี) ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหอมกลั่นไม้กฤษณา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนยะลา อาก้าร์วู้ด (คอมพานี) ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00 – 15.00 น. อาจารย์ไมซาเราะห์ สะมะแอ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ พร้อมด้วยนางสาวฟาซียะห์ อิมะมุ ผู้ประกอบการห้างหุ้นส่วนจํากัด ที.วาย.ดี.ฟู้ด (T.Y.D) ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนากระบวนการผลิตและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไก่ปิ้งนมสด

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00-12.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาดา มุนินทร์นพมาศ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ พร้อมด้วยผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาส้มบ้านบาตูมัส ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพ และการออกแบบ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาส้มบ้านบาตูมัส

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.00 - 15.00 น. อาจารย์ ดร.ภัทรวดี เอียดเต็ม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ พร้อมด้วยผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตอาหารปลอดภัย ได้นำเสนอแนวคิดการยกระดับมาตรฐาน สถานประกอบการและกระบวนการผลิตเห็ดทอด

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 - 11.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาดา มุนินทร์นพมาศ พร้อมด้วยผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลาส้มคอกช้าง อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพ และการออกแบบกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้กับวิสาหกิจฯ



รายงานโดย นางสาวลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว วันที่รายงาน 28/03/2567 [16339]
0 9
2 [16337]

อว.ส่วนหน้า จังหวัดยะลา จัดประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนยะลาเมืองทุเรียน ตามแนวคิด BCG

วันที่ 11มกราคม เวลา 13.00 -16.00น. คณะกรรมการหน่วย อว.ส่วนหน้า จังหวัดยะลาประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นำโดย ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการหน่วย อว.ส่วนหน้า จังหวัดยะลา คณะผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้และทีมอาจารย์นักวิจัย จัดประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนยะลาเมืองทุเรียน ตามแนวคิด BCG โดยมีนายกัสมัน ยะมาแล เกษตรจังหวัดยะลา เป็นประธานในการประชุม และมีหัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดยะลา ได้แก่ พาณิชย์จังหวัดยะลา พัฒนาการจังหวัดยะลา แรงงานจังหวัดยะลา หัวหน้าสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดยะลา และผู้แทนจากสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เข้าร่วมประชุมและนำเสนอแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับทุเรียนยะลา พร้อมระดมความคิดเห็นแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานทุเรียนยะลาสู่การขับเคลื่อนวาระ “ยะลาเมืองทุเรียน” ตามแนวคิด BCG ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา



รายงานโดย นางสาวลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว วันที่รายงาน 28/03/2567 [16337]
0 0
2 [16336]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และการประเมินผลมูลค่าผลประโยชน์ของการยกระดับผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน”

วันที่ 12มกราคม 2567อาจารย์ ดร.อัจฉราพร ยกขุน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วยคณะผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการคูปองวิทย์เพื่อ OTOP เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และการประเมินผลมูลค่าผลประโยชน์ของการยกระดับผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน” จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting



รายงานโดย นางสาวลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว วันที่รายงาน 28/03/2567 [16336]
0 0
1 [16025]

การบริหารจัดการเครือข่ายและการประสานงาน

ค่าจ้างบุคลากรประจำเดือนธันวาคม 2566
จ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อประสานงานและดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี

 

/online/cmo/filemanager/1682/files/รายงานความก้าวหน้าไตรมาส_1(1).pdf



รายงานโดย นางสาวสุไวบะห์ ยูโซะ วันที่รายงาน 20/01/2567 [16025]
15000 0
1 [16023]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พบปะผู้ประกอบในงาน “มหกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาระหว่างประเทศคาบสมุทรมลายูภาคใต้ อนุภูมิภาคไทย-มาเลเซีย-สิงค์โปร์”

       วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 09.30 – 21.00 น. อาจารย์ ดร.อัจฉราพร ยกขุน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนางสาวสุไวบะห์ ยูโซะ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี พบปะผู้ประกอบการในงาน “มหกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา ระหว่างประเทศคาบสมุทรมลายูภาคใต้ อนุภูมิภาคไทย-มาเลเซีย -สิงค์โปร์” เพื่อส่งเสริมการเปิดตลาดสินค้าและบริการฮาลาลของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการพัฒนาเศรษกิจ สังคมและการศึกษา ระหว่างประเทศคาบสมุทรมลายูภาคใต้ อนุภูมิภาคไทย-มาเลเซีย-สิงค์โปร์ เชื่อมโยงการพัฒนา เศรษฐกิจตามระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้และนโยบายของรัฐบาล ณ โรงแรมคริสตัล



รายงานโดย นางสาวสุไวบะห์ ยูโซะ วันที่รายงาน 20/01/2567 [16023]
0 7
1 [16022]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ต้อนรับคณะทำงานจากศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

           วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30 – 16.00 น. คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้อนรับศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการจัดกิจกรรมหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรม สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน กิจกรรมอบรมขั้นพื้นฐาน ภายใต้โครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ณ ห้องประชุมมังกีส ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ อาคาร 23 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

 


รายงานโดย นางสาวสุไวบะห์ ยูโซะ วันที่รายงาน 20/01/2567 [16022]
0 0
1 [16021]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงพื้นที่สำรวจความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อบ้านนิบง จังหวัดยะลา

           วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 17.00 น. อาจารย์ ดร.อัจฉราพร ยกขุน ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อาจารย์ ดร.ภัทรวดี เอียดเต็ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลทิพย์ กรรไพเราะ พร้อมด้วยคณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อบ้านนิบง เพื่อให้คำปรึกษาและวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปแคปวัวตามความต้องการของกลุ่ม ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อบ้านนิบง ศูนย์เรียนรู้ธุรกิจชุมชนโคเนื้อตำบลกาบัง หมู่ที่ 2 ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา



รายงานโดย นางสาวสุไวบะห์ ยูโซะ วันที่รายงาน 20/01/2567 [16021]
3000 3
1 [16017]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับหน่วย อว.ส่วนหน้า จังหวัดยะลา จัดประชุมคณะกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จังหวัดยะลา ครั้งที่ 3/2566

           วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายอำพล พงศ์สุวรรณ ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว. ส่วนหน้า) จังหวัดยะลา ครั้งที่ 3/2566 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าฯ และคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ วาระการประชุม ประกอบด้วย กิจกรรมการแสดง “ดนตรีในสวน : H.M. Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ” รายงานผลการดำเนินงานวิทยาลัยชุมชนยะลา ประจำปีงบประมาณ 2566 รายงานผลการดำเนินงานโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 7 โครงการ และพิจารณาแนวทางการจัดทำแผนบูรณาการ อว.ส่วนหน้าจังหวัดยะลาในการแก้ปัญหาความยากจนภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดยะลา พ.ศ. 2566 – 2570 ณ  ห้องประชุมพิกุล ชั้น 3 อาคาร 3 ศาลากลางจังหวัดยะลา



รายงานโดย นางสาวสุไวบะห์ ยูโซะ วันที่รายงาน 20/01/2567 [16017]
4000 30