2567 การบริการให้คำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17966]

13. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวการยืดอายุอาหารด้วยรีทอร์ท

วันที่ 24 พฤษภาคม 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.วิรงรอง  ทองดีสุนทร

ผู้ประกอบการ รับปรึกษาต่อเนื่องจากปี 2562 โดยในปีนี้ต่อยอดการทำ น้ำเงี้ยวรีทอร์ทแบบจ้าง OEM    



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17966]
0 2
4 [17961]

8. บริการคำปรึกษากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสับปะรดภูแล

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง /ตึกปฏิบัติการเทคโนโลยีการอาหาร S4มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์

ผู้ประกอบการ ร่วมกับเทศบาลตำบลนางแล เข้ามาขอรับบริการคำปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสับปะรดภูแล ซึ่งได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ และได้นัดหมายทำการทดลองการแปรรูปไซรับสับปะรดด้วยเครื่อง Evaporator และการผลิตสับปะรดแผ่นกรอบต่อไป



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17961]
0 3
4 [17962]

9.การแปรรูปผลิตภัณฑ์ น้ำสับปะรดอักแก๊สจากแกนน้ำสับปะรด

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567

สถานที่ : ตึกปฏิบัติติการเทคโนโลยีการอาหาร S4มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์

ผู้ประกอบการ เข้ามาใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำสับปะรดอักแก๊สจากแกนน้ำสับปะรด ครั้งที่ 6

วันที่5 สิงหาคม 2567

ผู้ประกอบการ เข้ามาใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำสับปะรดอักแก๊สจากแกนน้ำสับปะรด ครั้งที่ 7      



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17962]
0 2
4 [17963]

สรุปการบริการคำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี ไตรมาสที่ 3

 

10.การแปรรูปข้าวกล้องงอก HPP

วันที่ 5 เมษายน 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง /ตึกปฏิบัติการเทคโนโลยีการอาหาร S4ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์

นักศึกษา ป.โท มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ มีความต้องการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เป็นตัวอย่างการแปรรูปข้าวกล้องงอกกับดอกไม้สายพันธุ์ท้องถิ่นเชียงรายเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เสริมสร้างความจำและภาวะอารมณ์ที่มีความสุข โดยทดลองฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการความดันสูง 600 MPa 5 mins



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17963]
0 1
4 [17965]

12. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศปรุงรส "Svadiest"

วันที่ 25 เมษายน 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.วิรงรอง  ทองดีสุนทร

นักศึกษาโครงการ ออมสินยุวพัฒน์ เข้าขอรับคำปรึกษาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศปรุงรส "Svadiest"

วันที่ 20 สิงหาคม 2567 ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประเมินอายุการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ Svariestและการจัดการสถานประกอบการสำหรับการขอ อย.



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17965]
0 3
4 [18032]

กิจกรรมการอบรมหลักสูตร “FSMA Preventive Controls for Human Food Qualified Individual” (ภาคภาษาอังกฤษ)

                  คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้กำหนดจัดกิจกรรมอบรมหลักสูตร "FSMA Preventive Controls for Human Food Qualified Individual"  ให้แก่ ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับข้อควรรู้เพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารไป USA และกฎระเบียบ Preventive Controls for Human Food (PCHF) จำนวน 17 คน ในวันที่ 20 – 21 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ณ ห้องชงโค อาคาร E-park มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ข้อกำหนด/ข้อควรรู้เพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารไป USA ไปจนถึงกฎระเบียบ แบบแผนความปลอดภัยด้านอาหารที่เป็นไปตามกฎการควบคุมเชิงป้องกันสำหรับอาหารมนุษย์ (PCHF) วิทยากรโดย Assoc. Prof. Dr. Ravi Jadeja ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยอาหาร จาก Oklahoma State University ประเทศสหรัฐอเมริกา

 



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [18032]
0 17
4 [17967]

14. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดน้ำอ้อยสด

วันที่ 24 พฤษภาคม 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์  

 วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกน้ำอ้อยอินทรีย์ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ได้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยืดอายุและต่อยอดน้ำอ้อยสด

