2567 การบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบอาชีพชุมชน 0
ผล 1.จำนวนผู้รับบริการรวม 279 คน 2.จำนวนผู้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 79 คน 3.ความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละ 95.90 4.ช่องทางการรับบริการ - ร่วมจัดกิจกรรมกับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หน่วยปฎิบัติการ อว. ส่วนหน้า จังหวัดนครศรีธรรมราช หน่วยปฎิบัติการ อว. ส่วนหน้า จังหวัดกระบี่ ศูนย์ประสานงานของกระทรวง อว. ประจำภูมิภาค ภาคใต้ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวนผู้รับบริการให้คำปรึกษา 79 คน จำนวนผู้รับบริการข้อมูล 200 คน 5.พื้นที่การให้บริการ - นครศรีธรรมราช 279 คน 6.จำนวนข้อมูลในระบบ CMO ดังนี้ 1. จำนวนข้อมูลเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอด 13 รายการ 2. จำนวนข้อมูลการบริการให้คำปรึกษา 12 รายการ 3. จำนวนข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาด้วย วทน. 4 รายการ 4. จำนวนข้อมูลผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงาน 5 รายการ
ผล -คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยีทราบความต้องการชุมชนเพื่อพัฒนางานวิชาการของมหาวิทยาลัยร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม -ชุมชนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์จากการจัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 5 ชุมชน 7 องค์ความรู้ -ชุมชนนำความรู้ไปใช้ในลักษณะการลดรายจ่าย 146,200 บาท และลดความเสี่ยงสารเคมีตกค้างในผลผลิตมังคุดที่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน ทำให้รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตมังคุดเป็นมูลค่า 26,500,000 บาท ผู้เข้ารับบริการให้คำปรึกษาส่วนใหญ่ปรึกษาด้านการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา เมธาไรเซียม บิวเวอร์เรีย และการใช้สารจับใบร่วมกับเชื้อราเพื่อควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืช จำนวน 45 ราย และเกษตรกรเข้ารับคำปรึกษามีแนวโน้มความสนใจในการทำเกษตรแบบชีววิธีมากขึ้นเพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของตนเอง ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม -ชุมชนนำความรู้หลังการบริการให้คำปรึกษาการส่งเสริมสุขภาพของเกษตรกรปี 2567 ไปใช้ ทำให้มีแนวโน้มการลดค่าคอเรสเตอรอล เกษตรกรสามารถอ่านค่าความดันโลหิต จังหวะการเต้นของหัวใจ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและกล้ามเนื้อขาได้ และเกษตรกรชุมชนวังอ่างกำลังปรับปรุงสูตรชาสมุนไพรสูตรใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เยี่ยมชมศึกษาดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อเป็นเมนูอัตลักษณ์ของอาหารและเครื่องดื่มของชุมชนวังอ่าง และกำลังพัฒนาหลักสูตรการนวดเพื่อสุขภาพร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนไม้บ้อง ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผล ผลกระทบทางตรง การคำนวณต้นทุนโครงการคิดเป็น 851.25 บาทต่อคน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ดังนี้ -ลดรายจ่ายการใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนสารกำจัดโรคพืช/ศัตรูพืชของเกษตรกร เป็นเงิน 146,200 บาท ต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับสารชีวภัณฑ์รวม 237,500 บาท และจากการจำหน่ายกลุ่มมังคุดชะอวดพูนผลที่นำเทคโนโลยีไปใช้ในลดความเสี่ยงสารเคมีตกค้างในผลผลิตที่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย คิดเป็นมูลค่า 26,500,000 บาท ดังนั้น แสดงการได้ผลลัพธ์ทางมูลค่า 112.19 เท่าของการลงทุนทั้งโครงการ -เกษตรกรชุมชนวังอ่าง แกนนำ อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนไม้บ้อง และสำนักสงฆ์ควนไม้บ้อง กำลังพัฒนา หลักสูตรการนวดเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่แกนนำ อสม. แกนนำเกษตรกร สำหรับนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนวังอ่าง -ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัดนครศรีธรรมราชได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบการศึกษาเรียนรู้การขยายผลการใช้สารชีวภัณฑ์ในสวนทุเรียนในพื้นที่อำเภอชะอวด และนายนิยม คงเมฆ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผลกระทบทางอ้อม ในปี 2567 สำหรับการขยายผลโครงการบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบอาชีพในพื้นที่ชุมชนในปี 2567 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ส่งข้อมูลผลิตภัณฑ์ ข้อมูลเทคโนโลยี ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลตามแนวทางการพัฒนาเป้าหมายที่ยั่งยืน SDGs ข้อ 2 เพื่อร่วมสนับสนุนการจัดอันดับตามตัวชี้วัด THE Impact Rankings ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับการจัดอันดับ SDG 2 อันดับที่ 91 ของโลก และ อันดับที่ 5 ของไทย
รายงานความก้าวหน้า
ไตรมาส | ผลการดำเนินงาน | งบประมาณที่ใช้ | ผู้รับบริการ |
---|---|---|---|
4 [18058] |
