2567 โครงการบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2567   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17159]

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.สมชาติ ธนะ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีของน้ำพริกลาบแม่จันทร์นวล ณ สถานประกอบการ น้ำพริกลาบแม่จันทร์นวล ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ (เวียงลอคราฟท์) ตำบลลอ อำเภอจุน โดยมี นางสาวคนึงนิจ กาศสนุก ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลลอ ให้ข้อมูลประเด็นความต้องการเชิงพื้นที่ของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ (เวียงลอคราฟท์) ตำบลลอ อำเภอจุน ในครั้งนี้ด้วย



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 22/07/2567 [17159]
2400 10
4 [17158]

    เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ได้มอบหมายให้ ดำเนินโครงการ "การบูรณาการความร่วมมือ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการพัฒนาอาชีพ ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อร่วมพัฒนาคน พัฒนาชาติ" ในพื้นที่ดำเนินงาน 10 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ตาก และ พิษณุโลก) และ 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย สิ่งทอ ของฝากของที่ระลึกและการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพครูในสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้วยกลไกเครือข่ายสถาบันการศึกษา นั้น
     โดยมี นางสาวสุธาศินี ทับยา และ นางสาวปรียาพร วงศ์กา ดำเนินการชี้แจง “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคเหนือ ด้วย อววน.” และการศึกษาข้อมูลประเด็นความต้องการเชิงพื้นที่และแนวทางการพัฒนาโครงการร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี พร้อมทั้งการวิเคราะห์ประเด็นความต้องการเชิงพื้นที่ของครู สกร. และแนวทางการพัฒนาโครงการร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย สิ่งทอ ของฝากของที่ระลึก และการเกษตร (One page) โดยมี นางสายพันธ์ เรืองคำวัฒนา ตำแหน่ง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ให้ข้อมูลประเด็นความต้องการเชิงพื้นที่และแนวทางการพัฒนาโครงการร่วมกับคลินิกเทคโนโลยี และ ได้สรุปผลการวิเคราะห์ประเด็นความต้องการเชิงพื้นที่ของครู สกร. (One page )และให้ข้อคิดเห็น (ผ่านระบบ ZOOM Meeting)
     โดย ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา การเข้าร่วมหารือผ่านระบบ ZOOM Meeting ร่วมกันกับ ครู สกร. จำนวนอีก 2 ท่านคือ นางสาวคนึงนิจ กาศสนุก ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลลอ และนางสุภัทรา เกเย็น ครู กศน. ตำบลเชียงแรง เพื่อการดำเนินการในทิศทางเดียวกัน
 



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 22/07/2567 [17158]
640 5
4 [17160]

เมื่อวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.สมชาติ ธนะ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาศักยภาพครู สกร. ภาคเหนือ ด้วย อววน.” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร สกร. ภาคเหนือ ในพื้นที่เป้าหมายนำร่อง 10 จังหวัด โดยใช้กลไกองค์ความรุ็ด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจากเครือข่าย อว. และสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือเพื่อเข้าร่วมพัฒนาแผนงานโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นทีและเกิดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ตลอดจนเกิดเครือข่ายความร่วมมือ เกิดแนวทางการบูรณาการเพื่อสร้างฌมเดลนำร่องการพัฒนาศักญภาพครู สกร.ในภาคเหนือ และขยายผลสู่พื้นที่ 77 จังหวัด ต่อไป

ทั้งนี้ ครู สกร.ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวประกอบด้วย

  1. นางสาวคนึงนิจ กาศสนุก ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
  2. นางสุภัทรา เกเย็น ครู กศน. ตำบลเชียงแรง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
  3. นางสายพันธ์ เรืองคำวัฒนา ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  4. นายราชัน ติญานันต์ ครูนิเทศกลุ่มร่มเย็นตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา


รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 22/07/2567 [17160]
10250 0
3 [16889]

      เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.สมชาติ ธนะ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมประชุม การวางแผนแนวทางการบูรณาการความร่วมมือ สป.อว. และ สกร. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร สกร. ด้านการพัฒนาอาชีพ ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (ววน.) เพื่อร่วมพัฒนาคน พัฒนาชาติ ณ อาคารภูมิปัญญาล้านนา (อาคาร 15 เจ็ดยอด) ชั้น 4 ห้อง 406 คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย เข้าร่วมประชุมหารือ ร่วมกับผู้แทน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว). เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพครู สกร.ภาคเหนือ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)” การประชุมหารือในครั้งนี้ เป็นการวางแนวทางการดำเนินโครงการฯ ตามนโยบาย พัฒนาพื้นที่ของ กปว. สป.อว.และแนวทางในการสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการ ตลอดจนแผนการดำเนินงาน “การบูรณาการความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร สกร.” โดยในปีนี้จะเริ่มนำร่องใน 10 จังหวัดภาคเหนือ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพครู สกร.และพัฒนาหลักสูตร Upskill Reskill ด้านการพัฒนาอาชีพ ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) รวมทั้งการถอดแบบจากความสำเร็จของม่อนล้านโมเดล ของ สกร.อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นแบบความสำเร็จในภาพของ ครูอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( อสวท.) ซึ่งเป็นครู สกร.(กศน.เดิม) ที่นำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการส่งเสริมอาชีพตามกลไกของ สกร. ตั้งแต่ปี 2562 นอกจากนี้ได้หารือถึงนโยบายในการพัฒนาศักยภาพครู สกร.ด้วย ววน.ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน ซึ่งนับว่าเป็นมิติการบูรณาการความร่วมมืออันดีในการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ที่จะนำไปสู่การขยายผลในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านอื่นๆที่สอดคล้องกับสภาพและบริบทของแต่พื้นที่ รวมทั้งไปสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดในอนาคตต่อไป



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 02/07/2567 [16889]
3690 0
3 [16888]

เมื่อวันที่ 6 – 7 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วยผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคเหนือ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)
โดยการประชุมฯ ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผอ.กปว. กล่าวเปิดการประชุม และ ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผธท. ได้กล่าวชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน มีวิทยากร ข้าราชการ เจ้าหน้า กปว. และบุคลากรของเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีพื้นที่ภาคเหนือ เข้าร่วมการประชุมฯ ดังกล่าว
กิจกรรมภายใต้การประชุมฯ ประกอบด้วย
🔻วันที่ 6 มิถุนายน 2567🔻
▶️(1) การบรรยายเรื่อง “บทบาทของเครือข่ายความร่วมมือในการนำ วทน. ไปบูรณาการในเชิงพื้นที่”
โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผอ.กปว. ได้นำเสนอนโยบายของ อว. / แนวทางการบูรณาการการทำงานของเครือข่ายของ กปว. และหน่วยงานภายใต้สังกัด อว. รวมทั้งกลไกขับเคลื่อนการนำ ววน. ไปใช้พัฒนาพื้นที่
▶️(2) การบรรยาย เรื่อง “แนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ ตามมิติประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพการให้บริการ”
โดย ดร.อุทัย เจริญวงศ์ รองประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ได้นำเสนอกรอบแนวทางการประเมินโครงการของคลินิกเทคโนโลยีด้วย CIPPiest Model
▶️(3) การอภิปราย เรื่อง “Show & Share success การพัฒนางานด้าน ววน. ในพื้นที่” โดยได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์การทำโครงการภายใต้แพลตฟอร์มของคลินิกเทคโนโลยีจากวิทยากร ดังนี้
▪️แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษา (TCS): นางสาวอรดา เสาร์เจริญ ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ▪️แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (BCE): ผศ.ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หัวหน้าโครงการ Hug Green (ฮักกรีน)
▪️แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (SCI): ผศ.น.สพ.ดร.สมชาติ ธนะ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา หัวหน้าโครงการ หมู่บ้านโคเนื้อหนองสระ เพื่อบริหารจัดการอาหารจากวัสดุเกษตรในท้องถิ่นและพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานการจัดการฟาร์มที่ดี (Good Farm Management)
▪️ ประสบการณ์การทำผลงานวิชาการรับใช้สังคม: รศ.ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
🔻วันที่ 7 มิถุนายน 2567🔻
▶️(1) การบรรยายเรื่อง “การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. ในระดับภูมิภาค”
โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผธท. ได้นำเสนอโครงสร้างการทำงานและโครงดารภายใต้กลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ธท.)
▶️(2) การบรรยาย เรื่อง “แนวทางและกรอบการดำเนินงานการส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2568”
โดย นางสาวอัญชลี งอยผาลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ได้นำเสนอกรอบแนวทางการทำงานของแพลตฟอร์มภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
▶️(3) การเสวนาเรื่อง “แนวทางการเชื่อมโยงกลไกเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานด้าน ววน. ในพื้นที่”
โดยมี ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผธท. เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาร่วมกับวิทยากร ได้แก่
▪️ ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย - ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา
▪️ ผศ.ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล - ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ม.พะเยา
▪️ ผศ.ดร.เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ - ประธานเครือข่ายอุดมศึกษา C-UBI ภาคเหนือตอนบน
▪️ ผศ.ดร.สุริยะ ทองมุณี - รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
▶️(4) การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเรื่อง “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน วทน. ในระดับภูมิภาค” เป็นการระดมความคิดเห็นจากผู้แทนคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายภาคเหนือ ในการทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน วทน. ในระดับภูมิภาค เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานต่อไป

