2567 บริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี    0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
4 [17479]

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนกันยายน เป็นเงิน 15,000 บาท



รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 20/09/2567 [17479]
15000 0
4 [17478]

วันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2567
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในระดับภูมิภาค” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อาคารอํานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น)
 



รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 20/09/2567 [17478]
1500 50
4 [17480]

วัสดุสำนักงาน 



รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 20/09/2567 [17480]
2750 0
4 [17459]

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567
     โดย ดร.ปิยสุดา เทพนอก ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ มอบหมายให้ นายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด ผู้ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี ร่วมงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
     ภายในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ กรุงเทพมหานคร และร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED FUND) กับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED FUND) และภาคีเครือข่ายความร่วมมือ
     จากนั้นในภาคบ่าย ร่วมการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (คูปองวิทย์เพื่อโอทอป) โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา โครงการคลินิกเทคโนโลยี ซึ่งจัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
 



รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 18/09/2567 [17459]
4000 3
4 [17429]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่สำรวจความต้องการชองชุมชน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านคึมมะอุ-สวนหม่อน หมู่ที่ 3 ต.หนองหว้า อ.บัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
เพื่อเขียนข้อเสนอโครงการของบประมาณประจำปี 68 เข้าหารือผู้นำในพื้นที่ ประกอบด้วย
นายเมธาสิทธิ์ สิริจันทร์ชื่น พัฒนาการอำเภอบัวลาย
นายทน พิรักษา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า
นายดารากร รั้วชัย กำนันตำบลหนองหว้า
นางสาวส่งศรี คนยั้ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน

ประธานกลุ่ม และสมาชิกกลุ่ม
 



รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 17/09/2567 [17429]
4000 12
4 [17428]

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนกรกฎาคม- สิงหาคม 2 เดือน 30,000 บาท



รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 17/09/2567 [17428]
30000 0
4 [17390]

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2567
ให้ความรู้การทำผลิตภัณฑ์เสื่อกกให้ได้มาตรฐาน โดยให้ความรู้ในเรื่อง 1.การย้อมสีเส้นเสื่อกอ วิธีแบบธรรมชาติ และวิธีแบบเคมี 2.การออกแบบการทอลายเสื่อกก โดยได้รับความรู้จาก ผศ.ดร.สุธิดา วรรธนะปกรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรรมจำนวน 25 คน จากวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรคชนาริ ตำบลท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
 



รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 13/09/2567 [17390]
30000 25
4 [17391]

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567
ให้ความรู้การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพ โดยให้ความรู้ในเรื่อง 1.การทำยาหม่องสมุนไพร 2.การทำยาดมสมุนไพร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรรมจำนวน 30 คน จากกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนมหาชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
 



รายงานโดย นายยุทธนา ตอสกุล วันที่รายงาน 13/09/2567 [17391]
17000 30
3 [16765]

วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 งานบริการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ มอบหมาย งานคลินิกเทคโนโลยี

ลงพื้นที่จัดอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกิจกรรมการส่งเสริมคุณภาพให้กับผู้สูงอายุ ทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ใส่ใจคุณภาพชีวิตเชิงปฏิบัติการ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจะบก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

- ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม จำนวน 3500 บาท

- ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี ประจำเดือน เมษายน - มิถุนายน 45000 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในการให้คำปรึกษา 15000 บาท



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 05/06/2567 [16765]
63500 50
3 [16763]

วันที่ 3 เมษายน 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ มอบหมาย นายยุทธนา ตอสกุล ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี และนางสาววรรณา จันทร์สิงห์ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคดนโลยี พร้อมด้วย นายสุธีร์ เงิมสันเทียะ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ลงพื้นที่สำรวจประเด็นปัญหาและความต้องการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยเบรคแตกพ่อผู้ใหญ่ สืบเนื่องจากการลงพื้นที่เมื่องานเกษตรสุรนารี 2567 ที่ผ่านมา ได้ให้บริการคำปรึกษาไว้เบื้องต้น เพื่อขอรับสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปปุ๋ยหมักชีวภาพไฟเบอร์จากเศษวัสดุแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เหลือใช้ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (วว.)

ทั้งนี้ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ศูนย์ประสานงานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะนำผู้เชี่ยวชาญลงไปช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และเกิดประโยชน์กับกลุ่มต่อไป



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 05/06/2567 [16763]
3500 1
2 [16253]

