2567 การบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ 2567   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
2 [16570]

กิจกรรมที่ 1กิจกรรมบริการให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยี

1.การยืดอายุการเก็บรักษาน้ำพริกปู

ในวันที่ 29 มีนาคม 2567

สถานที่ :ห้องประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผลการดำเนิน :คุณพัชรี หนูแดง เข้าขอรับการขอคำปรึกษาเรื่องการยืดอายุการเก็บรักษาน้ำพริกปู ที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนเกาะบุโหลนตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.อมรรัตน์ ถนนแก้ว อาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ ให้คำปรึกษาเรื่องการปรับปรุงกระบวนการผลิตและอาจารย์ได้นำผลิตภัณฑ์ไปวัดความชื้น (Moisture Content) และค่า Water Activity และส่งต่อเข้าขอรับงบสนับสนุนกับโครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม

กิจกรรมที่ 2กิจกรรมบริการข้อมูลเทคโนโลยี

1.ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 เข้าพบและปรึกษาหารือแนวทางในการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่ร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ในวันที่24 มกราคม 2567

สถานที่ :ณ ห้องประชุมปาริฉัตร  มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :คณะทีมศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบโครงการจิตอาสาพระราชทานตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนงานวิชาการของศูนย์เกษตรทฤษฎีใหม่ครบวงจรกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ และนำวิชาการไปขยายผลกับกำลังพล ครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ เข้าพบและปรึกษาหารือแนวทางในการขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่ร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โดยมีทีมผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทักษิณ
วิทยาเขตพัทลุง นำโดย ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ธัญญา พันธุ์ฤทธิ์ดำ รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับ ชี้แจงความเป็นมา วัตถุประสงค์ โดย ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.นุกูล อินทระสังขา ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มอบของที่ระลึกโดย รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้บริหาร คณะบดี อาจารย์ ถึงแนวทางในการทำงานร่วมกันในมิติจิตอาสา โดยการเข้ามาสนับสนุนพัฒนาเสริมสร้าง การนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยวิจัยฐานเรียนรู้ของศูนย์เกษตรทฤษฎีใหม่ครบวงจร เพื่อขยายผลลงไปสู่ชุมชน ผ่านโรงเรียน ชุมชน โดยแก้ปัญหาให้ชุมชนมีอาชีพ และกลับทาทำงานที่บ้านเกิด ไม่ทิ้งถิ่นฐาน จะทำให้คนอยู่ในชุมชนมากขึ้น ชุมชนเกิดการพัฒนา ชุมชนมีความเข้มแข็ง ทั้งบ้าน/โรงเรียน/วัด/มัสยิด โดยทำงานในมิติจิตอาสา เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธาณ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังจากนั้นลงเยี่ยมชม คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียางเพื่อชุมชน) และคณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ

2.การขอเข้าศึกษาดูงานโครงการท่องเที่ยวสุขภาพชุมชนวิถีนาเมืองลุงปีที่ 2 ภายใต้แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม

ในวันที่1 มีนาคม 2567

สถานที่ :ณ วิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงาน :  

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความประสงค์นำนักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 21 คน เข้าศึกษาดูงานโครงการท่องเที่ยวสุขภาพชุมชนวิถีนาเมืองลุงปีที่ 2 ภายใต้แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 11.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมบัวหลวง อาคารศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และวิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจพอเพียง
ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละบริบทมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุกุล อินทระสังขา ตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม กล่าวต้อนรับและแนะนำภาพรวมการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม
นางสาวเบ็ญจวรรณ บัวขวัญ ผู้รับผิดชอบโครงการ และนางมาลี พันธ์วงศ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าช้างเพื่อฟูเศรษฐกิจ ให้ความเรื่องภูมิปัญญาในท้องถิ่นและการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน

  1. กิจกรรมอบรมหลักสูตรการออกแบบและติดตั้งระบบควบคุม IOTเพื่อการปลูกพืช

ในวันที่14 กุมภาพันธ์ 2567

สถานที่ :ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพัทลุง ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ผลการดำเนินงาน : อาจารย์ธวัช ชูเชิด อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวิทยาการ
ในแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต โครงการเสริมสมรรถนะแรงงานด้านเทคโนโลยีรองรับการทำงานในศตวรรษที่ 21 กิจกรรม เสริมสมรรถนะแรงงานด้านเทคโนโลยีรองรับการทำงานในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรการออกแบบและติดตั้งระบบควบคุม IOT เพื่อการปลูกพืช  จำนวน 30 ชั่วโมง ให้แก่ผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 25 คน ในระหว่างวันที่ 13-16 กุมภาพันธ์ 2567
ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพัทลุง ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง  และได้มีการเข้าจัดบูธประชาสัมพันธ์โครงการบริการให้คำปรึกษา และประชาสัมพันธ์โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ชุมชน โดยฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมสังคม



รายงานโดย นางนิชมลกานต์  ขุนเพชร วันที่รายงาน 05/04/2567 [16570]
50000 90
1 [16064]

/online/cmo/filemanager/410/files/111.pdf



รายงานโดย นางนิชมลกานต์  ขุนเพชร วันที่รายงาน 20/01/2567 [16064]
45000 60