2567 การบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลเทคโนโลยี   0


รายงานความก้าวหน้า

ไตรมาส ผลการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ ผู้รับบริการ
3 [16854]

ในวันที่  25  มิถุนายน  2567  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   ได้เข้าร่วมประชุมโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทย SME  SMART UP 2024 : ปลูก SME  ให้เข้มแข็ง  ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเลย  ณ  ห้องชัยพฤกษ์  โรงแรมเลยพาเลซ  อำเภอเมืองเลย  จ.เลย  

ในวันที่  25  มิถุนายน  2567  คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   ได้เข้าร่วมประชุม/สมนาเชิงปฏิบัติการ(Workshop)  ที่สุดของผลิตภัณฑ์  สู่ช่องทางการค้าดิจิทัล  2024  ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเลย  ณ  ห้องชัยพฤกษ์  โรงแรมเลยพาเลซ  อำเภอเมืองเลย  จ.เลย  

จากให้ปรึกษามีกลุ่มมาปรึกษา 

มีกลุ่มน้ำผึ้ง  8  คน  และกลุ่มวิสาหกิจทอผ้า  3  กลุ่ม  10  คน  รวมแล้ว  18  คน  

งบประมาณเงินเดือนผู้ประสานงาน  15000  บาท



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 29/06/2567 [16854]
15000 18
3 [16852]

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ลงพื้นที่ร่วมกันผนึกกำลังกับ อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ในการพัฒนาอำเภอด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอผาขาว จังหวัดเลย

เวลา 14.00 น. นายชานนท์ ปิ่นตระกูล พัฒนาการอำเภอผาขาว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอผาขาว ประธานเครือข่าย OTOP อำเภอผาขาว กลุ่มทอผ้าบ้านโนนกกข่า และรองประธานขับเคลื่นโคกหนองนา อำเภอผาขาว ได้ต้อนรับคณะอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เพื่อร่วมกันหารือเกี่ยวกับการพัฒนาอำเภอผาขาวด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการเทคโนโลยีร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการลงพื้นที่กลุ่มแปรรูปกล้วย และกลุ่มทอผ้าบ้านโนนกกข่าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ในการนำไปเสนอโครงการต่อไป

ค่าใช้จ่ายร่วมเงินเดือน  32000  บาท



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 29/06/2567 [16852]
32000 8
3 [16851]

คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   ให้คำปรึกษาให้กลุ่มจึงได้ผลักดันกลุ่มและได้จัดส่งข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน งบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กลุ่มเป้าหมายจากโครงการ จำนวน 8 โครงการ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณาสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโครงการได้รับงบประมาณ
จำนวน 5 โครงการ

1.  กลุ่มผ้าบ้านหินเกิงพัฒนา                          งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  167,000  บาท

2.  กลุ่มผ้าไทเลยบ้านก้างปลา                         งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  155,000  บาท

3.  กลุ่มสัมมาอาชีพบ้านแสงภา                        งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  167,000  บาท

4.  กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ผู้ใช้น้ำน้อย         งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  160,000  บาท

5.  วิสาหกิจชุมชนภูคำ                                 งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  145,000  บาท

ค่าใชจ่ายร่วมเงินเดือน  20000  บาท

รวมเป็นเงิน ๙๖๐,๐๐๐  บาท  (เก้าแสนหกหมื่นบาทถ้วน)



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 29/06/2567 [16851]
20000 84
2 [16434]

2.ให้คำปรึกษา ประชาชนทั่วไป กลุ่มโอทอป กลุ่มวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน นักศึกษา เกษตรกร และผู้ที่สนใจในพื้นที่จังหวัดเลยและหนองบัวลำภู

2.1 จากการลงพื้นที่ติดตามและให้ปรึกษา

กลุ่มทอผ้าบ้านลาด  ตั้งแต่ปี 2564-2565  ทางคลินิกเทคโนโลยีให้คำปรึกษาในเรื่องการย้อมจากย้อมสีเคมีเป็นสีธรรมชาติสามารถเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มรวม 240,000  บาท  ในปี 2565-2566  ทางคลินิกเทคโนโลยีให้คำปรึกษาในเรื่องลวดลายและการแปรรูปสามารถเพิ่มรายได้ให้กลุ่มรวม  250,000  บาท ในการวันที่ 26  มีนาคม  2567  ทางคลินิกเทคโนโลยีให้คำปรึกษาร่วมกับโรงงานมิตรภูหลวงและศูนย์ม่อนไหม จังกวัดเลย  ให้ปรึกษาการออนไลน์  การถ่ายภาพ  การเขียนคอนเทนต์  และการแปรรูป  งบประมาณที่  3,500 รวมเงินเดือน  33,500  บาท