วันที่ 19-20 มีนาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ นำโดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยนายยุทธนา ตอสกุล นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด และนางสาววรรณา จันทร์สิงห์ เข้าร่วมกิจกรรมอบรมที่ปรึกษา Train the Trainer (Consultant) ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม (Industrial Research and Development Capacity Building: IRD Cap Building) สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ ดร.วรรณภา น่าบูรณะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ให้การต้อนรับในครั้งนี้
ครั้งนี้ได้รับเกียรติการบรรยายจากวิทยากรมากฝีมือ โดยมีรายนามดังต่อไปนี้
1. ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ
2.รศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง ผู้อำนวยการโครงการฯ
3. รศ.ดร.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ หัวหน้าโครงการฯ
4. อาจารย์ ดร.ฉัตรชัย พิศพล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
5.นายจิรพิสิษฐ์ รุจน์เจริญ ประธาน YEC หอการค้านครราชสีมา
✍️✍️กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมให้แก่ที่ปรึกษารายใหม่และรายเดิมในการเตรียมความพร้อมในการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม ผ่านการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการวิจัยของมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมและความสามารถในการจัดตั้งหรือพัฒนาปรับปรุงหน่วยวิจัย (R&D Unit) ในสถานประกอบการตลอดจนพัฒนาให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถนำภูมิปัญญามาผสมผสานกับเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ อันเป็นการกระตุ้นการลงทุนด้วนการวิจัยและพัฒนาในอนาคต
📝📝กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม ได้แก่ คณาจารย์และเจ้าหน้าที่จาก
👩‍💻 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
👩‍💻 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
👩‍💻 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
👩‍💻 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
👩‍💻 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน นครราชสีมา 

 

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนมีนาคม 15000 บาท



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16253]
17000 0
2 [16252]

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567
🔓ปลดล็อกมหา’ลัย ขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมไทย สู่เป้าหมาย 1,000 x 1,000 ร่วมสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย นายยุทธนา ตอสกุล และนางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด เข้าร่วมกิจกรรม
✍️สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (จ.นครราชสีมา) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดงานประชุมสัมมนา “ปลดล็อกมหา’ลัย ขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมไทย สู่เป้าหมาย 1,000 x 1,000 ร่วมสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท” (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ณ ห้อง B406 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางสาวนิรดา วีระโสภณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สอวช. เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจากอาจารย์ ดร. มัลลิกา สังข์สนิท รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ นวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน
สอวช. เล็งเห็นถึงความสำคัญของ University Holding Company เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในระบบนิเวศนวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่ม จำนวนบริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation-Driven Enterprise) ของไทย สอวช. จึงส่งเสริมให้มีการร่วมลงทุนใน ธุรกิจนวัตกรรมโดยกลไก University Holding Company ผ่านการออกนโยบายและระเบียบต่าง ๆ และเพื่อเผยแพร่สาระสำคัญของนโยบาย แนวปฏิบัติและระเบียบดังกล่าว รวมถึงเพื่อสร้างความ เข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและระบบนิเวศส่งเสริมผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมในภาพรวมต่อผู้บริหารและบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐ หน่วยงาน อื่น ๆ และผู้เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
👩‍💻การบรรยาย หัวข้อ "นโยบายและกฎหมายด้านการปลดล็อคระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมไทย" โดย นางสาวนิรดา วีระโสภณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สอวช.
🧑‍💻การบรรยาย หัวข้อ “การจัดตั้งและดำเนินการ University Holding Company” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🧑‍💻การเสวนา หัวข้อ “การส่งเสริม Startup/Spin-Off จากงานวิจัยและนวัตกรรม”
โดย 1) อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิจัยและผู้ประกอบการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งบริษัท นาอีฟ อินโนว่า จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด
2) รศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3) ผศ. ดร.ปภากร พิทยชวาล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
4) นางสาวมนันยา ชุณหวุฒิยานนท์ ผู้อำนวยการฝ่าย สอวช.
และดำเนินการเสวนาโดย นายอานนท์ ตานะเศรษฐ ผู้เชี่ยวชาญนโยบาย สอวช.
การออกบูธจากหน่วยงานภาครัฐ ศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง บริษัทผู้ประกอบการนวัตกรรม และ startup 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16252]
1000 0
2 [16251]

วันที่ 14 มีนาคม 2567 งานบริการคลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบหมายบุคลากร นายยุทธนา ตอสกุล นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ และนางสาวเกศรินทร์ ทุมมา นางสาวดวงกมล โคกขุนทด นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
👨‍🔬ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ “การสร้างเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ วัดบ้านกุดจอกน้อย ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
✍️ครั้งนี้กล่าวเปิดกิจกรรมโดย นายสุรพันธ์ ศิลปสุวรรณ รองผู้ว่าจังหวัดนครราชสีมา ภายในงานมีกิจกรรมจากบูทหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชนเข้าร่วมจัดกิจกรรมในครั้งนี้รวมถึงอาสาสมัครฯ กลุ่มแม่บ้าน ผู้ประกอบการ และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้นำผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาสูตร เช่น ยาดม ยาหม่องสมุนไพรและแผ่นแปะสมุนไพร ไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย รวมถึงการให้บริการคำปรึกษาในเรื่องของผลิตภัณฑ์สมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยบ้านสำเร็จ ตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้เข้ามารับบริการคำปรึกษาในครั้งนี้ด้วย



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16251]
5000 105
2 [16250]