ซึ่งส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ต่อยอดคำปรึกษาร่วมกับคลินิกเทคโนโลยีฯ โดยได้นำคำปัญหาของผู้ประกอบการเชื่อมกับโครงการ ออมสินยุวพัฒน์

 

 15. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดน้ำอ้อยสด (ออมสินยุวพัฒน์)

วันที่ 24 พฤษภาคม 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์  

ในวันเดียวกัน นักศึกษาโครงการ ออมสินยุวพัฒน์ เข้าขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และต่อยอดน้ำอ้อยสด ของวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกอ้อยอินทรีย์ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยใช้ตัวกาแฟน้ำอ้อย HPP เป็นผลิตภัณฑ์หลักในการพัฒนา

วันที่ 8 สิงหาคม 2567 นำผลิตภัณฑ์กาแฟน้ำอ้อย และน้ำอ้อยมะนาวโซดา เข้าทดลองฆ่าเชื้อด้วยความดันสูง และนำผลิตภัณฑ์ไปทดลองหาสภาวะการเก็บรักษาต่อไป



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17967]
0 6
4 [17968]

16. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบเมนูอาหาร

วันที่ 4 มิถุนายน 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ 

ทางบริษัท The living greens ร่วมมือกับอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในด้านการให้ความรู้เกษตรกรเรื่องการยืดอายุผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปผลผลิต รวมถึงการตรวจสารอันตรายตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร 

ทั้งนี้ทางบริษัทได้รับความร่วมมือจาก อบจ. และ การท่องเที่ยวจังหวัด เพื่อผลักดันต่อยอดโครงการเชียงราย wellness city และ โครงการพัฒนาเชียงรายเมืองท่องเที่ยวสีเขียวด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน คาดว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันผลผลิตจากกสิกรรมธรรมชาติของพี่น้องเกษตรชาวเชียงรายให้เติบโต

ได้อย่างยั่งยืน

วันที่ 28 สิงหาคม 2567   หลังจากบริษัท The living greens ได้เข้าประสานขอความร่วมมือกับทาง คลินิกเทคโนโลยีฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเมนูอาหาร จนไปถึงการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ การยืดอายุผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวการแปรรูปผลผลิต รวมถึงการตรวจสารอันตรายตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ไปแล้วนั้น ได้มีการนัดมายเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการทำ MOU ร่วมกับสำนักวิชาอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยในวันที่ 26 กันยายน 2567 คลินิกเทคโนโลยีฯ และ ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ ลงพื้นที่ เพื่อสำรวจ Packing House ในเบื้องต้น



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17968]
0 3
4 [17984]

สรุปรายชื่อและผลการประเมิน ไตรมาสที่ 2 (1 มกราคม 2567 – 31 มีนาคม 2567)

/online/cmo/filemanager/605/files/CMO67_2(1).xlsx

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ราวมค่าจ้างพนักงาน) 52,671 บาท



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17984]
52671 0
4 [18031]

การถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักการเบื้องต้นการประเมินคาร์บอนภายในโรงงานกลุ่มธุรกิจ​การเกษตร

คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ดำเนินกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ หลักการเบื้องต้นการประเมินคาร์บอนภายในโรงงานกลุ่มธุรกิจการเกษตร ให้แก่ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และบุคคลทั่วไป จำนวน 23 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคาร์บอน ไปจนถึงการฝึกปฏิบัติการคำนวนคาร์บอน ในวันที่ 17 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 - 16.00  ณ ห้อง คำมอกหลวง อาคาร E-park มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รศ. ดร.​ทรงเกียรติ​ ภัทร​ปัท​มา​วงศ์ อาจารย์ภาควิชา​วิศวกรรม​ส​ิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย​เทคโนโลยี​พระจอมเ​กล้าธนบุรี​ และ ผศ.ดร. สอนกิจจา​ บุญ​โปร่ง อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย​เกษตร​ศาสตร์ เป็นวิทยากร



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [18031]
0 23
4 [17989]

สรุปการบริการคำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี ไตรมาสที่ 4

 

17. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงการอาหารปลอดภัย จังหวัดเชียงราย

วันที่ 12 กรกฎาคม 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ 

          ตัวแทนจาก องค์การบริหารจังหวัดเชียงราย เข้าขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปประยุกใช้กับโครงการอาหารปลอดภัย จังหวัดเชียงราย