2.2 ให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี กลุ่มวิสาหกิจชุมชน  จำนวน  10  กลุ่ม

ทางคลินิกเทคโนโลยี  หมาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลเทคโนโลยีกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 กลุ่มได้แก่ 1.วิสาหกิจชุมชนภูคำ  2.กลุ่มผ้าบ้านหินเกิงพัฒนา  3.กลุ่มผ้าไทเลยบ้านก้างปลา  4.กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ผู้ใช้น้ำน้อย  5.กลุ่มสัมมาอาชีพบ้านแสงภา  6.กลุ่มพัฒนาอาชีพหัตถกรรมหวายและผ้าทอ (บ้านนากระเซ็ง ท่าลี่)  7.กลุ่มทอผ้าบ้านลาด  8.วิสาหกิจชุมชนนาอ้อ  9.กลุ่มบ้านใหม่ศาลาเฟือง 10.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านวังอาบช้าง และได้ผลักดันข้อเสนอโครงการในโครงการคูปองวิทย์เพื่อ OTOP และส่งให้ สป.อว. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (Pitching) ภายใต้โครงการผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 - 20 กุมภาพันธ์ 2567 ผ่านระบบประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนเพื่อคัดเลือกใบสมัครเข้าสู่กระบวนการพัฒนาข้อเสนอโครงการ  จำนวน  8  กลุ่ม  จากการประชุมฯ ดังกล่าว สป.อว. ขอส่งผลการคัดเลือกและข้อคิดเห็นจากกิจกรรมฯ และขอให้แจ้งที่ปรึกษาที่ผ่านการ Pitching ดำเนินการพัฒนาข้อเสนอโครงการ จำนวน  5  กลุ่ม 1.วิสาหกิจชุมชนภูคำ  2.กลุ่มผ้าบ้านหินเกิงพัฒนา  3.กลุ่มผ้าไทเลยบ้านก้างปลา  4.กลุ่มสตรีและเยาวชนสหกรณ์ผู้ใช้น้ำน้อย  5.กลุ่มสัมมาอาชีพบ้านแสงภา  ไม่ผ่านจำนวน  3  กลุ่ม  1.กลุ่มพัฒนาอาชีพหัตถกรรมหวายและผ้าทอ (บ้านนากระเซ็ง ท่าลี่)  2.กลุ่มทอผ้าบ้านลาด  3.วิสาหกิจชุมชนนาอ้อ

3.ผลักดันโครงการเข้าสู่แพลตฟอร์มต่างๆ ของกระทรวง จำนวนไม่น้อยกว่า  4  โครงการ

คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   ได้จัดส่งข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุน งบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กลุ่มเป้าหมายจากโครงการต่อเนื่อง ปีที่ 2 และ 3 จำนวน 5 โครงการ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณาสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโครงการได้
จำนวน 3 โครงการ

1.วิสาหกิจชุมชนทอผ้า พื้นเมือง หมู่ 12   งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  160,000  บาท

2.วิสาหกิจชุมชน บ้านณัฐจิรา  งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  160,000  บาท

3.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอ ผ้าบ้านกกก้านเหลือง  งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  160,000  บาท

รวมเป็นเงิน 480,000 บาท (สี่แสนแปดหมื่นบาทถ้วน) 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 03/04/2567 [16434]
33500 127
2 [16430]

1.ให้บริการข้อมูลแก่ประชาชนทั่วไป กลุ่มโอทอป กลุ่มวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน นักศึกษา เกษตรกร และผู้ที่สนใจในพื้นที่จังหวัดเลยและหนองบัวลำภู

ร่วมจัดงานนิทรรศการ  อำเภอเมืองเลย เปิดงาน “ดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” ประจำปี 2567 โชว์ขบวนแห่ 14 อำเภอ อย่างยิ่งใหญ่ตระการตาสุดประทับใจ

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 18.30 น. นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานพิธีเปิดงาน “ดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” ประจำปี 2567 อย่างยิ่งใหญ่อลังการ โชว์ขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมจาก 14 อำเภอ โดยมี นางธารตะวัน จรูญพงศ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเลย นายบุญเติม เรณุมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายอนุพงศ์ คำภูแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายกิตติคุณ บุญคุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นางทรงศิริ แก้วคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอทั้ง 14 อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักท่องเที่ยว พี่น้องประชาชน และสื่อมวลชน ร่วมงานเป็นจำนวนมาก

นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า การจัดงานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ได้มีการพัฒนาให้มีความน่าสนใจและก่อประโยชน์ให้กับพี่น้องชาวเลยมากยิ่งๆ ขึ้นไปทุกปี โดยการจัดงานในปีนี้ พี่น้องชาวจังหวัดเลยรวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะได้ชมการออกร้านของส่วนราชการและหน่วยงานเอกชน แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดเลย การแสดงแฟชั่นโชว์เลย เมืองแห่งผ้าฝ้าย การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งท้องที่ท้องถิ่นไทเลย การประกวดธิดาดอกฝ้ายบานฯ การประกวดแม่สาวลูกสวย การแสดงทางวัฒนธรรม การแข่งขันกีฬา และเพลิดเพลินกับมหรสพที่น่าสนใจอีกมากมายภายในงานฯ นอกจากจะได้เที่ยวชมงานและเลือกซื้อสินค้ามากมายแล้ว ยังจะได้ร่วมทำบุญทำกุศลกับร้านมัจฉากาชาดจังหวัดเลย ซึ่งถือเป็นการพักผ่อนที่ได้กุศลอีกด้วย

นายบุญเติม เรณุมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า จังหวัดเลยจัดงานกาชาดครั้งแรกในปี 2522 โดยตั้งชื่องานกาชาดตามพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ ฝ้าย จึงใช้ชื่องานว่า “งานกาชาด ดอกฝ้ายบาน ที่เมืองเลย” และต่อมาในปี พ.ศ.2529 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “งานกาชาด ดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย” และในปี พ.ศ. 2557 ใช้ชื่อว่า “งานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” มาจนถึงปัจจุบัน โดยมี วัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ประเพณี วัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด, เพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง, เพื่อจัดหารายได้ไว้ใช้จ่ายในกิจการสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศล และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสของคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดเลย, เพื่อให้พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดเลย ได้พักผ่อนหย่อนใจหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต และเพื่อให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาและสื่อมวลชนทุกแขนง ได้มีโอกาสแสดงออกซึ่งผลงานและแนวความคิดในการพัฒนาจังหวัดเลย ให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน ภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ผู้มาเที่ยวงานได้ชม

การจัดงานในครั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเทิดพระเกียรติ การส่งเสริมการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีกิจกรรมส่งเสริมการใส่ผ้าไทเลย การรณรงค์จังหวัดสะอาด ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจอย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ส่วนราชการ อำเภอทั้ง  14  อำเภอ สถาบันการศึกษาประกอบด้วยคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  อาชีวะศึกษาเลย  วิทยาลัยเทคนิคเลย   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้ร่วมการจัดนิทรรศการ นำผู้ประกอบการเข้าร่วมงาน และติดตามผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ได้จำหน่ายของในงาน ประกอบด้วย

กุล่มทอผ้าไหมบ้านหนองน้ำใส  ขายผ้าตั้งแต่จัดงานจนถึงวันสุดท้าย  ได้เงิน  70,000  บาทถ้วนจำนวน  11 ผืนต้นทุนการผลิต  10,800  บาท  จำนวน  10 ผืน  การทอ  6  เดือน  ราคาขายผืนละ  3,000  -  6,000  บาท ขึ้นอยู่กับสีและลวดลาย 

ผลการดำเนินงานจำนวนผู้เข้าเยี่ยมการจัดนิทรรศการ   330  คน   งบประมาณ  15,000  บาท เงินเดือน  45,000  บาท  รวม  60,000 บาท

 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 03/04/2567 [16430]
60000 330
1 [16026]

ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจภูคำ  วันที่  24  พฤศจิกายน  2566  จำนวนสมาชิก  5   คน  ความต้องบริการให้คำปรึกษา  1.ความรู้หลักเกณฑ์วิธีการผลิตคุกกี้  2.ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์  3.ต้องการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม

ที่ปรึกษา ผศ.เตือนใจ  ศิริพาหนะกุล  ให้คำปรึกษาควนพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกีเนยสด เสริมผักผงให้คุกกี้มีสีสรรสวยงามตามธรรมชาติ  และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นและเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์  ฉลากโภชนาการ  และมาตรฐาน  GMP  ทางคลิกเทคโนลโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยผลักดันโครงการเข้าสู่โครงการคูปองวิทย์เพื่อ  OTOP  ปี  2567



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 20/01/2567 [16026]
4500 5
1 [15953]

ในวันที่  19  พฤศจิกายน  2566   คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ลงพื้นที่เรื่องระบบน้ำโซล่าเซลล์2 แรงหมู่บ้าน หอสูง 15 เมตร ใหกลุ่มหมู้บ้านติดตั้ง ระบบน้ำโซล่าเซลล์ 2 แรงหมู่บ้าน หอสูง 15 เมตร  ณ  บ้านใหม่ หมู่5 ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียง คาน จังหวัดเลย และให้คำปรึกษาให้กับสมาชิกในชุมชน  ที่ปรึกษา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เปรมชัย  มูลหล้า 



รายงานโดย นายสมิง  ศรีกา วันที่รายงาน 19/01/2567 [15953]
38000 28