1.วันที่ 20 ธันวาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการยกระดับ OTOP ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จ.นครราชสีมา ค่าใช้จ่าย 1000 บาท
2.วันที่ 12-21 มกราคม 2567 งานเกษตรสุรนารี ค่าใช้จ่าย 7000 บาท
3.วันที่ 31 มกราคม 2567ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรฅฌนารี อ.เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ค่าใช้จ่าย 4000 บาท

ค่าจ้างเจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี เดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ 2 เดือน 30000 บาท


 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 22/03/2567 [16250]
42000 0
2 [16136]

วันที่ 12-21 มกราคม 2567 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้าร่วม“งานเกษตรสุรนารี’67”ภายใต้แนวคิด “Sustainable Agri-Innovation for BCG : เกษตรสร้างสรรค์ นวัตกรรมก้าวหน้า สู่การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
👩‍💼🧑‍💼ภายในงานนำโดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน “งานเกษตรสุรนารี’ 67 และงานมหกรรมสินค้านวัตกรรม เทคโนโลยี เครื่องจักรกลการเกษตร : Thailand Tapioca Expo Korat 2024 งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรครั้งใหญ่ของโคราช ผลผลิตสินค้าทางการเกษตร ฝึกอบรม เสริมทักษะวิชาชีพ รับยุค BCG การจัดประกวดแข่งขันด้านพืชและสัตว์ เพิ่มความสุข กิจกรรมสันทนาการ พร้อมฐานเรียนรู้อุทยานวิทย์ จุดเช็กอิน แสงสีเสียง ยิ่งใหญ่กว่าและสนุกกว่าทุกปี 10 วัน 10 คืน ที่อาคารเทคโนธานี มทส. โดยมี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาและ รศ.ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
🏠🧑‍🔬ครั้งนี้งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้เข้าร่วมจัดบูทองค์ความรู้โซนที่ 6 โดย ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร.แววดาว ดาทอง รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ นำจัดแสดงบูทในครั้งนี้ โดยได้นำองค์ความรู้และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร การทำยาดม ยาหม่อง พิมเสน และองค์ความรู้การย้อมสีไหมด้วยวัสดุธรรมชาติ สบู่โปรปตีนไหม ไปถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจในงานครั้งนี้ด้วย 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 16/02/2567 [16136]
0 51
2 [16138]

วันที่ 31 มกราคม 2567
🧑‍🔬👨‍🔬งานบริการศูนย์วิทยาศาสตร์ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยนายยุทธนา ตอสกุล นางสาวพิชญานิน ปลื้มสุด ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เพื่อเขียนข้อเสนอโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (คูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ของสำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ยกระดับและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรฅฌนารี อ.เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 16/02/2567 [16138]
0 2
2 [16137]

วันที่ 20 ธันวาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการยกระดับ OTOP🧶 ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จ.นครราชสีมา
👨‍💼👨‍💼ครั้งนี้กล่าวเปิดกิจกรรม โดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ต่อด้วยการบรรยายแนะนำโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน” และการบรรยายในหัวข้อ การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยการสร้างมาตรฐานสู่สากล โดย นางสาวชลธิชา นาขามป้อม นักพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม ฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจและนวัตกรรม เทคโนธานี ช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อเข้าร่วมโครงการ “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” (SUT for OTOP) โดยคณะทำงานพิจารณาและคัดเลือกข้อเสนอโครงการฯ (สป.อว.)
👉กลุ่มที่ 1 นางวนิดา บุญนาคค้า
👉กลุ่มที่ 2 นายชายกร สินธุสัย
👉กลุ่มที่ 3 นายคณิต ถิรวนิตย์
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีผู้ประกอบการ OTOP เข้าร่วมโครงการ ดังนี้
✏1.นางทองปาญ ภูมิธิ กลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านเพ็ดน้อย 👨‍💼ที่ปรึกษาโครงการ นายยุทธนา ตอสกุล หน่วยงานศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
✏2.นางสาวณัฐาภัณฑ์ เกียรติภูมิกุลจิร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตและแปรรูปสมุนไพรคชนารี 👩‍🔬ที่ปรึกษาโครงการ ดร.ชุติมา เปลื้องกลาง
✏3.นางสาวปิยนาฎ ทองสิมา กลุ่มตังค์เติมเต็ม 👩‍🔬ที่ปรึกษาโครงการ ดร.พวงพรภัสสร์ วิริยะ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
✏4.นางนภัส แดนขุนทด กลุ่มบ้านสวนฉิมพลี 👩‍🔬ที่ปรึกษาโครงการ ดร.พวงพรภัสสร์ วิริยะ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
✏5.นางสาวสิริปตี พุ่มจันทร์ กลุ่มยายสิริ 👩‍🔬ที่ปรึกษาโครงการ ดร.จารุวรรณ พนมจีระสวัสดิ์ 👉และเป็นการสรุปผลการจัดกิจกรรม เพื่อนำคำชี้แนะไปปรับใช้ในโครงการต่อไป🧶🎯🙏 



รายงานโดย นางสาววรรณา จันทร์สิงห์ วันที่รายงาน 16/02/2567 [16137]
0 5