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17989]
0 1
4 [17990]

18. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าสับปะรดนางแล

วันที่ 16 กรกฎาคม 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.สุทธิวัลย์  สีทา

          เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ปลูกสับปะรดพันธุ์นางแลมีน้อยลงเมื่อเทียบกับสับปะรดพันธุ์ภูแล   ผู้ประกอบการผู้ปลูกสับปะรดพันธุ์นางแลเล็งเห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์สับปะรดพันธุ์นางแล   

- ต้องการเข้า model tred grume(กรูเม่) // ผู้ประกอบการยังไม่มีสถานที่ผลิตอาหาร ไม่มีอย

- ผปก มีพื้นที่ลูกไร่ ลูกสวนประมาณ 100 ไร่ (2,000 กก/1 ไร่) ช่วงเก็บเกี่ยวคือช่วง เมษายน - กรกฎาคม

- การเพิ่มมูลค่าของสับปะรดนางแล // ตอนนี้เอาไปทำแยม มีคนสิงคโปร์สั่ง 1000 กรัม/สัปดาห์ แต่ผลิตให้ไม่ทันเนื่องจากแปรรูปจะใช้น้ำ 2 3 ในการแปรรูป น้ำ1 เอาขายผลสด และผลผลิตของนางแลมีน้อย การแปรรูปเป็นพายสับปะรด บริษัทใหญ่ๆมีคนสนใจ แต่วางขายไม่ได้เพราะไม่มี อย ส่งผลิต OEM กังวลเรื่องสูตร

- การตลาด // ปัจจุบันขายตามเพจ

- ต้องการเพิ่มผลผลิตของสับปะรดนางแลน้ำหนึ่ง เพื่อขายสดและส่งออก // สับปะรดน้ำหนึ่ง เก็บเกี่ยวช่วงกลางเมษายน - ปลายมิถุนายน ก่อนฤดูฝน การผลิตยังไงให้ได้สับปะรดน้ำหนึ่ง ยังไม่มีงานวิจัยรองรับ อาจจะมีหลายปัจจัยทั้งดิน น้ำ สภาพอากาศ และการปลูกของแต่ละแปลง (อย่างเช่นการใช้สารเคมีในบางพื้นที่ ทำให้อายุสับปะรดสั้นลง 3 วันเน่าเสีย) ทดลองเทียบพื้นที่ปลุกแปบบอินทรีย์ กับพื้นที่ปลูกเคมี จดบันทึก เพื่อเทียบแต่ละสวนเพื่อหาว่าสวนไหนได้สับปะรดน้ำหนึ่งมากที่สุด

- พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อหาความโดดเด่น"



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17990]
0 1
4 [17991]

19. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาอาหารสัตว์

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ 

          ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาตีนไก่ปรุงรส ให้เป็นอาหารที่สัตว์เลี้ยงทานได้ จึงอยากพัฒนาให้สัตว์เลี้ยงทานได้ทั้งกระดูก



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17991]
0 2
4 [17992]

20. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมจากพืชดาวอินคา

วันที่ 8 กันยายน 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ 

          ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมจากพืชดาวอินคา โดยได้เข้ามาทดลองทำนมพืชดาวอินคามาฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการ HPP (600 mpa 5 mins) ทดลองทั้งหมด 3 สูตรด้วยปัน ประกอบด้วย สูตรนมถั่วดาวอินคาสกัดสด สูตรนมถั่วดาวอินคาแบบผง และสูตรนมถั่วดาวอินคาผสมโกโก้



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17992]
0 1
4 [17993]

21. การบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำเคล HPP

วันที่ 8 กันยายน 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ 

 

ในวันเดียวกันนั้น ผู้ประกอบการผู้ปลูกเคล ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และยืดอายุผลิตภัณฑ์น้ำผักเคลผสมน้ำผึ้งมะนาว โดยได้เข้ามาทดลองฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการ HPP



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17993]
0 1
4 [17994]

สรุปรายชื่อและผลการประเมิน ไตรมาสที่ 4 

/online/cmo/filemanager/605/files/CMO67_4.xlsx

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ราวมค่าจ้างพนักงาน) 85,541 บาท



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17994]
85541 0
4 [18029]