เดือนกรกฎาคม วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เข้าร่วมงานประชุมเครือข่ายส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Science Research and Innovation (SRI) Network Townhall)และเข้าร่วมประชุมแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (คูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร เดือนสิงหาคม วันที่ 16, 23 สิงหาคม 2567 จัดบริการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดเพื่อขอรับงบประมาณสนุนการวิจัยด้านการจัดการคาร์บอนเครดิตกระบวนการผลิตมังคุด และ จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการให้คำปรึกษาการขยายสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืชแก่กลุ่มเกษตรกรผุ้ปลูกมังคุด พื้นที่อำเภอชะอวด จำนวน 12 คน เดือนกันยายน วันที่ 9 กันยายน 2567 วิทยากรชุมชนศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัดและผู้แทนเกษตรกรวิสาหกิจกลุ่มมังคุดชะอวดพูนผลร่วมจัดนิทรรศการรับใช้สังคม วิจัยเชิงพื้นที่ ตามแนวทางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในงานประชุมจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์คาร์บอนต่ำ โดยมี นายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุม ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 30/09/2567 [18058] |
48000 | 12 |
3 [17112] |
เดือนเมษายน-เดือนกรกฎาคม เดือนเมษายน วันที่ 9 เมษายน 2567 ลงพื้นที่ ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด เพื่อจัดกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบอาชีพในพื้นที่ชุมชน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 34 คน วันที่ 11 เมษายน 2567 ร่วมการประชุมชี้แจง แนวทางการดำเนินโครงการ “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย” ภายใต้นโยบายการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติด้านอาหาร ระบบการประชุมออนไลน์ (Zoom Cloud Meeting) และประชุมร่วมกับสาขาวิชาโปรเชฟ โครงการ 1 หมู่บ้าน 1ชุมชน Soft Power ด้านอาหารไทย เพื่อร่วมดำเนินกิจกรรมตามนโยบาย กระทรวง อว. เดือนพฤษภาคม ระหว่างวันที่ 1 – 3 พฤษภาคม 2567 คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมสนับสนุนการจัดนิทรรศการวิชาการรับใช้สังคมในงานสัมมนาวิชาการการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2567 (Scholarship of Teaching and Learning: SoTL9) ภายใต้หัวข้อ Evolving Pedagogies and Thai Higher Education ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เดือนมิถุนายน ระหว่าง 10 – 13 มิถุนายน 2567 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมการประชุม Global Sustainable Development Congress 2024: agenda announcedณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นเจ้าภาพร่วม วันที่ 18 มิถุนายน 2567 จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการให้คำปรึกษาการขยายสารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืชแก่กลุ่มเกษตรกรผุ้ปลูกมังคุด ยางพารา ทุเรียน พืชผัก พื้นที่อำเภอชะอวด จำนวน 33 คน วันที่ 26- 27 มิถุนายน 2567 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้าน ววน. ในระดับภูมิภาค” ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน.เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ปีงบประมาณ 2567 พื้นที่ภาคใต้ ณ โรงแรมต้นอ้อย แกรนด์ จังหวัดสงขลา เดือนกรกฎาคม ระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2567 คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนับสนุนการจัดนิทรรศการวิชาการรับใช้สังคม ในงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน.เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืนด้วยพลังสหวิทยาการ (อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND) ระดับภูมิภาค ภาคใต้ และเข้าร่วมการประชุมการขับเคลื่อนงาน ววน.เพื่อพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี) ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 05/07/2567 [17112] |
79500 | 67 |
2 [16631] |
เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม
ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2567
ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว.ระดับภาค ภาคใต้ จัดนิทรรศการ "การขับเคลื่อนงานด้าน อววน. เกษตรสร้างสรรค์สู่เกษตรมูลค่าสูง" ในงานทุ่งใหญ่เกษตรแฟร์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชีย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเกษตรกร นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ให้ความสนใจ ในองค์ความรู้ด้านการใช้สารชีวภัณฑ์ในการดูแลและป้องกันต้นพืชและกำจัดศัตรูพืช ผลผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้า ผลิตภัณฑ์ปลาเส้นจากปลาทะเล ผลิตภัณฑ์จากปูม้า ผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ยาหม่องจากกระวาน ผลิตภัณฑ์ยาดมจากกระวาน กว่า 200 คน
วันที่ 1 มีนาคม 2567
ร่วมสนับสนุนเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคใต้ตอนบน ในการร่วมจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปีการศึกษา 2566 ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 05/04/2567 [16631] |
65000 | 200 |
2 [16627] |
เดือนธันวาคม 2566
ร่วมสนับสนุน หน่วยปฏิบัติการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.ส่วนหน้า ประจําจังหวัดกระบี่) ในการจัดกิจกรรม “ดนตรีในสวน : H.M. Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ” ในวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ณ ลานประติมากรรมปลาใบ ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่เป็นประธานเปิดงาน และมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคการปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศให้ความสนใจในการ่วมกิจกรรม
รายงานโดย น.ส.กนตวรรณ อึ้งสกุล วันที่รายงาน 05/04/2567 [16627] |
45000 | 0 |