2567 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นชายแดนใต้   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [16297]

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ทางคลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้จัดกิจกรรมแข่งขันทักษะการแปรรูปไก่เบตงสับ ณ ห้องปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ภายในงาน เกษตรปลายด้ามขวาน โดยมี 3 มหาวิทยาลัย และ1 วิทยาลัย ร่วมแข่งขัน (มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี )



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2567 [16297]
4500 60
2 [16296]

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ทางคลินิกเทคโนโลยี ได้ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ ในการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตอาหารโคขุนคุณภาพสูง โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ใกล้เคียง เข้ามาศึกษาเรียนรู้และฝึกทักษะ จำนวน 60 ราย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารโคขุนคุณภาพสูง  อาหารหมัก TMR   อาหารข้น  อาหารอัดเม็ด  และการนำวัตถุดิบที่เหลื้อใช้ทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นอาอาหารโค เพื่อลดต้นทุน โดยจัด ณ ฟาร์มคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2567 [16296]
5000 60
2 [16295]

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ทางคลินิกเทคโนโลยี ได้นำเกษตรกร และผู้ประกอบการเข้าศึกษากระบวนการเลี้ยงแพะนมคุณภาพ   กระบวนการรีดนมแพะที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และเป็นระบบ โดยมีผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำ และให้เกษตรกร และผู้ประกอบการ ได้ฝึกทักษะกระบวนการรีดนมแพะ และกระบวนการแปรรูปนมแพะพาสเจอร์ไรส์ รสชาติต่าง ๆ  ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณเขาตันหยง ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2567 [16295]
1000 10
2 [16293]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้จัด "กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ 2567" พื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม จาก สป.อว. จัดขึ้นในวันที่ 12 - 13 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมบุญภิรมย์  คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  (โดยการให้คำปรึกษาเชิงลึก ถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือพัฒนาดัดแปลงเทคโนโลยี) ใน 6 ประเด็นการพัฒนา ประกอบด้วย

(1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์                     (4) พัฒนามาตรฐาน

(2) พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์         (5) พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร

(3) พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต (6) พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบต้นน้ำ

ใน 5 ประเภทผลิตภัณฑ์  ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพรไม่ใช่อาหาร ผ้าและเครื่องแต่งกาย และของใช้ ของที่ระลึกและของตกแต่ง โดยมุ่งเน้นยกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ OTOP ของผู้ประกอบการจาก Quadrant C ไป B และ Quadrant B ไป A เพื่อยกระดับด้านการเพิ่มมูลค่าและผลิตภาพของผลิตภัณฑ์ด้วย วทน.และมุ่งเป้าการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยได้กำหนดให้มีโครงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับโอทอป ด้วย วทน.(กิจกรรม OTOP สัญจร) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาและยกระดับสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐาน และให้คำปรึกษา/ข้อแนะนำในเบื้องต้น สำหรับผู้ประกอบการที่มีความต้องการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ทั้ง 6 ประเด็น 

โดยกิจกรรมดังกล่าว มีผู้ประกอบการ ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และรวมไปถึงเกษตรกร นักศึกษา และผู้ที่สนใจ



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2567 [16293]
0 120
2 [16290]

ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้สร้างผู้ประกอบการ ธุรกิจ เบอร์เกอเนื้อ และ BBQ ให้กับนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4  จำนวน 5 ราย ที่มีความสนใจ เป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ เบอร์เกอเนื้อ และ BBQ  โดยนักศึกษา มีการออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงาน ต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาส และ ถนนคนเดิน โดยสามารถสร้างรายได้เสริม เพื่อเป็นทุนในการศึกษา และใช้ในการเรียน และสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2567 [16290]
2000 5
2 [16289]

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ทางเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ได้ร่วมกลุ่มขอรับบริการให้คำปรึกษา และฝึกปฏิบัติในการทำ BBQ เนื้อ BBQ ไก่ ในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ให้กับผลผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ เพื่อที่จะนำองค์ความรู้ในกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการหมัก และการเตรียมน้ำซอสที่โดดเด่น ในเรื่องของรสชาติ โดยมีผู้ให้ความสนใจ 15 ราย โดยให้คำปรึกษา และฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ณ ห้องพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2567 [16289]
3500 15
2 [16287]

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และคณะเกษตรศาสตร์ ได้ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี กระบวนการชำแหละไก่เบตง การตัดแต่งซาก ที่สะอาด ได้มาตรฐานชิ้นส่วนของซาก และกระบวนการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไก่เบตง ในรูปของไก่เบตงสับ เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ ร่วมไปถึงนักศึกษา มีทักษะ และความรู้ในการนำไปประกอบอาชีพ และต่อยอดการผลิตเพื่อจำหน่าย และแปรรูปในพื้นที่ต่อไปได้



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2567 [16287]
2500 13
2 [16299]

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ทางคลินิกเทคโนโลยี ได้เข้าศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการ การทดสอบและโรงงานต้นแบบ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์  เพื่อประสานความร่วมมือในการนำผบิตภัณฑ์แปรรูปจากปศุสัตว์ของเกษตรกร ไปยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑื เพื่อให้สามารถ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้คงความสดใหม่ ยืดอายุกระบวนการเก็บรักษา ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของ ห้องปฏิบัติการ การทดสอบและโรงงานต้นแบบ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 26/03/2567 [16299]
1500 10
2 [16120]