การถ่ายทอดเทคโนโลยี กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ความรู้เบื้องต้นมาตรฐาน GHP and HACCP

 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้มีกำหนดการจัดกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ "หลักการเบื้องต้นมาตรฐาน GHPs และ HACCP"ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค ๑ ให้แก่ผู้บริหาร พนักงาน ของบริษัทเบตเตอร์ฟรุ๊สต์จำกัด และ บริษัทเฮลท์เฮิร์บเซ็นเตอร์จำกัด รวมถึง ผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจ และผู้ที่สนใจ จำนวน 30 ราย เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสุขลักษณะที่ดีความปลอดภัยในการผลิตอาหาร และการจัดการในการผลิตอาหาร ในระหว่าง วันที่ 8-9 กรกฏาคม 2567 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ อาคาร E4A ห้อง 508 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [18029]
0 21
4 [17985]

สรุปรายชื่อและผลการประเมิน ไตรมาสที่ 3 (1 เมษายน 2567 – 31 มิถุนายน 2567)

/online/cmo/filemanager/605/files/CMO67_3.xlsx

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ราวมค่าจ้างพนักงาน) 54,288 บาท



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17985]
54288 0
4 [17964]

11. การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

วันที่ 23 เมษายน 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์

          สำนักงานเกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปเชียงราย ได้เข้าขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของ กลุ่มเกษตรกร ที่เป็นคัสเตอร์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป​จังหวัดเชียงราย จำนวน 30ราย ซึ่ง เกี่ยวข้องกับสมุนไพรและอาหารแปรรูปทั้งระบบ

คลินิกเทคโนโลยีฯ ได้คัดเลือกปัญหาให้ตรงกับผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัย และทำการจัดอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปนั้น ๆ



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 30/09/2567 [17964]
0 3
2 [16124]

2. บริการคำปรึกษาและเผยแพร่เทคโนโลยีการพัฒนาและแปรรูปน้ำผึ้งมะนาวโซดา  

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ. ดร. วิรงรอง ทองดีสุนทร

ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และแปรรูปน้ำผึ้งมะนาวโซดา รวมถึงสรุปผลและจัดส่งมอบ 1,000 กระป๋อง



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16124]
0 6
2 [16125]

3. บริการคำปรึกษาการยืดอายุอาหารเหนือด้วยรีทอร์ท

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.ณัฏยา คนซื่อ

คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ :

  • นัดหมายทำการทดลองรีทอร์ผลิตภัณฑ์ตามคอนดิชั่น (ตำขนุน 1 กก. แกงโฮ๊ะ สุก 50% 2 กก. (250 กรัม) และน้ำพริกหนุ่ม 1 กก.)
  • ติดตามผล

 



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16125]
0 1
2 [16126]
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เทคโนโลยีอิเล็กโทรบับเบิลเพื่อยืดอายุสับปะรดภูแลตัดแต่งพร้อมบริโภค

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เทคโนโลยีอิเล็กโทรบับเบิลเพื่อยืดอายุสับปะรดภูแลตัดแต่งพร้อมบริโภค ให้แก่ผู้ประกอบการที่มีโรงสับปะรดในพื้นที่ จำนวน 7 ราย/สถานที่การผลิต ณ อาคารปฏิบัติการอาหาร S4 ห้อง 120 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญการถ่ายทอดเทคโนโลยี



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16126]
0 7
2 [16127]
  • กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปน้ำผึ้งมะนาวโซดาคราฟ

วันที่ 4 -5 ธันวาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปน้ำผึ้งมะนาวโซดาคราฟ ให้กับวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงผึ้ง จำนวน 32 ราย ณ อาคารปฏิบัติการอาหาร S4 ห้อง 120 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16127]
0 32
2 [16128]

4. บริการคำปรึกษาการการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

วันที่ 19 ธันวาคม 2566

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.ณัฏยา คนซื่อ

 

          สำนักงานจัดหางาน จังหวัดเชียงราย (กรมแรงงาน) มีความต้องการที่จะจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮ่อมลมจอย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีผลิตผลทางการเกษตรที่หลากหลาย และต้องการแปรรูปผลไม้ที่ทางกลุ่มมีอยู่แล้ว เบื้องต้นได้รับคำปรึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางในการแปรรูปแยมผลไม้(ฝรั่ง หม่อน กระเจี๊ยบ และส้มโอ) การแปรรูปจลลี่(กระเจี้ยบ และหม่อน) และการแปรรูปโยเกิร์ต