-------------------------------------------------------------------------
🔺🔺🔺สอบถามข้อมูลและขอรับบริการคำปรึกษา โปรดติดต่อ
นางสาวสุธาศินี ทับยา ผู้ประสานงานโครงการคลินิกเทคโนโลยี
☎️☎️☎️☎️

หมายเลขโทรศัพท์ 08 6186 3300 หรือ e-mail: sutasinee.oil28@gmail.com  



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 02/07/2567 [16888]
5760 0
3 [16845]
เมื่อวันที่ 20-21 มิถุนายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หลักสูตรการวางแผนกลยุทธ์การตลาดโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับผู้ประกอบการและผู้สนใจ ณ โรงแรมเคเอ็มกว๊านพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวางแผนและบริหารจัดการกลยุทธ์การตลาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการนำนวัตกรรมมาปรับใช้กับธุรกิจและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันสามารถก้าวทันต่อบริบทของโลกยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 27/06/2567 [16845]
42690 57
3 [16844]

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ร่วมออกงานแสดงนิทรรศและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจของชุมชน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นรับผิดชอบ ให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด มีความพึงพอใจต่อการให้บริการ และสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีทั่วประเทศ ภายใต้งานการทำบันทึกลงนามความร่วมมือ เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ณ บ้านเรียนรู้ย้อมห้อมและย้อมสีธรรมชาติ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 27/06/2567 [16844]
8100 68
3 [16706]

"การบริการให้คำปรึกษาด้าน วทน. และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยี" ณ ศูนย์การเรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ 7 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

---------------------------------------------------------------------------------

เมื่อวันที่ 26-29 เมษายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยพะเยาลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชนให้แก่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ โดยมี นางสาวสุธาศินี ทับยา และ นางสาวปรียพร วงศ์กา เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนเช่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วย วทน. เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ พัฒนากระบวนการผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่งเสริมอาชีพ สร้างอาชีพใหม่ สร้างรายได้ ลดรายจ่าย และลดความเหลื่อมล้ำ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ณ ศูนย์การเรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ 7 ตำบล



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 09/05/2567 [16706]
12505 50
3 [16699]

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการเพื่อสังคม นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตว์แพทย์ ดร.สมชาติ ธนะ รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วยนางสาวกานต์พิชชา ปัญญา รักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานและเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ลิ้นจี่ห้วยป่ากล้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยบรรจุภัณฑ์ ด้วยการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ให้แก่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และกลุ่มเกษตรกร ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ลิ้นจี่ห้วยป่ากล้วย ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยมีนายศรัณย์ เหมะ
นักออกแบบนวัตกรรม ให้คำปรึกษาด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ลิ้นจี่เกรดพรีเมี่ยมด้วยบรรจุภัณฑ์