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  และได้นำผู้ประกอบการ ได้เดินทางไปศึกษากระบวนการทำ นมแพะข้นหวาน (sweet condensed goat milk)  ,ครีม (cream)  , เนย  (Butter) และชีส  ณ คณะเกษตรกำแพงเเสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิฑร  นาคทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปนมแพะ



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 07/02/2567 [16120]
6500 7
2 [16119]

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 คลินิกเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้กับนักศึกษา ในการเตรียมวัตถุดิบสำหรับการแปรรูปอาหาร การเตรียมการทำน้ำสต๊อก ( Stock)  และน้ำซุปสำหรับการปรุงอาหาร การหั่นผักแบบต่าง ๆ  โดยได้เชิญเจ้าของธุรกิจร้านอาหาร  มาถ่ายทอดเทคโนโลยี และสาธิต โดยในครั้งนี้ มีผู้รับการถ่ายทอด 20 ราย หลังจากรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้รับการถ่ายทอดสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไป ใช้ในการประยุกต์ใช้ในการเรียน และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 07/02/2567 [16119]
3500 20
2 [16118]

เมื่อวันที่ 23 - 25 มกราคม 2567 ทางคลินิกเทคโนโลยีได้ให้บริการคำปรึกษา และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ที่สนใจ ในการเพิ่มมูลค่าจากพื้นหนังโค ที่เหลือทิ้งจากการชำแหละ เหลือจากการขายซาก นำกลับมาพัฒนาเพิ่มมูลค่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่า เช่น แคบวัว ยำหนังโค ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กลุ่มผู้ประกอบการ และนักศึกษา ที่สนใจ โดยได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดเทคโนโลยีในครั้งนี้ โดยมีผู้รับบริการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 18 ราย ณ ห้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ตึกคณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 07/02/2567 [16118]
4500 18
1 [16057]

เมื่อวันที่ 7 - 8 ตุลาคม 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี ได้ร่วมจัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารโคคุณภาพ โดยจัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร ซึ่งทางอาจารย์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 คน ผู้เชี่ยวชาญได้สาธิตกระบวนการ สูตรอาหารสำหรับโคขุน และนวัตกรรมการผลิตอาหารโคด้วยเครื่องผสม จัดขึ้น ณ ฟาร์มคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 20/01/2567 [16057]
3500 60
1 [16066]

เมื่อวันที่ 26 - 28 ธันวาคม คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ ได้ทำอาหาร ข้าวกล่องพร้อมทาน เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัยน้ำท่วม ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยได้นำข้าวกล่องไปมอบให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 20/01/2567 [16066]
7500 0
1 [16065]

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี ได้ร่วมนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปศุสัตว์ที่พัฒนาที่สามารถยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์  เข้าร่วมจัดเเสดงผลิตภัณฑ์ ในงาน The southern malay peninsula sub-regional cooperration expo ณ จังหวัดสงขลา



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 20/01/2567 [16065]
3000 60
1 [16063]

เมื่อวันที 16 พฤศจิกายน 2566 คลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ได้ลงพื้นที่ ไปยังศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงโค นทพ. สมาพันธ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสำรวจ และวางแผนการนำโคเพื่อมาขุน และทำการเลี้ยงยังพื้นที่ แลการออกแบบสถานที่ผลิต และโรงเรือน เพื่อให้เกษตรกร และผู้เลี้ยงโคเนื้อมีรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชน และพื้นที่



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 20/01/2567 [16063]
2500 15
1 [16062]

เมื่อวันทที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปศุสัตว์ ที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์แปรรูป ในการตอนรับ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 20/01/2567 [16062]
0 0
1 [16061]

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ เข้าร่วมประชุมจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ ฯ และหาข้อสรุปในการจัดการเรื่องต้นทุนกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 20/01/2567 [16061]
0 9
1 [16059]

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ทางคลินิกเทคโนโลยี ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ ได้นำนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาัลยนราธิวาสราชนครินทร์ ลงพื้นที่ ศึกษาเรียนรู้การประกอบอาชีพเป็นผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์ ณ ฟาร์มโคเนื้อ มิสเตอร์โจฟาร์ม จังหวัดพัทลุง  เพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษาเรียนรู้กระบวนการและขั้นตอน ในการเริ่มต้นการสร้างฟาร์ม การเลี้ยง และการบริหารจัดการฟาร์มเป็นระบบ โดยทางเจ้าของฟาร์ม ได้สาธิต และให้ความรู้ในการผลิตอาหารคุณภาพสำหรับการขุนโค การจัดการฟาร์ม และเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 20/01/2567 [16059]
4500 25
1 [16058]

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี ได้บริการให้คำปรึกษา ในการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงไก่เบตง แก่ เกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส โดยได้มี อาจารย์ ดร.เปลื้อง บุญแก้ว อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ให้ความรู้กระบวนการเลี้ยงไก่เบตง การบริหารจัดการฟาร์ม การให้อาหาร และการขยายพันธุ์ รวมไปถึงการวางแผนกระบวนการผลิตไก่เบตงเชิงการค้า และหลังจากอบรมให้ความรู้ ทางผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการแปรรูปได้ให้ผู้เข้ารับการอบรมฝึกปฏิบัติในกระวนการแปรรูปเพิ่มมูลค่า เป็นไก่เบตงสับ ไก่เบตงตุ๋นยาจีน เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างอาชีพ และเพิ่มมูลค่า โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 30 ราย 



รายงานโดย นายวิรัตน์ หน่อแดง วันที่รายงาน 20/01/2567 [16058]
3000 30