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16128]
0 3
2 [16129]
  • การเผยแพร่เทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

เมื่อได้รับการบริการคำปรึกษาการการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและทดลองผลิตภัณฑ์จนได้สูตรตั้งต้นแล้ว คลินิกเทคโนโลยีฯร่วมกับกรมแรงงาน จังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการจัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ในโครงการเตรียมความพร้อมแก่กำลังแรงงาน กิจกรรมแนะแนวอาชีพผู้ไม่อยู่ระบบการจ้างงาน กิจกรรมเพิ่มอาชีพ เพื่อรายได้ ปีงบประมาณ 2567 ให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 22 คน ในวันที่ 10 – 11 มกราคม 2567 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรฮ่อมลมจอย ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมี ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์ และ ผศ.ดร.ณัฏยา คนซื่อ เป็นวิทยากร



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16129]
0 22
2 [16130]

5. บริการคำปรึกษาการการยืดอายุน้ำพริกหนุ่มกิมจิและหมาล่า

วันที่ 19 ธันวาคม 2566

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ณัฏยา คนซื่อ

ผู้ประกอบการ ไร่อิงจันทร์ ได้ทดลองทำน้ำพริกหนุ่มกิมจิและหมาล่าเพื่อหาตลาดใหม่ๆ มีปัญหาด้านการยืดอายุของผลิตภัณฑ์เนื่องจากต้องการขยายตลาดส่งออกไปต่างประเทศ เบื้องต้นได้ทำการทดลองรีทอร์ทน้ำพริกหนุ่มหม่าล่าและกิมจิ และทดลองทำผงด้วยวิธีdrum dryer

ติดตามผล



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16130]
0 1
2 [16132]

สรุปการบริการคำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี ไตรมาสที่ 2

 

6. บริการคำปรึกษาและสาธิตการทำเห็ดแผ่นกรอบ

วันที่ 15 มกราคม 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์

คุณจินดา ผู้ประกอบการฟาร์มเห็ด สนใจการแปรรูปเห็ดด้วยนวัตกรรมการทำเห็ดแผ่นกรอบเพื่อสุขภาพ จึงขอเข้ารับคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสำนักวิชา เพื่อสาธิตกระบวนการทำเห็ดแผ่นกรอบเพื่อสุขภาพ

โดยจะนำเทคนิคการแปรรูปไปประยุกต์ใช้ต่อไปในอนาคต

 

7. บริการคำปรึกษาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สับปะรดผลสด (TopSeal)

วันที่ 15 มกราคม 2567

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา : ผศ.ดร.พันธ์สิริ สุทธิลักษณ์

บริษัทนงเยาว์ฟู้ดส์โปรดักส์ มีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของสับปะรดผลสด โดยบรรจุภัณฑ์เดิมมีปัญหาด้านการขนส่งเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ยุบและแตก

ผู้ประกอบการได้รับคำปรึกษาเบื้องต้น และได้เข้ามาทดลอง เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ เป็นแบบ Top Sealโดยใช้พลาสติกที่หนาขึ้น

 



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16132]
0 2
2 [16123]

สรุปการบริการคำปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี ไตรมาสที่ 1

  1. บริการคำปรึกษาการอบแห้งเมล็ดโกโก้

วันที่ 1 ตุลาคม 2566

สถานที่ : สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

บริษัท พีบี วัลเลย์(เชียงราย) ขอเข้ารับคำปรึกษาและทดลองการอบเมล็ดเมล็ดโกโก้แห้งเพื่อลดความชื้น ให้อยู่ในค่ามาตรฐาน 7 % ด้วยตู้อบลมร้อน (tray dryer)



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16123]
0 1
2 [16131]

สรุปรายชื่อและผลการประเมิน ไตรมาสที่ 1 (1 ตุลาคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566)

/online/cmo/filemanager/605/files/CMO67_1.xlsx

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ราวมค่าจ้างพนักงาน) 45,000 บาท



รายงานโดย กชกร คำวัง วันที่รายงาน 13/02/2567 [16131]
45000 0