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 07/05/2567 [16699]
1600 6
2 [16611]
    เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี งานบริการวิชาการเพื่อสังคม ลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ให้แก่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกร
    โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารักษ์ กลิ่นบำรุง อาจารย์สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของกระบวนการ กรรมวิธีผลิตการทำถ่านอัดแท่ง โดยวิธีการเฉพาะของกลุ่มเมื่อนำมาใช้จะมีควันน้อยลง และความชื้นก็ลดลงด้วย รวมถึงมีค่าความร้อนสูงขึ้นพร้อมทั้ง โดย นางสุชาดา สุวรรณภูมิ เป็นผู้สาธิตกรรมวิธีการผลิตถ่านอัดแท่ง
    ทั้งนี้สมาชิกกลุ่มขอคำแนะนำวิธีการนำเผาถ่านอัดแท่งเพื่อสะดวกต่อการใช้งานที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้าสายท่องเที่ยว แคมป์ปิ้ง อีกด้วย อาจารย์แนะนำ วิธีการใช้งานที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้าสายท่องเที่ยว แคมป์ปิ้ง หลังจากที่เสร็จสิ้นกระบวนการผลิตให้นำถ่านอัดแท่งที่แห้งแล้วน้ำมาทาน้ำมันปาล์มบางส่วนบนของถ่านเมื่อนำไปใช้งานก้จะทำให้จุดไฟง่ายขึ้น


รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 05/04/2567 [16611]
0 10
2 [16305]

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีและศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สายธุรกิจครบวงจรภูมิภาค : โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ การลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ให้แก่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้ ดร.รณกร สร้อยนาค อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาใช้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภค ณ ธนธัสฟาร์ม ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา และมีภารกิจร่วมกันเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การสร้างอาชีพในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้ลดรายจ่าย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต ผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์ นำเทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมการเพิ่มผลิต รวมถึงการหาแหล่งเงินทุนสนับสนุน และเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยให้แข็งแกร่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก


 



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 27/03/2567 [16305]
720 5
2 [16220]

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา นางสาวสุธาศินีทับยา พร้อมด้วย นางสาวปรียพร วงศ์กา กลุ่มงานบริการวิชาการและงานบ่มเพาะธุรกิจ UBI และ ดร.รณกร สร้อยนาคผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ หารือร่วมกับเจ้าหน้าที่สายธุรกิจอาหารสัตว์ของบริษัทซีพีเอฟประเทศไทยจำกัดมหาชน นายธนพิพัฒน์ จารุสวัสดิ์ ผู้บริหารงานส่งเสริมบริการ นายเพิ่มพูล เร็ตเต้ และนางสาวณัทพร พรีศักดิ์ เกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับไข่เป็ด โดยการนำเทคโนโลยีมาในพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไข่เป็ด เช่นการใช้กระบวนการสเปรย์ดราย (Spray dry) ดรัมดราย (Drum dry) ฟรีซดราย (Freeze Dryer) เพื่อลดการสูญเสีย สี กลิ่น รสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งนี้ยังสามารถเก็บรับรักษาวัตถุดิบได้นานยิ่งขึ้น



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 14/03/2567 [16220]
0 3
2 [16216]

    เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวสุธาศินีทับยา พร้อมด้วย นางสาวปรียพร วงศ์กา กลุ่มงานบริการวิชาการและงานบ่มเพาะธุรกิจ UBI การลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยี ณ วิสาหกิจชุมชนบ้านเกษตร@แพร่ ตำบลแดนชุมพล อำเภอสอง จังหวัดแพร่
จากการพูดคุยกับ นางพรชนก สั่งสอน ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านเกษตร@แพร่ ได้กล่าวว่า ทางกลุ่มมีผลิตภัณฑ์หมูแดดเดียวและแหนมอยากเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มมีหลากหลายผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า และทางกลุ่มมีความเห็นว่าอยากทำ น้ำพริกหนุ่ม
เพราะสมาชิกกลุ่มมีการปลูกพริกขายให้พ่อค้าคนกกลางอยู่แล้ว สามารถนำมาแปรรูปได้ง่าย ต้นทุนวัตถุไม่สูงมากและเป็นหนึ่งเมนูของอาหารเหนือที่มีเอกลักษณ์
   แต่ปัญหาของน้ำพริกหนุ่มอายุการเก็บที่สั้น โดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศร้อนจะเสียเร็ว ผู้ประกอบการจะใช้วิธีในการแช่เย็นหรือวางไว้บนน้ำแข็งเพื่อจำหน่าย แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ และเมื่อต้องส่งไปยังลูกค้าต่างพื้นที่ หรือต่างจังหวัดก็จะเสียระหว่างทาง
ผู้ประกอบการมีความต้องการวิธีหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาของอายุการเก็บรักษาน้ำพริกหนุ่มให้ได้นานขึ้น ยังคง กลิ่น รส สี และคุณค่าทางอาหารไว้ด้วยของน้ำพริกหนุ่ม
   ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้ดำเนินการประสานงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญการมีส่วนในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหา พร้อมทั้งหาแนวทางร่วมกัน มีส่วนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างสร้างสรรค์ โดยมี ดร.รณกร สร้อยนาคผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ  



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 13/03/2567 [16216]
2030 10
2 [16213]

   เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวสุธาศินีทับยา พร้อมด้วย นางสาวปรียพร วงศ์กา กลุ่มงานบริการวิชาการและงานบ่มเพาะธุรกิจ UBI ร่วมกับ นายนราศักดิ์ รังสรรค์ ศูนย์กลุ่มจังหวัด ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดพะเยา การลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยี โดยมีวัตถุปประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชนให้แก่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกร ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด กู๊ดเดย์เกทเวย์ ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
     ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ได้ดำเนินการประสานงานระหว่างผู้เชี่ยวชาญการมีส่วนในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหา พร้อมทั้งหาแนวทางร่วมกัน มีส่วนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างสร้างสรรค์ โดยมี ดร.รณกร สร้อยนาคผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ  



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 12/03/2567 [16213]
650 2
2 [16198]

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการ ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ การพัฒนาและออกแบบระบบมาตรฐานการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรคาวตอง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรแทนคุณ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี อาจารย์สันติพันธ์ เฉียบแหลม คณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรแทนคุณ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าว สามารถพัฒนาและยกระดับสินค้า OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอปให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มมูลค่าผลิตภาพหรือลดต้นทุนการผลิตสร้างโอกาสการแข่งขันทางด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากผักคาวตอง 



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 07/03/2567 [16198]
4000 10
2 [16114]

ค่าวัสดุสำนักงาน (ซื้อแบบรวมทั้งหน่วยงาน จัดซื้อโดยสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา)



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 01/02/2567 [16114]
24000 0
1 [15994]

การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยพะเยา (ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย) จำนวนร้อยละ 10 ของเงินสนับสนุน
ค่าธรรมเนียมเข้าสถาบันการศึกษา เนื่องจากมหาวิทยาลัยพะเยาได้ สมทบงบประมาณ สำหรับเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยรวมประกันสังคมและสวัสดิการอื่นๆ



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 19/01/2567 [15994]
24000 0
1 [16003]
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ภายใต้การกำกับของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มอบหมายให้ดำเนินโครงการ “กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” จังหวัดพะเยา ทำหน้าที่ในการดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดพะเยา ซึ่งมีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดพะเยาในการใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดพะเยาให้เป็นเมืองสุขภาวะ มากกว่านั้นยังเป็นสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพและความพร้อมในการจัดกิจกรรมฯ มีบุคลากรที่มีความสามารถในการเป็นที่ปรึกษาให้กลุ่มเป้าหมายทั้งในระหว่างจัดกิจกรรมฯ และภายหลังการจัดกิจกรรมฯ รวมถึงการประสานงานกับเครือข่าย/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน โดยเป็นการพัฒนา OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป (โดยการให้คำปรึกษาเชิงลึก ถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือพัฒนาดัดแปลงเทคโนโลยี) ใน 6 ประเด็นการพัฒนา ประกอบด้วย
(1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (4) พัฒนามาตรฐาน
(2) พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ (5) พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร
(3) พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต (6) พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบต้นน้ำ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับสินค้าโอทอป ด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพิ่มมูลค่า ผลิตภาพ หรือลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้และต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ พร้อมทั้ง พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ โอทอป ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้ ประโยชน์จากผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีผู้ประกอบการโอทอป จำนวน 13 กลุ่มธุรกิจ เข้าร่วมการนำเสนอ Pitching เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อเข้ารับบริการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วย วทน ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” โดยแบ่งตามประเภท ดังนี้ ของใช้ จำนวน 2 กลุ่ม , เครื่องแต่งกาย จำนวน 2 กลุ่ม , อาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 9 กลุ่ม 


รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 19/01/2567 [16003]
0 37
1 [16002]

 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่ร่วมกับ ดร.วิทวัส สัจจาพงศ์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีของนางโสภา สุขแสนโชติ ชาผักเชียงดาไร่แสนสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจของชุมชน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จาการลงพื้นที่พบว่าผู้ประกอบการมีความสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาของผู้ประกอบการให้ได้รับมาตรฐานสถานที่ผลิต และ อย. และการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ คุณภาพผลิตภัณฑ์ตามรายการมาตรฐาน วิเคราะห์อายุการเก็บรักษา และปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบซองที่มีความเหมาะสมในด้านวัสดุ ต้นทุน รูปลักษณ์การใช้งาน การรักษาคุณภาพ และฉลากตามกฏหมาย เพื่อยื่นขอรับรองมาตรฐาน  ทั้งนี้จะเชื่อมโยงไปยังกิจกรรม/โครงการ ที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 19/01/2567 [16002]
0 1
1 [16001]
   เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่ร่วมกับ อาจารย์นวพร เกษสุวรรณ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ ได้ดำเนินการลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีของนางวาด ยาเย็น เจ้าของแบรนด์ผักตบชวา "ชวาวาด" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจของชุมชน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จาการลงพื้นที่พบว่า นวัตกรรมการผลิตภัณฑ์ผักตบชวา สารสกัดป้องการการเกิดเชื้อรา การป้องกันและลดการเกิดเชื้อรา จากเดิมใช้สารเคมีในการป้องกันเชื้อรา อยากให้ที่ปรึกษา ช่วยในเรื่องกระบวนการลดการการเกิดเชื้อราและสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยป้องกันเชื้อราไม่ให้เกิดในผลิตภัณฑ์จักสานจากผักตบชวาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิต ทั้งนี้จะเชื่อมโยงไปยังกิจกรรม/โครงการ ที่เหมาะสมต่อไป


รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 19/01/2567 [16001]
0 2
1 [16000]

 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่ร่วมกับ ผศ.ดร.ปรียชนน์ เกษสุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์และอาจารย์นวพร เกษสุวรรณ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ได้ดำเนินการลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีของนายรุ่งนที คำเรืองฤทธิ์ เจ้าของแบรนด์ผักตบชวา "ลินชวา" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจของชุมชน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จาการลงพื้นที่พบว่า ตู้อบสำหรับตากผลิตภัณฑ์ผักตบชวา ในช่วงที่ไม่มีแดด หรือ ฤดูฝน เครื่องอบแห้งเดิมอบได้ไม่เกิน 25 ชิ้นต่อวัน แต่ออเดอิร์ที่ต้องผลิตมีมากกว่า 100 ใบต่อวัน อาจารย์แนะนำว่าตู้อบแห้งระบบปั๊มความร้อน (Heat Pump) สำหรับอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จักสานผักตบชวา ในช่วงที่ไม่มีแดด หรือ ฤดูฝน ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและทำให้แห้งได้ทั่วถึง เพิ่มกำลังการอบให้เหมาะกับปริมาณคำสั่งซื้อของลูกค้า ทั้งนี้จะเชื่อมโยงไปยังกิจกรรม/โครงการ ที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 19/01/2567 [16000]
0 1
1 [15999]
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่ร่วมกับ ผศ.ดร. สุทธินันท์ ศรีรัตยาวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และดร.รนกร สร้อยนาค คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ได้ดำเนินการลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีของนายธานินทร์ ไชยแสน เจ้าของผลิตภัณฑ์เรณูผัดไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจของชุมชน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จาการลงพื้นที่พบว่า การลดความร้อนให้กับถังต้มน้ำซอส เพื่อลดเวลาการรอก่อนบรรจุให้เร็วขึ้น เดิม ผปก ต่อท่อมา cooldown โดยใช้ถังน้ำแข็ง ซึ่งต้นทุนสูงมาก ต่อรอบการผลิต และถังต้มเดิมไม่มีการหุ้มฉนวน ท่อนำไม่มีการติดวาล์วหรี่ไอเสีย เพื่อลดการสูญเสียความร้อน เพื่อให้ได้คุณภาพเท่ากันในทุกรอบการผลิต  ทั้งนี้จะเชื่อมโยงไปยังกิจกรรม/โครงการ ที่เหมาะสมต่อไป
     


รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 19/01/2567 [15999]
0 1
1 [15997]
  เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ลงพื้นที่ร่วมกับ ผศ.ดร. สุทธินันท์ ศรีรัตยาวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินการลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีของชวภัทรกล้วยกรอบ ณ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจของชุมชน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จาการลงพื้นที่พบว่า ระยะเวลาการทอดกล้วยหรือเผือกที่มีความสุกไม่เท่ากันไม่สามารถกำหนดระยะเวลาความร้อนของไฟได้ระยะเวลาความสุกพอดีของกล้วยหรือเผือกที่ลงไปทอดของลูกแรกจนถึงลูกสุดท้ายที่ความสุก กรอบไม่เท่ากัน
พัฒนาเครื่องจักรเครื่องสไลด์กล้วยความต้องการเครื่องสไลด์กล้วยและเผือกที่มีความหนาสม่ำเสมอกัน และลดเวลาการสไลด์ และความปลอดภัยของผู้สไลด์กล้วย เผือก เนื่องจากเครื่องสไลด์แบบไม้ถือที่ใช้มีปัญหาเรื่องของความหนาบางของแผ่นกล้วย เผือกไม่เท่ากัน ช่วงที่ออเดอร์เยอะคนที่สไลด์จะเร่งในการสไลด์กล้วย เผือกก็จะเกิดอันตรายในการสไลด์กล้วย รวมถึงขั้นตอนการผลิตเพื่อควบคุมคุณภาพ ความสะอาดให้คงที่ ในทุกขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้อาจารย์ปแนะนำ เครื่องสไลด์กล้วย/เผือก ให้มีความหนาของชิ้นสม่ำเสมอและลดเวลาการสไลด์ และเพิ่มความปลอดภัยของผู้ทำงานและพัฒนาระบบการทอดควบคุมโดยระบบอินฟราเรด เพื่อควบคุมอุณหภูมิ เวลาการทอด เพื่อให้ได้คุณภาพมีความกรอบเท่ากันในทุกรอบการผลิต ทั้งนี้จะเชื่อมโยงไปยังกิจกรรม/โครงการ ที่เหมาะสมต่อไป


รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 19/01/2567 [15997]
0 3
1 [15996]

        ในวันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินการลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการและบริการให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาความต้องการด้านเทคโนโลยีและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเทคโนโลยีของนางสาวนันธิดา ปัญญา ฟาร์มเห็ดดอกคำใต้ ณ ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจของชุมชน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้พบว่า ปัญหาหินปูนในน้ำส่งผลให้เกิดตะกรันหินปูนที่เกิดจากการใช้น้ำบาดาลเข้าไปอุดตันในท่อส่ง ในระบบ smart famer และมีความต้องการในการทำมาตรฐานสถานที่ผลิต ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด ทั้งนี้จะเชื่อมโยงไปยังกิจกรรม/โครงการ ที่เหมาะสมต่อไป



รายงานโดย นางสาวสุธาศินี ทับยา วันที่รายงาน 19/01/2567 [15996]
0 1