2567 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 0
ผล 1. จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี 50 คน 2. จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี 100 คน 3. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 80 4. จำนวนข้อมูลในระบบ CMO 20 รายการ
ผล 1. จำนวนผู้รับบริการคำปรึกษาทางเทคโนโลยี 58 คน 2. จำนวนผู้รับบริการข้อมูลเทคโนโลยี 172 คน 3. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ร้อยละ 94.05 4. จำนวนข้อมูลในระบบ CMO 25 รายการ
ผล 1. มีการนำเทคโนโลยี และองค์คความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ การประกอบอาชีพของตน 2. ทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 3. มีการจ้างงาน ภาวะการว่างงานลดลง
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
4 [17827] |
คลีนิคเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้เกี่ยวกับตู้สำหรับอบย่านงด ให้แก่กลุ่มจักสานตำบลคลองชะอุ่นอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี แบบ 2 ระบบ ซึ่งประกอบด้วยระบบโซลาร์เซลล์และระบบไฟฟ้าปกติ เพื่อใช้ในการอบแห้งย่านงดให้เร็วขึ้นและได้อบแห้งต่อเนื่องไม่ต้องมีช่วงของการหยุดผลิตในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีระบบโซลาร์เซลล์ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านของค่าไฟฟ้าได้ รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 28/09/2567 [17827] |
0 | 74 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17702] |
คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัย โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ชุมชนกลุ่มผู้ผลิตและภาคีเครือข่าย สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ และให้คำปรึกษาแก่พื้นที่ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร มีชุมชนที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ตำบลด่านสวี ซึ่งมีการเปิดเป็นโฮมสเตย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการท่องเที่ยวในรูปแบบการชมวิถีชีวิต การทำประมงพื้นบ้าน โดยเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเล (Marin Ecotourism) ความต้องการของชุมชน คือ เส้นทางการท่องเที่ยวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวชและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในชุมชน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของชุมชนยังคงมีความสมบูรณ์อยู่เป็นอย่างมาก และยังต้องการองค์ความรู้ทางวิชาการในการบริหารจัดการโฮมเตย์ เพื่อให้ได้ซึ่งมาตรฐานของโฮมสเตย์ รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17702] |
10915 | 15 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17694] |
คลีนิกเทคโนโลยี ร่วมกับ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ลงพื้นที่อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง เพื่อสำรวจประเด็นปัญหาและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ พบว่ามี 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ต้องการรับคำปรึกษา คือ 1. กลุ่มพลังเป็ดสุขสำราญ ต้องการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เต้าส้อโดยไม่ใช้สารกกันบูด และต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ กระบวนการพัฒนาการผลิตภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาจะต้องกวนไส้ขนมให้มีปริมาณความชื้นน้อยลงและการอบผลิตภัณฑ์ต้องอบให้สุกและมีค่า Aw น้อยกว่า 0.85 2. กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลบ้านทะเลนอก ต้องการยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้เก็บรักษาไว้นานขึ้นจากเดิมที่เก็บไว้ได้แค่ 3-7 วัน กระบวนการพัฒนาเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาโดยเพิ่มขั้นตอนการนึ่งหลังจากตัดแต่งวัตถุดิบและมีการให้ความร้อนที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณน้ำให้ค่า Aw น้อยกว่า 0.85 รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17694] |
0 | 32 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17689] |
คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกหน่วยบริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงหนอนแมลงวันลายทางเลือกใหม่ที่ให้โปรตีนสูงสำหรับเป็นอาหารสัตว์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ ศาลาเอนกประสงค์ ต.ตะกุกใต้ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี พบว่า ผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพรโรงเรียนบ้านโพธิ์พนา นักเรียนมีความต้องการองค์ความรู้ด้านการผลิตที่ได้มาตรฐาน และการผลิตสินค้าที่ถูกหลักอนามัยนอกจากนี้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าสานรักษ์โลกของโรงเรียนวัดโพธิ์น้อย นักเรียนต้องการองค์ความรู้ในการออกแบบสินค้าให้เป็นที่น่าสนใจและยังไม่มีโลโก้สินค้า รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17689] |
6071 | 26 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17687] |
คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่สำรวจความต้องการและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าในพื้นที่ยังมีวัตถุดิบในท้องถิ่นอีกมากมาย เช่น กุ้งหลวง (กุ้งแม่น้ำ) หอยกัน ปูดำ และผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดท่าฉาง ไม่ใช่แค่กะปิขัดน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ทางกลุ่มยังขาดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาแปรรูปวัตถุดิบในท้องถิ่น โดยนำมาพัฒนาเป็นเมนูอาหารพื้นถิ่นที่ใช้วัตถุดิบดังกล่าวให้เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น เพื่อต่อยอดการแปรรูปกะปิขัดน้ำของพื้นที่ตำบลท่าเคยสู่การสร้างการรับรู้และการสร้างเอกลักษณ์ของชุมชนให้เป็นที่จดจำ และการยกระดับมูลค่าของผลิตภัณฑ์ต่อไป รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17687] |
1272 | 30 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17685] |
ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกับมหาวิทยาลัย โครงการจัดตั้งกองบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ชุมชนกลุ่มผู้ผลิตและภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เกษตรกรเลี้ยงปลากินพืชในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความต้องการพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงปลาเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงปลากินพืช และจากการประสานงานผ่านหน่วยงานกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าในพื้นที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริมาณปูม้าในธรรมชาติลดน้อยลง จึงมีการจัดตั้งธนาคารปูม้าขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการรอดของประชากรปูม้า แต่อัตราการรอดของประชากรปูม้าในธนาคารปูม้าลดน้อยลงจึงมีความต้องการองค์ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการเพาะฟักลูกปูม้า รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 26/09/2567 [17685] |
3260 | 36 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17604] |
ไตรมาสที่ 4 คลินิคเทคโนโลยี ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารตำบลท่าเคย โดยดำเนินการในกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการเก็บรักษาและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งของผลิตภัณฑ์ซอสกะปิ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนากระบวนการเก็บรักษาและบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ในวันที่ 22 กันยายน 2567 ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารตำบลท่าเคย อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมซอสกะปิจะเป็นแบบบรรจุขวดซึ่งในกระบวนการขนส่งมีโอกาสทำให้ขวดแตกได้ และการบรรจุในขวดแก้วซึ่งเป็นขวดที่ค่อนข้างมาน้ำหนักส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งแพงขึ้นด้วย การถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้มีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากขวดแก้วเป็นซองอลูมิเนียมฟลอยที่มีความหนาอย่างน้อย 200 ไมครอน และฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ทำให้สาสมารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17604] |
12012 | 30 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17603] |
ไตรมาสที่ 3 การประชุมส่งเสริมการทำงานและทบทวนแผนการปฏิบัติงานแก่บุคลากรดำเนินงาน รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17603] |
7720 | 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17598] |
ไตรมาสที่ 4 การให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 256ึ7
กิจกรรมการประสานงานและบริหารจัดการเครือข่าย
- ค่าจ้างเหมาบุคคลธรรมดา ช่วยงานวุฒิปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ หรือสาขาใกล้เคียง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 กันยายน 2567 จำนวน 11 เดือน × 15,000 บาท เป็นเงิน 165,000 บาท
รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17598] |
165000 | 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 [17596] |
ไตรมาสที่ 2 วันที่ 30 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพื้นที่เทศบาลตำบลคลองชะอุ่น และร่วมปรึกษาหารือกับ นายไพฑูรณ์ คงเดิม นายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น และ นายปกิต ทนุผล ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลคลองชะอุ่น พบว่า ผลิตภัณฑ์จักสานจากย่านงด พบปัญหาด้านการเหลาย่านงดที่เป็นเส้นที่เท่าๆ กัน ผลิตภัณฑ์จากกล้วยหอมทอง มีความต้องการองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมสร้างการรับรู้ให้แก่ผลิตภัณฑ์จากย่านงดในงาน University Project : SRU Soft Power วันที่ 10 - 11 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี รายงานโดย นายปองพล ชุมศรี วันที่รายงาน 24/09/2567 [17596] |
0 | 18 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 [16645] |
รายงานผลการดำเนินงานโครงการ การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (ไตรมาส 2) ภายใต้แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS)
โดย คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ในปีงบประมาณ 2567 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีแผนที่จะดำเนินการบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูล เทคโนโลยีในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดใกล้เคียง โดยครอบคลุมประเด็นที่เชี่ยวชาญคือ (1) เทคโนโลยีด้าน อาหาร ได้แก่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การยกระดับและแปรรูปผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงการผลิต (2) เทคโนโลยีการผลิต อาหารต้นทุนต่ำเพื่อเลี้ยงโค เป็ด ไก่ไข่ สุกร และแพะ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (3) การผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อ ใช้ในครัวเรือน (4) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชอินทรีย์แบบปลอดสารพิษในครัวเรือน (5) การแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติและพืชสมุนไพร (6) เทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ตามฤดูกาล ในการดำเนินการโครงการบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีจะร่วมกับคณะหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย อว.ส่วนหน้าและภาคีเครือข่ายส่วนราชการต่างๆในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ปัญหาความต้องการและรับฟังปัญหาของชุมชน และนำความต้องการที่ได้รับมาสังเคราะห์เพื่อหาโจทย์ เทคโนโลยี/องค์ความรู้และแนวทางในการแก้ไข เช่นการลงพื้นที่ให้คำปรึกษา การอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้ ยังมีการดำเนินงานโดยบูรณาการร่วมกับงานบริการวิชาการของคณะและมหาวิทยาลัยควบคู่ไปด้วย คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินกิจกรรมการบริการให้คำปรึกษาและการให้บริการข้อมูลเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ดังนี้
ไฟล์รายงานควาามก้าวผลการดำเนินงานโครงการ รายงานโดย นางสาวกัญญารัตน์ แสงสุวรรณ(จนท.) วันที่รายงาน 05/04/2567 [16645] |
15000 | 24 |